Show simple item record

Multicentered study of anesthesia: related mortality and adverse events by incident reports in Thailand

dc.contributor.authorสมรัตน์ จารุลักษณานันท์th_TH
dc.contributor.authorSomrat Charuluxanananen_EN
dc.contributor.authorยอดยิ่ง ปัญจสวัสดิ์วงศ์th_TH
dc.contributor.authorYodying Punjasawadwongen_EN
dc.contributor.authorศิริพร ปิติมานะอารีth_TH
dc.contributor.authorSiriporn Pitimana-areeen_EN
dc.contributor.authorเทวารักษ์ วีระวัฒกานนท์th_TH
dc.contributor.authorThewarug Werawatganonen_EN
dc.contributor.authorวรินี เล็กประเสริฐth_TH
dc.contributor.authorVarinee Lekpraserten_EN
dc.contributor.authorศศิกานต์ นิมมานรัชต์th_TH
dc.contributor.authorSasikaan Nimmaanraten_EN
dc.contributor.authorอักษร พูลนิติพรth_TH
dc.contributor.authorAksorn Pulnitipornen_EN
dc.contributor.authorวรวุธ ลาภพิเศษพันธุ์th_TH
dc.contributor.authorWorawut Lapisatepunen_EN
dc.date.accessioned2018-03-07T06:27:26Z
dc.date.available2018-03-07T06:27:26Z
dc.date.issued2560-09
dc.identifier.otherhs2390
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4844
dc.description.abstractความปลอดภัยทางวิสัญญีวิทยาและศัลยกรรม อาจทำได้โดยการเฝ้าระวังและวิเคราะห์ภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้อง คณะผู้ทำการศึกษาจึงได้ทำโครงการวิจัยภาวะแทรกซ้อนตั้งแต่ช่วงก่อน ระหว่าง และภายหลังการให้ยาระงับความรู้สึกและการผ่าตัดในประเทศไทย (PAAd Thai Study) โดยการรายงานอุบัติการณ์ เพื่อหาอุบัติการณ์ ตลอดจนการกระจายตัวด้านความถี่ของภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญี ปัจจัยที่อาจเกี่ยวข้องและกลยุทธ์แนะนำสำหรับการป้องกัน การลดอุบัติการณ์ และลดความเสียหายของภาวะแทรกซ้อน วัตถุประสงค์ งานวิจัยแบบสหสถาบันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาปัจจัยเชิงผู้ป่วย ศัลยกรรม วิสัญญี เพื่อหาปัจจัยนำ ปัจจัยลดอุบัติการณ์ ตลอดจน แนวทางหรือกลยุทธ์ในการป้องกันอุบัติการณ์ วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาแบบพรรณนา โดยการเก็บข้อมูลลักษณะไปข้างหน้าในโรงพยาบาล 22 แห่งที่อาสาสมัครเข้าร่วมการวิจัย แต่ละโรงพยาบาลทำการรายงานอุบัติการณ์ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) โดยการใช้แบบฟอร์มมาตรฐานที่ออกแบบไว้ให้กรอก หรือเช็คตัวเลือก และบรรยายรายละเอียดการเกิดอุบัติการณ์ชนิดใด ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และน่าจะเป็นเพราะเหตุใด บนพื้นฐานการรายงานแบบนิรนามและสมัครใจ ในแต่ละเดือนโรงพยาบาลแต่ละแห่งจะรายงานสถิติการให้ยาระงับความรู้สึกประจำเดือนส่งเพื่อการวิเคราะห์เชิงสถิติที่เหมาะสม ผลการศึกษา โรงพยาบาลที่เข้าร่วมในการศึกษานี้ 22 แห่ง เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย 8 แห่ง และเป็นโรงพยาบาลเชิงบริการ 14 แห่ง โรงพยาบาลส่วนใหญ่มีกิจกรรมฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน การเรียนการสอนสำหรับนิสิตนักศึกษาแพทย์ (77%) เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมวิสัญญีพยาบาล (57%) โดยมีอัตราส่วนของวิสัญญีแพทย์ และวิสัญญีพยาบาลต่อหนึ่งห้องผ่าตัดเท่ากับ 0.67:1 และ 2.03:1 ตามลำดับ ในช่วง 12 เดือนที่ทำการศึกษาในฐานข้อมูลการให้ยาระงับความรู้สึก 333,219 ราย, 2216 รายงาน และ 3028 อุบัติการณ์ พบว่ารายงานอุบัติการณ์พบในผู้ป่วยเพศชาย (52.0%) อายุน้อยกว่า 10 ปี (13%) อายุมากกว่า 70 ปี (18.2%) ในเชิงระบาดวิทยาพบอุบัติการณ์หัวใจหยุดเต้นจากทุกสาเหตุภายใน 24 ชั่วโมง (15.5:10000) อัตราเสียชีวิตจากทุกสาเหตุภายใน 24 ชั่วโมง (13:10000) ภาวะใส่ท่อหายใจซ้าหลังการถอดท่อหายใจ (11.1:10000) การใส่ท่อหายใจเข้าหลอดอาหาร (8.5:10000) ภาวะใส่ท่อหายใจลึกเข้าแขนงหลอดลม (8.5:10000) ภาวะใส่ท่อหายใจยาก (8:10000) ภาวะใส่ท่อหายใจไม่สำเร็จ (0.7:10000) การสำลักอาหาร และ/หรือน้ำเข้าปอด (1.3:10000) ภาวะสงสัยมีการอุดกั้นเส้นเลือดปอด (0.5:10000) ภาวะ total spinal block (0.3:10000) ภาวะรู้ตัวระหว่างผ่าตัด (0.4:10000) ภาวะหมดสติ/อุบัติเหตุหลอดเลือดสมอง/ชัก (1.5:10000) ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนปลาย (0.6:10000) สงสัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย/ขาดเลือด (1:10000) การเต้นของหัวใจผิดปกติ (14:10000) ภาวะอนาไฟแลกซิส/อนาไฟแลคตอยด์/แพ้ยา (2.3:10000) การบริหารยาผิด (3.3:10000) ปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องมือ (1.4:10000) บุคลากรวิสัญญีได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน (0.6:10000) การให้เลือดผิด (0.2:10000) การผ่าตัดผิดคน ผิดตำแหน่ง หรือผิดชนิด (0.2:10000) ภาวะ malignant hyperthermia (1: 200000) ศัลยกรรมเฉพาะทางที่เกิด อุบัติการณ์บ่อย ได้แก่ ศัลยกรรมทั่วไป ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก ศัลยกรรมประสาท และศัลยกรรมหู คอ จมูก โดยสถานที่เกิดอุบัติการณ์บ่อยได้แก่ ห้องผ่าตัด และห้องพักฟื้น สรุป ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาอัตราหัวใจหยุดเต้น และการเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง ตลอดจนภาวะแทรกซ้อนทางระบบหายใจ และการใส่ท่อหายใจยากลดลงอย่างมาก แสดงถึงการพัฒนาด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยผ่าตัดในประเทศไทย ปัจจัยเกี่ยวข้อง ได้แก่ การขาดประสบการณ์ ภาวะฉุกเฉิน การประเมินผู้ป่วยก่อนการให้ยาระงับความรู้สึกไม่เพียงพอ การตัดสินใจไม่เหมาะสม ขาดความรอบคอบ ระแวดระวัง และขาดบุคลากรผู้ช่วยที่มีประสบการณ์ วิธีการแนะนำ ได้แก่ การปฏิบัติตามแนวทางเวชปฏิบัติ การฝึกอบรมเพิ่มเติม การศึกษาต่อเนื่อง การปรับปรุงระบบให้คำปรึกษาหรือระบบพี่เลี้ยง และกิจกรรมประกันคุณภาพเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectAnesthesiaen_EN
dc.subjectAnesthesia--Adverse Effectsen_EN
dc.subjectระงับความรู้สึกth_TH
dc.subjectระงับความรู้สึก--ผลที่ไม่พึงประสงค์th_TH
dc.subjectศัลยกรรมth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการศึกษาอัตราการเสียชีวิต และภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีจากการรายงานอุบัติการณ์ในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeMulticentered study of anesthesia: related mortality and adverse events by incident reports in Thailanden_EN
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground: Safety in anesthesia can be improved through monitoring and analysis of anesthetic complications. We conducted the present Perioperative and Anesthetic Events in Thailand (PAAd Thai) incident reporting study to determine the current frequency distribution of incidents related to the anesthetic complications, factors contributing to the incidents, and corrective strategies. Objectives: The Perianesthetic Anesthetic Adverse Events in Thailand (PAAd Thai) study aimed to investigate patient, surgical, and anesthetic profiles, and suggestive strategies for prevention of adverse events. Methods: A prospective descriptive study was conducted in 22 hospitals across Thailand. Each hospital was invited to report, on an anonymous basis, any perianesthetic adverse incident during 12 months (between January 1 and December 31, 2015). A standardized incident report form was completed to determine the type of incident, and where, when, how, and why it occurred using closed and open-ended questionnaires. Data regarding main anesthetic techniques were also reported monthly. Descriptive statistics and comparative statistics were used as appropriate. Results: Twenty-two hospitals across Thailand participated in this study. Fourteen of them (63.6%) were non-university (service directed) hospitals while eight of them (36.4%) were university (academic) hospitals. The majority of hospitals were involved in residency training and teaching medical students (77.3%), while half of them (57.1%) were involved in training nurse anesthetists. The ratio of anesthesiologists to an operating room was 0.67:1 and the ratio of nurse anesthetists to an operating room was 2.03:1. During 12 months period, there were 333,219 cases, 2,206 incident reports with 3,028 critical incidents. The incidents commonly occurred in male patients (52.0%), aged <10 y (13.0%) and >70 y (18.2%). The incidence of adverse events included cardiac arrest within 24 h (15.5:10,000), death (13.0:10,000), reintubation (11.1:10,000), esophageal intubation (8.5:10,000), difficult intubation (8.0:10,000), endobronchial intubation (8.5:10000), failed intubation (0.7:10000), pulmonary aspiration (1.3:10000), suspected pulmonary embolism (0.5:10000), total spinal block (0.3:10000), awareness (0.4:10000), coma/cerebrovascular accident/convulsion (1.5:10000), nerve injury (0.6:10000), suspected myocardial infarction/ischemia (1:10000), serve arrhythmia (14:10000), anaphylaxis/anaphylactoid reaction/allergy (2.3:10000), medication error (3.2:10000), equipment malfunction/failure (1.4:10000), anesthesia personnel hazard (0.6:10000), transfusion mismatch (0.2:10000), wrong patient/wrong site/surgery (0.2:10000) and malignant hyperthermia (1:200000). General, cardiothoracic neurological and otorhinolaryngological surgical specialties posed a high risk of incidents. Operating room and recovery room were common locations for incidents. Conclusion: In the past decade, there were dramatic reductions of perioperative cardiac arrests and pulmonary complications particularly difficult intubations. Common factors related to critical incidents were inexperience, emergency, inadequate preanesthetic evaluation, inappropriate decisions, lack of vigilance, and inexperienced assistants. Suggested corrective strategies are compliance with guidelines, additional training, and improvement of supervision and quality assurance.en_EN
dc.identifier.callnoWO245 ส275ก 2560
dc.identifier.contactno59-079
.custom.citationสมรัตน์ จารุลักษณานันท์, Somrat Charuluxananan, ยอดยิ่ง ปัญจสวัสดิ์วงศ์, Yodying Punjasawadwong, ศิริพร ปิติมานะอารี, Siriporn Pitimana-aree, เทวารักษ์ วีระวัฒกานนท์, Thewarug Werawatganon, วรินี เล็กประเสริฐ, Varinee Lekprasert, ศศิกานต์ นิมมานรัชต์, Sasikaan Nimmaanrat, อักษร พูลนิติพร, Aksorn Pulnitiporn, วรวุธ ลาภพิเศษพันธุ์ and Worawut Lapisatepun. "การศึกษาอัตราการเสียชีวิต และภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีจากการรายงานอุบัติการณ์ในประเทศไทย." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4844">http://hdl.handle.net/11228/4844</a>.
.custom.total_download418
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year50
.custom.downloaded_fiscal_year5

Fulltext
Icon
Name: hs2390.pdf
Size: 1.182Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record