แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การวิเคราะห์สภาพการณ์การดำเนินงานวิจัยจากงานประจำในเขตสุขภาพที่ 11 และ 12

dc.contributor.authorปรียนุช ชัยกองเกียรติth_TH
dc.contributor.authorอติญาณ์ ศรเกษตรินth_TH
dc.contributor.authorรุ่งนภา จันทราth_TH
dc.contributor.authorมาริสา สุวรรณราชth_TH
dc.contributor.authorกิตติพร เนาว์สุวรรณth_TH
dc.contributor.authorรัถยานภิศ พละศึกth_TH
dc.contributor.authorยุพาวดี ขันทบัลลังth_TH
dc.contributor.authorโสภิต สุวรรณเวลาth_TH
dc.contributor.authorสิรินภร ศุกรวรรณth_TH
dc.contributor.authorภาซีน่า บุญลาภth_TH
dc.date.accessioned2018-03-14T03:15:28Z
dc.date.available2018-03-14T03:15:28Z
dc.date.issued2561-01
dc.identifier.otherhs2392
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4845
dc.description.abstractงานวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ 1) สภาพการณ์การดำเนินงานวิจัยจากงานประจำในเขตสุขภาพที่ 11 และ 12 และการสนับสนุนจากกลุ่มผู้ทำวิจัย ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) และผู้บริหารในการนำงานวิจัยจากงานประจำไปใช้ประโยชน์ 2) การเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผู้ทำวิจัยจากงานประจำตามองค์ประกอบขององค์กรแห่งการเรียนรู้ และ 3) เพื่อประเมินการนำผลงานวิจัยจากงานประจำในเขตสุขภาพที่ 11 และ 12 ไปใช้ประโยชน์แก่ผู้รับบริการ องค์กรและสังคม ตามองค์ประกอบของระบบบริการสุขภาพ (Six building blocks) เก็บข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย R2R ในปี 2551 - 2559 และวิเคราะห์สภาพการณ์การดำเนินงานวิจัยจากงานประจำในเขตสุขภาพที่ 11 และ 12 โดยการทำสนทนากลุ่มกับนักวิจัย R2R กลุ่มผู้บริหารในเขตสุขภาพ/จังหวัด กลุ่มผู้สนับสนุนการทำวิจัย R2R ในระดับเขต/จังหวัด จำนวนรวมทั้งสิ้น 88 คน ระยะเวลาการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2559 – 30 พฤศจิกายน 2560 วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย R2R ด้วยจำนวนและร้อยละและวิเคราะห์การสนทนากลุ่มด้วยการสังเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. สภาพการณ์การดำเนินงานวิจัยจากงานประจำในเขตสุขภาพที่ 11 และ 12 พบว่า ในปี พ.ศ. 2551-2559 เขต 11 และ 12 มีผลงานวิจัย R2R จำนวน 415 ผลงาน โดยจำนวนผลงานมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทั้ง 2 เขต เขตสุขภาพที่ 12 มีผลงานวิจัย R2R มากกว่าเขตที่ 11 ถึงสามเท่า แต่งานวิจัย R2R ส่วนใหญ่ยังขาดการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ สำหรับการสนับสนุนพบว่า ผู้บริหารระดับเขตสุขภาพ มีนโยบายสนับสนุนการทำ R2R โดยกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบงาน R2R โดยตรง มีคณะกรรมการ R2R ของเขตสุขภาพ มีการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและ social media ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ผลงานวิจัย มีงบประมาณสนับสนุนในการจัดประชุมวิชาการเพื่อเผยแพร่ผลงาน ทั้งในระดับจังหวัด ระดับเขตสุขภาพ 2. การเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผู้ทำวิจัยจากงานประจำ พบว่าผู้ทำวิจัยจากงานประจำเกิดการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงใน 5 ด้านคือ ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ ด้านการตระหนักรู้เท่าทันความคิดตนเอง ด้านการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน และด้านการเรียนรู้เป็นทีม 3. การนำผลงานวิจัย R2R ไปใช้ประโยชน์ตามองค์ประกอบของระบบบริการสุขภาพ พบงาน R2R ในด้านการให้บริการในระบบสุขภาพมากที่สุด โดยนำไปพัฒนาระบบการให้บริการ เช่น ลดขั้นตอนการให้บริการที่ไม่จำเป็นลง ลดจำนวนผู้รับบริการ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และคนไข้ได้รับการบริการที่ปลอดภัยth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectงานประจำสู่งานวิจัยth_TH
dc.subjectR2Rth_TH
dc.subjectRoutine to Researchth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการวิเคราะห์สภาพการณ์การดำเนินงานวิจัยจากงานประจำในเขตสุขภาพที่ 11 และ 12th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis mixed method research aims to conduct 1) the situation analysis of Routine to Research (R2R) research among the 11th and the 12th regional health level and the support from researchers, facilitators, and administrators for research utilization, 2) the process of transformative learning by learning organization components among R2R researchers, and 3) the implementing of R2R research into practice for clients, organizations, and social by using six building block components. Data collection consisted of: 1) R2R research conducting among the 11th and the 12th regional health level between 2551-2559 BE and 2) the focus group of 88 R2R researchers, facilitators, and administrators between December 2559 BE to November 2560 BE. Quantitative data was analyzed by using frequency and percentage. Qualitative data was analyzed by using content analysis. Results revealed that: 1) there were 415 R2R research conducting among the 11th and the 12th regional health level between 2552-2559 BE. The number of R2R research among the 11th and the 12th regional health level was increasing from 2552 BE to 2559 BE but the number of the 12th regional health level R2R research was 3 times more than the number of the 11th regional health level R2R research. However, most of R2R research still lacked of research utilization. The regional health level administrators supported R2R research by issuing R2R research policy, setting R2R research responsibility personnel, appointing R2R research board, supporting the use of technology and social media for knowledge sharing and research publication both at provincial level and regional health level. 2) R2R researchers leaned and transformed themselves by system thinking, mental model, personal mastery, shared vision and team learning. 3) R2R research was utilized the most in health system services by improving health service system such as eliminating unnecessary health service steps, decreasing number of clients, decreasing cost of care, and promoting patient safety.th_TH
dc.identifier.callnoW20.5 ป472ก 2561
dc.identifier.contactno60-022
.custom.citationปรียนุช ชัยกองเกียรติ, อติญาณ์ ศรเกษตริน, รุ่งนภา จันทรา, มาริสา สุวรรณราช, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, รัถยานภิศ พละศึก, ยุพาวดี ขันทบัลลัง, โสภิต สุวรรณเวลา, สิรินภร ศุกรวรรณ and ภาซีน่า บุญลาภ. "การวิเคราะห์สภาพการณ์การดำเนินงานวิจัยจากงานประจำในเขตสุขภาพที่ 11 และ 12." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4845">http://hdl.handle.net/11228/4845</a>.
.custom.total_download111
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year6
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2392.pdf
ขนาด: 1.043Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย