dc.contributor.author | พนิดา ธนาวิรัตนานิจ | th_TH |
dc.contributor.author | ขวัญชนก ยิ้มแต้ | th_TH |
dc.contributor.author | เบญจมาศ พระธานี | th_TH |
dc.contributor.author | พรเทพ เกษมศิริ | th_TH |
dc.contributor.author | ภาธร ภิรมย์ไชย | th_TH |
dc.contributor.author | จักรพันธ์ ขัดชุ่มแสง | th_TH |
dc.date.accessioned | 2018-03-15T04:19:42Z | |
dc.date.available | 2018-03-15T04:19:42Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.other | hs2394 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4847 | |
dc.description.abstract | ประเทศไทยมีปัญหาการขาดแคลนนักเวชศาสตร์การสื่อความหมายซึ่งได้แก่ นักแก้ไขการได้ยิน และนักแก้ไขการพูด อย่างมาก อัตราส่วนของจำนวนนักเวชศาสตร์การสื่อความหมายต่อจำนวนประชากรที่ค่อนข้างต่ำ และมีการกระจายตัวไม่เหมาะสม ทำให้การพัฒนางานบริการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของการสื่อความหมายทั้งด้านการได้ยินหรือการพูดไม่ก้าวหน้า ในขณะที่จำนวนผู้พิการทางการได้ยินและการสื่อความหมายที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการการตรวจวินิจฉัยและฟื้นฟูสมรรถภาพเพิ่มจำนวนสะสมขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ระยะวิกฤต การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาแนวทางที่เป็นไปได้ในการเพิ่มจำนวนนักเวชศาสตร์การสื่อความหมายและมาตรการที่เหมาะสม ในการจูงใจให้บุคลากรดังกล่าวเข้าทำงานในภาครัฐและมีการกระจายตัวไปตามภูมิภาคต่างๆ การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Exploratory study) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed method) ซึ่งประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถาม สำหรับกลุ่มนักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย ผู้บริหารหน่วยงานที่มีนักเวชศาสตร์การสื่อความหมายสังกัด นักศึกษาหลักสูตรเวชศาสตร์การสื่อความหมายทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท และผู้รับบริการจากนักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย ในส่วนการสัมภาษณ์เชิงลึกได้ทำการเก็บข้อมูลจากผู้บริหารหลักสูตรเวชศาสตร์การสื่อความหมาย โสต ศอ นาสิกแพทย์ นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย และผู้บริหารที่กำหนดนโยบายและอัตรากำลังพลด้านสาธารณสุข ผลการศึกษาในเชิงปริมาณพบว่า นักเวชศาสตร์การสื่อความหมายเมื่อจบการศึกษาแล้วมีแนวโน้มที่จะอยากรับราชการในสถานพยาบาลของรัฐมากกว่าเอกชน โดยจะเลือกทำงานในโรงพยาบาลประจำจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์หรือมหาวิทยาลัย ตามลำดับ ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานคือ ผู้ร่วมงานที่ดี มีความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ และแรงจูงใจในการเลือกที่ทำงาน คือ ความมั่นคง ความก้าวหน้าในการทำงาน และโอกาสในการศึกษาต่อ นักเวชศาสตร์การสื่อความหมายมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ ส่วนใหญ่ทำงานในอาชีพนี้เพราะได้ช่วยเหลือผู้ป่วย ในส่วนของรายได้ไม่ใช่ปัจจัยหลักในการเลือกที่ทำงาน สวัสดิการที่ได้รับจากหน่วยงาน ได้แก่ งบประมาณในการประชุมวิชาการ และที่พักอาศัย หากมีการกำหนดตำแหน่งนักเวชศาสตร์การสื่อความหมายในโรงพยาบาลจังหวัดหรือโรงพยาบาลศูนย์ น่าจะเป็นการแก้ปัญหาการกระจายตัวได้ทั้งโสต ศอ นาสิกแพทย์ นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย และผู้รับบริการ มีความเห็นตรงกันว่า ควรเพิ่มจำนวนนักเวชศาสตร์การสื่อความหมายโดยเฉพาะในระดับปริญญาตรี แต่พบว่าคุณลักษณะของ นักเวชศาสตร์การสื่อความหมายที่ผู้รับบริการต้องการอาจไม่สอดคล้องกับทักษะความรู้ความสามารถของบัณฑิตระดับปริญญาตรี จึงควรมีการพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ส่วนกลไกที่ช่วยสนับสนุนให้มีนักเวชศาสตร์การสื่อความหมายเพิ่มขึ้นคือ การผลักดันให้มีตำแหน่งและความก้าวหน้าในการทำงาน กำหนดกรอบตำแหน่งในระดับสูงขึ้น เพิ่มเงิน พตส. ให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษา สมาคมวิชาชีพและสถาบันผลิตบัณฑิตควรเป็นผู้ที่มีบทบาทในการผลักดันกลไกนี้ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | กำลังคนด้านสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | กำลังคนด้านสาธารณสุข--วิจัย | th_TH |
dc.subject | เวชศาสตร์ | th_TH |
dc.subject | กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การศึกษาแผนการเพิ่มจำนวนนักเวชศาสตร์การสื่อความหมายและการกระจายตัวที่เหมาะสม | th_TH |
dc.title.alternative | The study plan to increase the number and the proper distribution of communicative disorder experts | en_US |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.identifier.callno | W76 พ199ก 2561 | |
dc.identifier.contactno | 59-064 | |
dc.subject.keyword | นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย | th_TH |
.custom.citation | พนิดา ธนาวิรัตนานิจ, ขวัญชนก ยิ้มแต้, เบญจมาศ พระธานี, พรเทพ เกษมศิริ, ภาธร ภิรมย์ไชย and จักรพันธ์ ขัดชุ่มแสง. "การศึกษาแผนการเพิ่มจำนวนนักเวชศาสตร์การสื่อความหมายและการกระจายตัวที่เหมาะสม." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4847">http://hdl.handle.net/11228/4847</a>. | |
.custom.total_download | 148 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 8 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 3 | |