แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การพัฒนารูปแบบการจัดการสุขภาพของผู้สูงอายุไทยมลายูที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในวิถีแห่งวัฒนธรรมในภาคใต้ของไทย

dc.contributor.authorวิไล อุดมพิทยาสรรพ์th_TH
dc.contributor.authorจงกรม ทองจันทร์th_TH
dc.contributor.authorนุศรา ดาวโรจน์th_TH
dc.contributor.authorนูรซาฮีดา เจ๊ะมามะth_TH
dc.contributor.authorนฤมล โต๊ะหลังth_TH
dc.contributor.authorปรินา ณ พัทลุงth_TH
dc.contributor.authorวรรัตน์ สุขคุ้มth_TH
dc.contributor.authorWilai Udompittayasonen_US
dc.contributor.authorJongkrom Thongjanen_US
dc.contributor.authorNutsara Dowroteen_US
dc.contributor.authorNursaheeda Chamamaen_US
dc.contributor.authorNaremol Tholungen_US
dc.contributor.authorParina Na Phatthalungen_US
dc.contributor.authorWorarat sukkumen_US
dc.date.accessioned2018-04-02T02:47:09Z
dc.date.available2018-04-02T02:47:09Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.otherhs2399
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4865
dc.description.abstractการวิจัยและการพัฒนา (Research and Development) โดยใช้วิธีการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participation Action Research: PAR) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์ปัญหา ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ความต้องการ เพื่อพัฒนารูปแบบในการจัดการสุขภาพของผู้สูงอายุไทยมลายู ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบไปด้วยผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ผู้ดูแล และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการระบบสุขภาพของชุมชน รวม 149 คน ประกอบด้วย ผู้สูงอายุไทยมลายูที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 33 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุไทยมลายูที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 33 คน พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 2 คน เจ้าหน้าที่ฝ่ายสาธารณสุขจากองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 3 คน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 3 คน ผู้นำศาสนา 20 คน ผู้นำชุมชน 10 คน และอาสาสมัครประจำหมู่บ้านจำนวน 45 คน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ความต้องและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ (1) ผู้นำศาสนามีส่วนร่วมในการเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน (2) การเยี่ยมเยียนผู้ป่วยเพื่อให้กำลังใจกันในชุมชนซึ่งเป็นวิถีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา สำหรับคนที่ป่วยหนัก จะเชิญโต๊ะอิหม่ามไปอ่านอัลกุรอาน แนะนำการปฏิบัติตัว การไปหาหมอที่ดีที่สุดเพื่อรักษา (3) การให้ความรู้แก่ชุมชนในการลดอาหารหวาน มัน เค็ม (4) จัดให้มีสถานที่สำหรับออกกำลังกาย โดยมีผู้นำกลุ่มในการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ของผู้สูงอายุ (5) มีระบบการเยี่ยมติดตามผู้ป่วยเป็นระยะๆ โดย อสม. และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบชุมชนร่วมกัน (6) มีผู้นำเพื่อดำเนินการในการจัดกิจกรรมของผู้สูงอายุ จากข้อมูลเชิงคุณภาพนำมาพัฒนาเป็นแนวทางในการพัฒนาจัดการสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง พบว่า การจัดการตนเองของผู้สูงอายุก่อนการทดลองใช้รูปแบบการจัดการสุขภาพ มีค่าคะแนนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด X = 3.87 S.D = 1.21 ในขณะที่การจัดการตนเองของผู้สูงอายุหลังการทดลองใช้รูปแบบการจัดการสุขภาพ มีค่าคะแนนโดยรวมเพิ่มมากขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด X = 4.30 S.D =1.08 แต่อย่างไรก็ตามค่าคะแนนรายด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุดทั้งก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบการจัดการสุขภาพ ได้แก่ การลดอาหารมัน อาหารทอด หรือผัด X= 2.4 S.D= 1.29 , X= 3.26 S.D =1.46 ตามลำดับ ผลของการทดลองใช้รูปแบบจัดการตนเองของผู้สูงอายุในวิถีวัฒนธรรม ก่อนและหลัง โดยใช้สถิติ Paired t-test พบว่า ระดับความดันโลหิต Systolic blood pressure (SBP) หลังการทดลองใช้รูปแบบในการจัดการตนเองของผู้สูงอายุ น้อยกว่าก่อนการทดลองใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสติที่ P< 0.001 และ Diastolic blood pressure (DBP) หลังการทดลองใช้รูปแบบในการจัดการตนเองของผู้สูงอายุ น้อยกว่าก่อนการทดลองใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P< 0.05 ในขณะที่น้ำหนัก รอบเอว และดัชนีมวลกาย ก่อนและหลังไม่มีความแตกต่างกันth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectวัฒนธรรมไทย--แง่อนามัยth_TH
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ--สุขภาพและอนามัยth_TH
dc.subjectOlder people--Health and hygieneen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการพัฒนารูปแบบการจัดการสุขภาพของผู้สูงอายุไทยมลายูที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในวิถีแห่งวัฒนธรรมในภาคใต้ของไทยth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of health management model for Thai-Melayu elderly with hypertension based on community participation in Southern Thai cultureen_US
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research and development aims to study current situations and associated factors of health management and needs for model development in health management among the Thai-Melayu elderly living in the South of Thailand. The participation action research (PAR) was conducted using qualitative and quantitative research. The sample of 149 participants recruited into the study were 33 elderly people being diagnosed with hypertension, 33 care givers of those elderly, and those who involved in the care for those elderly including 2 health public officers taking care of the patients with hypertension, 3 health public offices working for the Sub-district Administration Organization (SAO), 3 political members of SAO, 20 religious leaders, 10 village leaders, and 45 village health volunteers. The interviews and focus groups were used for collecting. The content analysis was used to analyze the qualitative data. Finding revealed that the needs and community participation in health management in Thai- Melayu elderly with hypertension included; 1) religious leaders providing health education for the elderly people, 2) visiting home by the religious leaders to encourage the elderly patients, 3) health education for the community to reduce sweet, salty, and fatty foods 4) providing the place for exercise, 5) setting-up the home visit system by village health volunteers , and 6) having a village leader to carry-on the activities for elderly in the community. Based on the qualitative data, the researchers developed the guideline to promote health management among the elderly having hypertension and found that post intervention, the average score of health management, at higher level, (X = 4.30 S.D = 1.08) was higher than that of pre-intervention (X = 3.87 S.D = 1.21), at the same higher level. However, it also discovered that the lowest average scores were found in the following dimensions: reducing high fat diet, and deep-fried foods or stir-fried meals X= 2.4 S.D= 1.29, X= 3.26 S.D = 1.46, respectively. The results showed that after receiving health management the systolic blood pressure (SBP) and diastolic blood pressure (DBP) were also significant lower than pre-receiving the health management at the level of P< 0.001 and P< 0.05 respectively but there was no significant difference in body weight, waistline, and body mass index (BMI).en_US
dc.identifier.callnoWT100 ว724ก 2560
dc.identifier.contactno59-037
.custom.citationวิไล อุดมพิทยาสรรพ์, จงกรม ทองจันทร์, นุศรา ดาวโรจน์, นูรซาฮีดา เจ๊ะมามะ, นฤมล โต๊ะหลัง, ปรินา ณ พัทลุง, วรรัตน์ สุขคุ้ม, Wilai Udompittayason, Jongkrom Thongjan, Nutsara Dowrote, Nursaheeda Chamama, Naremol Tholung, Parina Na Phatthalung and Worarat sukkum. "การพัฒนารูปแบบการจัดการสุขภาพของผู้สูงอายุไทยมลายูที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในวิถีแห่งวัฒนธรรมในภาคใต้ของไทย." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4865">http://hdl.handle.net/11228/4865</a>.
.custom.total_download390
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year20
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2399.pdf
ขนาด: 1.909Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย