แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การส่งเสริมโภชนาการช่วงแรกของชีวิตในระบบงานอนามัยแม่และเด็ก ปีที่ 1

dc.contributor.authorพัตธนี วินิจจะกูลth_TH
dc.contributor.authorทิพวัลย์ พงษ์เจริญth_TH
dc.contributor.authorนิภา โรจน์รุ่งวศินกุลth_TH
dc.contributor.authorศิริพร ตันติโพธิ์พิพัฒน์th_TH
dc.contributor.authorสืบพงษ์ กอวชิรพันธ์th_TH
dc.date.accessioned2018-04-02T03:44:52Z
dc.date.available2018-04-02T03:44:52Z
dc.date.issued2561-03
dc.identifier.otherhs2402
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4867
dc.description.abstractโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับมารดาและทารกตั้งแต่มีการปฏิสนธิ จนตลอดสองปีแรก หรือ “1000 วันแรกของชีวิต” มีความสำคัญต่อการเติบโต สุขภาพ และศักยภาพทางสติปัญญา การสำรวจระดับประเทศพบว่าปัญหาทางโภชนาการในแม่และเด็กเปลี่ยนจากภาวะการขาดสารอาหารเป็นภาวะทั้งขาดและเกิน วัตถุประสงค์: โครงการวิจัยนี้ดำเนินการเพื่อปรับปรุงเครื่องมือประเมินการเพิ่มน้ำหนักตัวของมารดาขณะตั้งครรภ์ตามภาวะโภชนาการก่อนตั้งครรภ์ พัฒนาเครื่องมือประเมินกิจกรรมทางกายสำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร จัดทำข้อแนะนำด้านอาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารโดยใช้แป้งที่ทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์ (resistant starch, RS) เพื่อลดโภชนาการเกิน และศึกษาการดำเนินงานด้านโภชนาการในงานอนามัยแม่และเด็ก ผลการศึกษา: (1) จากข้อมูลการเพิ่มน้ำหนักตัวขณะตั้งครรภ์ของมารดาที่คลอดบุตร ณ โรงพยาบาลศิริราช ที่มีน้ำหนักแรกคลอดอยู่ในเกณฑ์ปกติ ได้ตารางและกราฟการเพิ่มน้ำหนักตัวที่แต่ละอายุครรภ์ สำหรับหญิงก่อนการตั้งครรภ์ (pre-pregnancy BMI) ที่มีน้ำหนักน้อย ปกติ น้ำหนักเกินและอ้วน (2) ได้เครื่องมือประเมินกิจกรรมทางกาย (physical activity) ของหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร(PAQ-PL) ซึ่งพิจารณาจากแบบแผนกิจกรรมทางกายของคนไทย ที่มีความแม่นตรงอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้เมื่อเทียบกับการวัดด้วยเครื่อง accelerometer โดยสามารถใช้กำกับดูแลการเพิ่มน้ำหนักตัวขณะตั้งครรภ์ให้อยู่ในเกณฑ์และควบคุมน้ำหนักตัวคงค้างหลังคลอด (3) จากการใช้หลักการ linear programming ด้วยโปรแกรมOptifood และข้อมูลการบริโภคอาหารของหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่ได้จากการสำรวจแบบแผนการบริโภค (ปริมาณ ความถี่ และชนิดอาหาร) ของหญิงไทย ได้ข้อแนะนำกลุ่มอาหาร ปริมาณและความถี่การบริโภค ในระยะตั้งครรภ์และให้นมบุตรที่ทำให้ได้สารอาหารทั้งพลังงาน โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุที่สำคัญอย่างเพียงพอ และมีความชัดเจนในการนำไปปฏิบัติ ซึ่งควรนำไปทดสอบจริงเพื่อประเมินการยอมรับ การวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติตามข้อแนะนำก่อนนำไปขยายผลต่อไป (4) พัฒนาแป้งอาหารที่ทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์โดยทำเป็นผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มที่มีปริมาณ RS 30 กรัมต่อวัน และทดสอบในหญิงวัยเจริญพันธุ์ พบว่า ได้รับการยอมรับดี มีอาการข้างเคียงน้อย และพลังงานจากการบริโภคอาหารต่อวันลดลง ทั้งนี้ ยังต้องทำการศึกษาเพื่อประเมินผลต่อสุขภาพต่อไป (5) การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว (exclusive breastfeeding) ตลอด 6 เดือนแรก โดยวิธีสัมภาษณ์การให้อาหารทารกกับมารดาที่มีเศรษฐานะปานกลางและส่วนใหญ่ทำงานนอกบ้านโดยเทียบกับการใช้วิธีอณูธรรมชาติ พบว่าคำตอบจากการสัมภาษณ์สอดคล้องกับการปฏิบัติจริงเมื่อเด็กอายุ 3 เดือนเพียงประมาณร้อยละ 31 และร้อยละ 61 ที่อายุ 6 เดือน (6) จากการศึกษางานด้านโภชนาการในงานอนามัยแม่และเด็ก พบว่า กระทรวงสาธารณสุขส่วนกลางเป็นผู้กำหนดนโยบายเป้าหมายและตัวชี้วัด และดำเนินการผ่านศูนย์อนามัยระดับเขตสุขภาพ ซึ่งทำหน้าที่ให้คำแนะนำ สนับสนุนข้อมูลทางด้านวิชาการและกำกับติดตามตัวชี้วัดตามนโยบาย ในการปฏิบัติพบข้อจำกัดของจำนวนบุคลากรด้านอนามัยแม่และเด็กเมื่อเทียบกับปริมาณงาน และขาดความรู้ทางโภชนาการอย่างเพียงพอสำหรับการให้บริการ จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการพัฒนาศักยภาพด้านโภชนาการของบุคลากรทางสาธารณสุข โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการและอาสาสมัครในชุมชน ข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่บูรณาการข้อแนะนำและเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นเพื่อการนำไปใช้ในระบบบริการ และบริหารจัดการให้สอดคล้องกับการดำเนินงานโดยบุคลากรในสถานบริการระดับต่างๆ และการพัฒนาศักยภาพด้านโภชนาการของบุคลากรสาธารณสุขอย่างจริงจังth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectChildren--Nutritionth_TH
dc.subjectMothers--Nutritionen_US
dc.subjectWell-beingen_US
dc.subjectเด็ก$xโภชนาการth_TH
dc.subjectมารดา$xโภชนาการth_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการส่งเสริมโภชนาการช่วงแรกของชีวิตในระบบงานอนามัยแม่และเด็ก ปีที่ 1th_TH
dc.title.alternativePromoting early life nutrition intervention within maternal and child health care (1st year)en_US
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeOptimal nutrition in both mothers and infants from conception to the first 2 years of life or the first 1000 days is crucial for growth, health and cognitive development. Thailand has made considerable progress in maternal and child nutrition, but currently facing the double burden of malnutrition, i.e., coexistence of both under and over nutrition. Objectives: This study aimed to improve a tool used in assessing gestational weight gain (GWG) which is appropriate for pre-pregnancy nutritional status (Body Mass Index, BMI), develop a new tool for assessing physical activities during pregnancy and lactation, develop practical recommendations on dietary advice during pregnancy and lactation, develop a food product using resistant starch for management of overnutrition and finally, to examine the current nutrition services in maternal and child health program. Key findings: (1) GWG data of mothers who delivered normal birth weight infants at Siriraj Hospital were obtained from hospital records. Recommended GWG tables and charts were developed according to pre-pregnancy BMI, i.e., underweight, normal weight, overweight or obese. (2) A physical activity questionnaire for pregnancy and lactating women (PAQ-PL) was developed based on the common physical activities among Thai population. The validity of the PAQ-PL against the accelerometer was acceptable. This PAQ-PL can be used to monitor GWG and control post-partum weight retention. (3) Optifood program, which utilized the linear programming method, was used to create food based dietary recommendations (FBDG) for pregnant and lactating women. The development was based on dietary consumption data (quantity, frequency, and food items) of Thai pregnant and lactating women as well as women of reproductive age. The developed FBDG contained recommended food groups, quantity, and frequency which aimed to meet the recommended energy, protein, and vitamin and minerals intake. This FBDG should be tested for acceptability and practicality prior to implementation. (4) RS milk-based beverage, containing 30 grams of RS, was developed and tested for acceptability and side-effects. The developed RS beverage was well accepted among women of reproductive age and the side-effects were rare. The total daily energy intake decreased; however, further study on health impacts is needed. (5) Exclusive breast feeding (EBF) practice during the first 6 months of age among middle income and working outside the home mothers was evaluated using the questionnaire, then compared with the data from the stable isotope technique. Only 31% at 3 months and 61% at 6 months of the EBF practice data from the questionnaire were consistent with the actual practice. (6) The current nutrition services in maternal and child health program were based on the policy and indicators established by the Ministry of Public Health. The services were implemented through the Regional Health Promotion Center (HPC), which acted as the advisory and technical support group and monitored policy implementation according to the indicators. The constraints in the real practices were the lacks of sufficient personnel compared to the workload and inadequate nutrition knowledge. There was an urgent attention on capacity building for the health personnel, especially those who work at the local level and community health volunteers. Recommendation: This study suggests the importance of the action research that integrates the developed recommendations and tools in the maternal and child health care services and modify them to be appropriate for the implementation at all service levels, and suggests the importance of the intensive capacity building on nutrition aspect for public health personnel.en_US
dc.identifier.callnoWS120 พ541ก 2561
dc.identifier.contactno58-060
.custom.citationพัตธนี วินิจจะกูล, ทิพวัลย์ พงษ์เจริญ, นิภา โรจน์รุ่งวศินกุล, ศิริพร ตันติโพธิ์พิพัฒน์ and สืบพงษ์ กอวชิรพันธ์. "การส่งเสริมโภชนาการช่วงแรกของชีวิตในระบบงานอนามัยแม่และเด็ก ปีที่ 1." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4867">http://hdl.handle.net/11228/4867</a>.
.custom.total_download439
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year19
.custom.downloaded_fiscal_year4

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2402.pdf
ขนาด: 6.486Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย