Show simple item record

การศึกษาและการประเมินความต้องการทางสุขภาพในเชิงระบาดวิทยาของกลุ่มโรคที่มีต่อ Hospice care ในประเทศไทย

dc.contributor.authorจิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์th_TH
dc.contributor.authorพรเลิศ ฉัตรแก้วth_TH
dc.contributor.authorภรเอก มนัสวานิชth_TH
dc.contributor.authorสุรีรัตน์ งามเกียรติไพศาลth_TH
dc.contributor.authorภาวิกา ศรีรัตนบัลล์th_TH
dc.contributor.authorธนะภูมิ รัตนานุพงศ์th_TH
dc.contributor.authorกนิษชานันท์ ช่วยเรืองth_TH
dc.date.accessioned2018-05-24T02:55:44Z
dc.date.available2018-05-24T02:55:44Z
dc.date.issued2560-03
dc.identifier.otherhs2418
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4894
dc.description.abstractการศึกษาและการประเมินความต้องการทางสุขภาพในเชิงระบาดวิทยาของกลุ่มโรคที่มีต่อ Hospice care ในประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเชิงสังเคราะห์เพื่อการพัฒนาระบบบริการเพื่อดูแลผู้ป่วยระยะท้าย (Hospice care) ในประเทศไทย ซึ่งการศึกษาประกอบด้วยการทบทวนวรรณกรรมทางระบาดวิทยาที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มโรคเป้าหมายในประเทศไทย รวมถึงการสนทนากลุ่ม การประชุมคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อกำหนดประเด็นการศึกษาและการประเมินความต้องการทางสุขภาพในเชิงระบาดวิทยาของกลุ่มโรคที่มีต่อ Hospice care ในประเทศไทย จากการวิเคราะห์ฐานข้อมูลการเบิกจ่ายผู้ป่วยในของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประกันสังคม และสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ ในระหว่างปี พ.ศ.2554-2558 พบว่า มีจำนวนครั้งที่มีการรับเข้ารักษาในแผนกผู้ป่วยในทั้งสิ้น 37,643,295 ครั้ง หากพิจารณาในกลุ่มโรคที่ต้องการดูแลระยะท้าย (Hospice care) มีการรับเข้ารักษาและได้รับการวินิจฉัยมะเร็ง (C00-D48) รองลงมาได้รับการวินิจฉัย Chronic obstructive pulmonary diseases (J44) และ Congestive heart failure (I50) ตามลำดับ หากพิจารณาการวินิจฉัยโรคหลักเป็นกลุ่ม (Primary Diagnosis) จากกลุ่มโรคที่ต้องการดูแลระยะท้าย (Hospice care) นั้น พบว่า การวินิจฉัยเป็นมะเร็ง (C00-D48) ยังคงมีจำนวนครั้งที่มารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยในสูงสุด รองลงมาการได้รับการวินิจฉัยเป็น Chronic obstructive pulmonary diseases (J44) และ Congestive heart failure (I50) ตามลำดับ เช่นกัน จากข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยใน โดยพิจารณาจากครั้งสุดท้ายที่รับเข้ารักษามีจำนวนทั้งสิ้น 17,985,110 คน พบว่าสัดส่วนการเสียชีวิตสูงสุดพบในผู้ป่วยที่ได้รับภาวะไตวาย (N185, N189) รองลงมาเป็น Congestive heart failure (I50) และ Dementia, Alzheimer’s disease and other dementias (F00-F03, G30) ตามลำดับ แต่หากพิจารณาจากการวินิจฉัยหลัก พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยด้วย HIV/AIDS (B20-B24) มีสัดส่วนการเสียชีวิตสูงสุด รองลงมาเป็นภาวะไตวาย (N185, N189) และมะเร็ง (C00-D48) ตามลำดับการประมาณการการเข้ารับบริการตามกลุ่มโรคที่ต้องการดูแลระยะท้าย ด้วยอัตราในระดับต่างๆ กัน พบว่าหากประมาณการด้วยจำนวนที่เสียชีวิตและอาการที่ไม่ดีขึ้นเฉลี่ยต่อปี หรือแม้กระทั่งจำนวนที่เสียชีวิตเพียงอย่างเดียว มะเร็ง (C00-D48) ยังคงเป็นโรคที่มีภาระของผู้มารับบริการเฉลี่ยต่อปีสูงสุดในการรับเข้ารักษาครั้งสุดท้ายในแผนกผู้ป่วยใน จำแนกตามการวินิจฉัยกลุ่มโรคที่ต้องการดูแลระยะท้าย พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็ง (C00-D48) มีจำนวนวันนอนเฉลี่ยต่อปีสูงสุด รองลงมาการวินิจฉัยด้วย Congestive heart failure (I50) และ Chronic obstructive pulmonary diseases (J44) เช่นเดียวกับการวินิจฉัยหลัก ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยหลักเป็นมะเร็ง (C00-D48) ยังคงจำนวนวันนอนเฉลี่ยต่อปีสูงสุด รองลงมาการวินิจฉัยด้วย Chronic obstructive pulmonary diseases (J44) และ HIV/AIDS (B20-B24) ตามลำดับth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHospice Careen_EN
dc.subjectบริการผู้ป่วยระยะสุดท้ายth_TH
dc.subjectผู้ป่วยระยะสุดท้าย--การดูแลth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการศึกษาและการประเมินความต้องการทางสุขภาพในเชิงระบาดวิทยาของกลุ่มโรคที่มีต่อ Hospice care ในประเทศไทยth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.publicationภายใต้โครงการวิจัยเชิงสังเคราะห์เพื่อการพัฒนาระบบบริการเพื่อดูแลผู้ป่วยระยะท้าย (Hospice Care) ในประเทศไทยth_TH
dc.identifier.callnoW85.5 จ492ก 2560
dc.identifier.contactno59-028
dc.subject.keywordผู้ป่วยระยะท้ายth_TH
.custom.citationจิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์, พรเลิศ ฉัตรแก้ว, ภรเอก มนัสวานิช, สุรีรัตน์ งามเกียรติไพศาล, ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์, ธนะภูมิ รัตนานุพงศ์ and กนิษชานันท์ ช่วยเรือง. "การศึกษาและการประเมินความต้องการทางสุขภาพในเชิงระบาดวิทยาของกลุ่มโรคที่มีต่อ Hospice care ในประเทศไทย." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4894">http://hdl.handle.net/11228/4894</a>.
.custom.total_download145
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year6

Fulltext
Icon
Name: hs2418.pdf
Size: 478.9Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record