Show simple item record

Impact of physical activity and diet on the development of dementia, chronic kidney disease, diabetes and cardiovascular disease in a Thai general population in Ubon Ratchathani

dc.contributor.authorประเสริฐ บุญเกิดth_TH
dc.contributor.authorสมศักดิ์ ลัพธิกุลธรรมth_TH
dc.contributor.authorพนิดา กฤตยภูษิตพจน์th_TH
dc.contributor.authorวรรณี นิธิยานันท์th_TH
dc.contributor.authorชัยชาญ ดีโรจนวงศ์th_TH
dc.contributor.authorอัมพิกา มังคละพฤกษ์th_TH
dc.contributor.authorวัลยา จงเจริญประเสริฐth_TH
dc.contributor.authorสุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริth_TH
dc.contributor.authorอติพร อิงค์สาธิตth_TH
dc.contributor.authorวรวรรณ ชัยลิมปมนตรีth_TH
dc.contributor.authorชนิดา ปโชติการth_TH
dc.contributor.authorวิชัย เอกพลากรth_TH
dc.contributor.authorปริญญา ชำนาญth_TH
dc.contributor.authorวีระ มหาวนากูลth_TH
dc.contributor.authorอาคม อารยาวิชานนท์th_TH
dc.contributor.authorพรรณประพร โคนพันธ์th_TH
dc.contributor.authorพิเชฐ หล่อวินิจนันท์th_TH
dc.contributor.authorคมสัน พิริยะกิจไพบูลย์th_TH
dc.contributor.authorวิน เตชะเคหะกิจth_TH
dc.date.accessioned2018-05-24T06:50:08Z
dc.date.available2018-05-24T06:50:08Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.otherhs2419
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4895
dc.description.abstractรายงานผลของการออกกำลังและการบริโภคอาหารต่อการเกิดโรคสมองเสื่อม โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจและหลอดเลือดในประชากรไทยในจังหวัดอุบลราชธานี เป็นโครงการต่อเนื่อง ปีที่ 2 มีโครงการวิจัยย่อยภายใต้แผนงานวิจัย 2 โครงการ คือ โครงการที่ 1 การศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับโรคสมองเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง โรคเบาหวาน และหัวใจและหลอดเลือดในประชากรไทยในจังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้ข้อมูลจากการตรวจสุขภาพประจำปีและเวชระเบียน และโครงการที่ 2 ผลของการปรับเปลี่ยนกิจกรรมทางกายและอาหารต่อการป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจและหลอดเลือดในประชากรไทยในจังหวัดอุบลราชธานี ผลการศึกษาเบื้องต้นในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมาของงานวิจัยนี้ แสดงให้เห็นว่าอุบัติการณ์หรืออัตราการเกิดของโรคไตเรื้อรังที่วินิจฉัยในระบบบริการสุขภาพปกติในประชากรไทยนั้นมีไม่สูงนัก อย่างไรก็ตามพบว่าอุบัติการณ์ของโรคไตเรื้อรังสูงขึ้นตามอายุ นั่นคือยิ่งอายุมากความเสี่ยงในการเกิดโรคยิ่งสูง ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคไตเรื้อรังสูงกว่าผู้ที่ไม่เป็นโรคอย่างมาก และพบว่าการบริโภคอาหารเค็มจัดเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคไตเรื้อรัง คนที่มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอมากกว่า 3-5 วันต่อสัปดาห์มีอุบัติการณ์ของโรคน้อยลง ผลการศึกษาอุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองหรืออัมพฤกษ์อัมพาตในประชากรไทยในจังหวัดอุบลราชธานีมีค่าใกล้เคียงกับข้อมูลในประเทศตะวันตก และพบว่ามีปัจจัยหลายอย่างมีสัมพันธ์กับความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจ ปัจจัยเหล่านั้น ได้แก่ อายุที่มากขึ้น เพศชาย โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ระดับความดันโลหิต ระดับดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว และการออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอ จากข้อมูลดังกล่าว ผู้วิจัยได้พัฒนาเครื่องมือทำนายความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มเติมจากเครื่องมือทำนายความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในปีที่ 1 ของการศึกษา ประชาชนทั่วไปสามารถใช้ข้อมูลที่ทราบและหาได้ง่ายไปใช้ในการคำนวณว่าโอกาสที่ตนเองจะเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดหัวใจในอนาคตใน 5 ปีข้างหน้าคิดเป็นร้อยละเท่าไร ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในการทราบว่าตนเองนั้นเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหรือไม่ และอาจช่วยส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองต่อไป นอกจากนี้ ทีมผู้วิจัยได้พัฒนาให้ประชาชนสามารถอ่านข้อมูลคำแนะนำการปฏิบัติตนที่จำเพาะกับระดับความเสี่ยงของตนเอง และยังสามารถทดลองปรับเพิ่มลดปัจจัยต่างๆ เพื่อให้เห็นประโยชน์ของการจัดการกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ในการช่วยลดความเสี่ยงของโรคได้ด้วย จากกระบวนการวิจัยในการศึกษาผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม โรคเบาหวาน และโรคหัวใจและหลอดเลือด ทีมผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลในปีที่ 2 ของงานวิจัย แม้ว่าจะมีความล่าช้าในกระบวนการเก็บข้อมูลบ้าง ทีมผู้วิจัยได้มีการปรับกระบวนการในการเก็บข้อมูลผลลัพธ์การเกิดโรคเพื่อให้ได้ข้อมูลมาวิเคราะห์ผลหลังจากหมู่บ้านกลุ่มทดลองได้ดำเนินการกิจกรรมทดลองได้ค่อนข้างครบถ้วนแม้ว่าจะได้รับในระยะเวลามานานนักก็มีความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของตัวชี้วัดทางเมตาบอลิก นั่นคือ ระดับไขมันดีหรือ เอชดีแอล คอเลสเตอรอล เพิ่มขึ้น และระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในอาสาสมัครกลุ่มทดลอง อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบความแตกต่างในการเกิดโรคเบาหวานและโรคหัวใจและหลอดเลือดระหว่างหมู่บ้านกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม สิ่งหนึ่งที่อธิบายผลลัพธ์ที่ยังไม่พบความแตกต่างดังกล่าว น่าจะเป็นระยะเวลาประเมินผลลัพธ์น่าจะสั้นเกินไป การเก็บข้อมูลและติดตามผลลัพธ์ในอาสาสมัครทั้งสองกลุ่มหมู่บ้านน่าจะนำไปสู่ผลที่ชัดเจนขึ้นต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectออกกำลังกายth_TH
dc.subjectพฤติกรรมการบริโภคth_TH
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพth_TH
dc.subjectสมองเสื่อม--การดูแลth_TH
dc.subjectไตวายเรื้อรัง--การดูแลth_TH
dc.subjectเบาหวาน--การดูแลth_TH
dc.subjectหัวใจและหลอดเลือดth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleผลของการออกกำลังและการบริโภคอาหารต่อการเกิดโรคสมองเสื่อม โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจและหลอดเลือดในประชากรไทยในจังหวัดอุบลราชธานี โครงการต่อเนื่อง ปีที่ 2th_TH
dc.title.alternativeImpact of physical activity and diet on the development of dementia, chronic kidney disease, diabetes and cardiovascular disease in a Thai general population in Ubon Ratchathanien_EN
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoW84.1 ป419ผ 2560
dc.identifier.contactno59-069
.custom.citationประเสริฐ บุญเกิด, สมศักดิ์ ลัพธิกุลธรรม, พนิดา กฤตยภูษิตพจน์, วรรณี นิธิยานันท์, ชัยชาญ ดีโรจนวงศ์, อัมพิกา มังคละพฤกษ์, วัลยา จงเจริญประเสริฐ, สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ, อติพร อิงค์สาธิต, วรวรรณ ชัยลิมปมนตรี, ชนิดา ปโชติการ, วิชัย เอกพลากร, ปริญญา ชำนาญ, วีระ มหาวนากูล, อาคม อารยาวิชานนท์, พรรณประพร โคนพันธ์, พิเชฐ หล่อวินิจนันท์, คมสัน พิริยะกิจไพบูลย์ and วิน เตชะเคหะกิจ. "ผลของการออกกำลังและการบริโภคอาหารต่อการเกิดโรคสมองเสื่อม โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจและหลอดเลือดในประชากรไทยในจังหวัดอุบลราชธานี โครงการต่อเนื่อง ปีที่ 2." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4895">http://hdl.handle.net/11228/4895</a>.
.custom.total_download430
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year25
.custom.downloaded_fiscal_year3

Fulltext
Icon
Name: hs2419.pdf
Size: 8.172Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record