dc.contributor.author | ชัยรัตน์ ฉายากุล | th_TH |
dc.contributor.author | สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ | th_TH |
dc.contributor.author | พาขวัญ ปุณณุปูรต | th_TH |
dc.contributor.author | ผุสดี ปุจฉาการ | th_TH |
dc.contributor.author | นภาภรณ์ ภูริปัญญวานิช | th_TH |
dc.contributor.author | วินัย วนานุกูล | th_TH |
dc.contributor.author | นริสา ตัณฑัยย์ | th_TH |
dc.contributor.author | วุฒิรัต ธรรมวุฒิ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2018-06-19T06:49:21Z | |
dc.date.available | 2018-06-19T06:49:21Z | |
dc.date.issued | 2560-09 | |
dc.identifier.other | hs2424 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4902 | |
dc.description | ภายใต้โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Research Project in Development of Rational Drug Use Hospital) | th_TH |
dc.description.abstract | โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาโรงพยาบาลที่เข้าร่วมในโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU Hospital) ในประเทศไทย ซึ่งดำเนินการภายใต้คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลให้บรรลุตามเป้าหมายโดยสนับสนุนโรงพยาบาลให้มีแนวทางในการนำแผนสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมมีประสิทธิภาพเหมาะกับบริบท (2) ช่วยเสริมสร้างเครือข่ายของโรงพยาบาลภายในเขตพื้นที่เดียวกัน และ (3) พัฒนาเครื่องมือสนับสนุนการดำเนินการตามกุญแจ P-L-E-A-S-E โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมใน 6 เครือข่าย (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบนและล่าง ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และโรงพยาบาลในกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ UHosNet) และวิเคราะห์หาแนวทางที่เหมาะสมผ่านผลการประเมินตนเองของโรงพยาบาล ของเครือข่าย และผลการดำเนินการตามตัวชี้วัดเมื่อสิ้นสุดโครงการ โดยแนวปฏิบัติที่ดีจะถูกนำมาจัดเก็บรวบรวมพร้อมนำไปเผยแพร่ร่วมกับสิ่งสนับสนุนต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นให้แก่ผู้เกี่ยวข้องและโรงพยาบาลที่กำลังดำเนินการเพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผลต่อไป ผลการดำเนินการในช่วง 2 ปี (ตุลาคม 2558 ถึง กันยายน 2560) มีผลงานสำคัญ ได้แก่ (1) การร่วมมือกับโรงพยาบาลและเครือข่ายจนสิ้นสุดโครงการทำให้ทราบถึงแนวปฏิบัติที่ดีในแต่ละด้านของการดำเนินการตามกุญแจ P-L-E-A-S-E และสามารถนำมาจัดเก็บรวบรวมไว้เผยแพร่ต่อไปได้ (2) ผลสัมฤทธิ์ตามตัวชี้วัดของ RDU Hospital Project ทั้งหลักและรองแสดงว่าโรงพยาบาลส่วนใหญ่มีผลการดำเนินการที่ดีขึ้นแม้จะยังไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในบางตัวชี้วัด (3) ทราบถึงปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จ ได้แก่ การสนับสนุนของผู้บริหาร ความร่วมมือของสหวิชาชีพ และการมีนโยบายที่ชัดเจน ซึ่งอาจรวมถึงความสำคัญของการมีเครือข่าย โดยเครือข่ายที่ดำเนินการได้ดีจะมีจำนวนสมาชิกร่วมดำเนินการต่อเนื่องมากกว่า และ (4) เกิดความร่วมมือในหลายระดับเพื่อพัฒนาข้อมูลยาสู่ประชาชนที่เป็นหนึ่งเดียวในประเทศ ซึ่งจะเชื่อมโยงกับ Mobile Application ‘RDU รู้เรื่องยา’ ก่อนนำไปเผยแพร่เพื่อเพิ่มความแตกฉานด้านสุขภาพในการใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อไป ผลกระทบสำคัญที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ คือ (1) การนำไปใช้กำหนดเป็นแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาที่ 15 ของกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2560 เป็นต้นไป (2) การนำไปใช้เป็นเรื่องหนึ่งในมาตรฐานการรับรองคุณภาพสถานพยาบาลในส่วนคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด (PTC) และในส่วนการสร้างความปลอดภัยด้านยา (3) การนำไปใช้ส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนการสอนเรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในประเทศจนเกิด RDU Core Curriculum สำหรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ และ (4) การกระตุ้นให้เกิดการนำเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาในประเทศไทยไปใช้อย่างทั่วถึง การดำเนินโครงการยังทำให้ทราบถึงปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัด และโอกาสพัฒนาของโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล และสามารถนำไปใช้ปรับปรุงโครงการในระยะต่อไปรวมถึงการพัฒนาตาม Service Plan ที่ 15 ของกระทรวงสาธารณสุขได้โดยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สำคัญคือ (1) ควรมีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลที่มีประสิทธิภาพและอิสระในการดำเนินการขึ้นในประเทศ (2) ควรส่งเสริมเอกภาพในการดำเนินการของโรงพยาบาลและเครือข่ายภายในพื้นที่ (3) ควรมีการปรับปรุงตัวชี้วัดเพื่อให้สะท้อนถึงประโยชน์ที่จะเกิดแก่องค์การและผลลัพธ์ที่สำคัญเพิ่มมากขึ้น (4) ควรมีการปรับปรุงระบบสารสนเทศด้านยาที่สนับสนุนและรองรับการดำเนินการเพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผลแบบบูรณาการ และ (5) ควรมีแนวทางที่ชัดเจนเพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงและความเข้มแข็งของบุคลากรและเครือข่ายก่อนต่อยอดงานวิจัยเพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่สมบูรณ์ในการปรับเปลี่ยนทัศนคติ พฤติกรรม กฎเกณฑ์ รวมถึงนโยบายที่สำคัญให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลที่ครอบคลุมและยั่งยืนในประเทศ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การใช้ยาอย่างสมเหตุผล | th_TH |
dc.subject | การใช้ยาของโรงพยาบาล | th_TH |
dc.subject | Rational Drug Use | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | กรณีศึกษา แนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินการตามกุญแจ PLEASE สู่การเป็น RDU Hospital | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of Research Project in Development of Rational Drug Use (RDU) Hospital include: (1) to support the hospitals which join the RDU Hospital Project to achieve its goal by having a plan for concrete and effective actions based on the key advice P-L-E-A-S-E, (2) to strengthen the network of hospitals within the same geographical area, and (3) to support central tools in the implementation process of the hospital and network. The participatory action research (PAR) has been used to emphasize participation and action of local personnel and administrative team in 6 networks in the northern, northeastern-upper and lower, southern, central-eastern areas and the University Hospital Network (UHosNet). The suitable approaches are analyzed through the
self-assessment of the hospital, network, and the performance indicators at the end of the project. Good practice and advice will be shared with the collaborators, stakeholders and hospitals continuing the RDU Hospital Development along with the central supporting tools. The key findings of the projects conducted within the two-year period (10/2015 to 9/2017) can be summarized as follows: (1) In cooperation with the hospitals and networks, several good actions were recognized in each aspect of the key advice P-L-E-A-S-E, which enable us to collect, recommend and distribute the report as a KM book; (2) Results of the performance indicators revealed improvement of the RDU Hospital processes and outputs in most hospitals, even if the targets are not reached in some metrics, thus imply the project success; (3) The key success factors are identified as the support of the executive team, multidisciplinary joint collaboration and the clear national policy. These also include the importance of networking of which results
showed that more members of well-established network submitted the key performance results at the end of the project; and (4) Collaboration at multiple levels were established to develop a single and unique patient information drug leaflet in the country, that will be linked to Mobile Application ‘RDU รู้เรื่องยา’ to improve the nation's health literacy in medication for Thai people. Major impacts of the research project are (1) its utilization as the development for the 15th Ministry of Public Health Service Plan started in the budget year 2017, (2) its acceptance as one of the tools being used for the healthcare accreditation process (the subjects of pharmaceutical and therapeutic committee and medication safety), (3) its support for the RDU Core Curriculum for healthcare undergraduates, and (4) its involvement to promote the adoption of 2016 Ethical Criteria for Medicinal Drug Promotion Thailand. | th_TH |
dc.identifier.callno | QV55 ช424ก 2560 | |
dc.identifier.contactno | 58-048 | |
.custom.citation | ชัยรัตน์ ฉายากุล, สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ, พาขวัญ ปุณณุปูรต, ผุสดี ปุจฉาการ, นภาภรณ์ ภูริปัญญวานิช, วินัย วนานุกูล, นริสา ตัณฑัยย์ and วุฒิรัต ธรรมวุฒิ. "กรณีศึกษา แนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินการตามกุญแจ PLEASE สู่การเป็น RDU Hospital." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4902">http://hdl.handle.net/11228/4902</a>. | |
.custom.total_download | 313 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 6 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |