dc.contributor.author | ทิพพาวดี สืบนุการณ์ | th_TH |
dc.contributor.author | ภาณุ ภักดีสาร | th_TH |
dc.contributor.author | เมตตาจิตร เจริญทรัพย์ | th_TH |
dc.contributor.author | คุณารักษ์ มณีนุษย์ | th_TH |
dc.contributor.author | พัฒนาวิไล อินใหม | th_TH |
dc.contributor.author | อาณัติ วรรณศรี | th_TH |
dc.contributor.author | บุณยวีร์ เอื้อศิริวรรณ | th_TH |
dc.contributor.author | ณัฏฐ์นิธิมา แจ้งประจักษ์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2018-07-09T03:53:15Z | |
dc.date.available | 2018-07-09T03:53:15Z | |
dc.date.issued | 2561-05 | |
dc.identifier.other | hs2427 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4915 | |
dc.description.abstract | โครงการประเมินความครอบคลุมอย่างมีประสิทธิผลของบริการป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคเบาหวาน กรณีศึกษาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามประเมินคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานอย่างครบวงจรของพื้นที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังต่อไปนี้ คือ สร้างเครื่องมือในการติดตามประชากรและผู้ป่วยโรคเบาหวานระยะยาว ประเมินความครอบคลุมอย่างมีประสิทธิผลของการรักษาพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน ที่พิจารณา 3 มิติสุขภาพได้แก่ ความต้องการสุขภาพ การใช้บริการสุขภาพ และคุณภาพการรักษา นอกจากนี้แล้วยังมีการค้นหาผู้ป่วยเบาหวานในกลุ่มประชากรที่ไม่เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและยังไม่เข้าสู่ระบบการรักษาโรคเบาหวานด้วยการสำรวจ เพื่อให้ทราบความชุกของโรคเบาหวานที่แท้จริงในประชากรในพื้นที่ การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ ที่ใช้ข้อมูลปฐมภูมิได้จากการสำรวจเพื่อคัดกรองประชากรที่ไม่เข้ารับการคัดกรองโรคเบาหวานในปี 2559 จำนวน 3,214 คน และข้อมูลทุติยภูมิได้มาจากคลังข้อมูลสุขภาพ และชุดข้อมูลมาตรฐานด้านสุขภาพ 43 แฟ้มของกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ปี 2557 ถึง 2559 เกณฑ์ที่ใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ได้แก่ ค่าระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด (HbA1c) น้อยกว่าร้อยละ 7 และค่าระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) ระหว่าง 70-130 mg/dl ผลการศึกษา พบว่า ฐานข้อมูลการติดตามประชากรและผู้ป่วยโรคเบาหวานระยะยาว ที่เชื่อมข้อมูลจากฐานข้อมูลประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ฐานข้อมูลการคัดกรองโรค ฐานข้อมูลการเข้ารับการรักษาพยาบาล และผลของความครอบคลุมอย่างมีประสิทธิผลของการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานเข้าด้วยกันในรูปแบบของฐานข้อมูล MySQL ที่สามารถเฝ้าระวังประชากรจำนวน 23,333 คนในปี 2559 และติดตามการเจ็บป่วยของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ โดยประชากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยแรงงานที่มีอายุ 30 – 59 ปี ร้อยละ 45.4, 46.0 และ 44.9 จากประชากรทั้งหมด อีกทั้งพบว่าการคัดกรองของประชากรเท่ากับร้อยละ 85.9, 88.1 และ 89.5 ซึ่งสูงกว่าภาพรวมของจังหวัดเลยอยู่ประมาณร้อยละ 3.7, ต่ำกว่าเขตสุขภาพที่ 8 เพียงร้อยละ 0.2 และสูงกว่าภาพรวมระดับประเทศอยู่ ร้อยละ 15.8 หลังจากนั้นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วจะเข้ารับบริการเพื่อรักษาโรคเบาหวาน ร้อยละ 93.7, 91.1 และ 93.4 และสามารถควบคุมค่าระดับ HbA1c ครั้งสุดท้ายให้น้อยกว่า 7 ได้ร้อยละ 45.4, 34.1 และ 31.9 และควบคุมค่าระดับ FBS สองครั้งสุดท้ายของผู้ป่วยในรอบ 1 ปี ได้ร้อยละ 40.5, 41.8 และ 38.0 เมื่อพิจารณาอัตราความครอบคลุมอย่างมีประสิทธิผลที่พิจารณาจากการควบคุม HbA1C ได้ร้อยละ 31.9, 23.6 และ 23.1 ในขณะที่ร้อยละของความครอบคลุมอย่างมีประสิทธิผลของการคุมค่า FBS เท่ากับ 32.6, 33.5 และ 31.7 และผลจากการสำรวจเพื่อค้นหาผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่เข้ารับการคัดกรองในปี 2559 พบว่า ค้นพบกลุ่มเสี่ยงที่จะป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่ม จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 1.2 ของกลุ่มเป้าหมายที่สำรวจ ทั้งนี้กลุ่มเสี่ยงจะต้องเข้ารับการตรวจค่าน้ำตาลซ้ำอีกครั้งที่โรงพยาบาลเพื่อยืนยันว่าเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน หากทุกคนได้รับการยืนยันว่าเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความชุกของผู้ป่วยโรคเบาหวานในพื้นที่จะมีประมาณ 11 คนต่อ 100 ประชากร | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | เบาหวาน | th_TH |
dc.subject | Diabetes | th_TH |
dc.subject | เบาหวาน--การควบคุม | th_TH |
dc.subject | Diabetes--Control | en_US |
dc.subject | เบาหวาน--การดูแล | th_TH |
dc.subject | Diabetics--Care | en_US |
dc.subject | Health Service Delivery | en_EN |
dc.subject | การบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การประเมินความครอบคลุมอย่างมีประสิทธิผลของบริการป้องกัน ควบคุม และ รักษาโรคเบาหวาน กรณีศึกษาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย | th_TH |
dc.title.alternative | An Evaluation Project on Effective Coverage in Prevention, Control and Treatment of Type 2 Diabetes: A Case Study of Dansai Hospital, Dansai District, Loei Province | en_US |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research aimed to evaluate effective coverage in the prevention, control and treatment of type 2 diabetes, a case study from Dansai Hospital, Dansai District, Loei Province. Firstly, the diabetes longitudinal database was created to keep track of the population and patients. Secondly, the effective coverage of type 2 diabetes care was evaluated in three dimensions, including health needs, utilization and quality of care. In addition, the diabetes screening survey was conducted to find diabetes patients who did not take part in diabetes screening project in 2016 and were not yet registered in the diabetes treatment system. The purpose of this survey was to investigate the exact prevalence of type 2 diabetes in the catchment area of Dansai Hospital. . This study used quantitative research technique involving primary and secondary data. Primary data was taken from the survey to find diabetes patients from 3,214 samples. Secondary data was taken from Health Data Center and 43 Health Data Standard datasets of the Ministry of Public Health from 2014 to 2016. The criteria used for diagnosing diabetes were Hemoglobin A1c (HbA1c<7%) and Fasting Blood Sugar (FBS = 70 to 130 mg/dl). The results showed that the diabetes longitudinal database consisting of population, screening, treatment database and effective coverage results in My SQL format could be used for surveillance of 23,333 people and keep track of diabetes patients. In 2014, 2015 and 2016, 45.4%, 46.0% and 44.9% of total population aged 30-59 years, respectively. Moreover, in this 3-year period, the percentage of screening was 85.9%, 88.1% and 89.5%, respectively. This figure was 3.4% higher than it was in Loei Province, 0.6% lower than it was in Health Eight Region, and 15.5% higher than it was for the whole country. The diagnosed diabetes patients that received the treatment were 93.7%, 91.1% and 93.4%. 45.4%, 34.1% and 31.9% of the patients were able to control HbA1c. 40.5%, 41.8% and 38.0% of the patients were able to control FBS for 2 times. Moreover, the effective coverage in HbA1c condition was 31.9%, 23.6% and 23.1%; while 32.6%, 33.5% and 31.7% in the FBS condition. According to the diabetes screening survey, 33 persons with risk for type 2 diabetes were found which accounted for 1.2 % of the sample. Moreover, the risk group needs to have a re-check at the hospital to confirm the level of blood sugar. If 33 persons were diabetes patients, the prevalence would be 11 patients per 100 populations. | en_US |
dc.identifier.callno | WK810 ท459ก 2561 | |
dc.identifier.contactno | 60-075 | |
dc.subject.keyword | โรคเบาหวาน | th_TH |
.custom.citation | ทิพพาวดี สืบนุการณ์, ภาณุ ภักดีสาร, เมตตาจิตร เจริญทรัพย์, คุณารักษ์ มณีนุษย์, พัฒนาวิไล อินใหม, อาณัติ วรรณศรี, บุณยวีร์ เอื้อศิริวรรณ and ณัฏฐ์นิธิมา แจ้งประจักษ์. "การประเมินความครอบคลุมอย่างมีประสิทธิผลของบริการป้องกัน ควบคุม และ รักษาโรคเบาหวาน กรณีศึกษาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4915">http://hdl.handle.net/11228/4915</a>. | |
.custom.total_download | 478 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 2 | |
.custom.downloaded_this_year | 20 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 3 | |