dc.contributor.author | จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ | th_TH |
dc.contributor.author | พรเลิศ ฉัตรแก้ว | th_TH |
dc.contributor.author | ภรเอก มนัสวานิช | th_TH |
dc.contributor.author | สุรีรัตน์ งามเกียรติไพศาล | th_TH |
dc.contributor.author | ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ | th_TH |
dc.contributor.author | พรทิพย์ ปรีชาไชยวิทย์ | th_TH |
dc.contributor.author | พิมพ์ณิชา เทพวัลย์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2018-08-07T03:58:12Z | |
dc.date.available | 2018-08-07T03:58:12Z | |
dc.date.issued | 2561-04 | |
dc.identifier.other | hs2435 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4923 | |
dc.description.abstract | การบริบาลเพื่อคุณภาพชีวิตในระยะท้าย (Hospice Care) เป็นการดูแลรักษาผู้ป่วยแบบประคับประคอง โดยมิได้มีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อรักษาโรคของผู้ป่วยเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการให้การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ด้วยวิธีการรักษาแบบองค์รวม ในสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพ และมีความเหมาะสม เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยระยะท้าย รวมไปถึงคุณภาพชีวิตของครอบครัวของผู้ป่วยอีกด้วย การบริบาลเพื่อคุณภาพชีวิตระยะท้ายนั้น มีหัวใจหลักคือ สมาชิกผู้ใกล้ชิดในครอบครัวหรือญาติมิตร และเครือข่ายของการดูแลรักษาให้การสนับสนุน ทั้งนี้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการเข้าถึงบริการ และได้รับการดูแลแบบประคับประคองจากแพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านนี้อย่างเพียงพออีกด้วย การศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาต้นแบบร่างข้อกำหนดของการจัดบริการที่จำเป็นสำหรับประเทศไทย เพื่อให้สามารถใช้ปฏิบัติได้จริงในสถานพยาบาล พัฒนาระบบบริการ การบริบาลเพื่อคุณภาพชีวิตระยะท้าย และเป็นแนวทางการตรวจประเมินคุณภาพของการบริการสำหรับกลุ่มผู้ป่วยระยะท้ายดังกล่าว ซึ่งทางคณะผู้วิจัยของศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (TRC-HS) ได้วิเคราะห์ประมวลผลการศึกษาส่วนที่ 1 ถึง 4 และจัดทำเป็นต้นแบบร่างข้อกำหนดบริการ Hospice care V 0.1 ที่จำเป็นสำหรับการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ตลอดจนแนวทางที่ควรใช้ในการติดตาม และตรวจประเมินเพื่อรับรองคุณภาพของ Hospice Care โดยอ้างอิงจากมาตรฐานโรงพยาบาล และบริการสุขภาพเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี (ฉบับที่ 3) ของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) (สรพ.) หลังจากนั้นจัดการประชุมผู้เชี่ยวชาญ ผู้ปฏิบัติงาน และตัวแทนจากโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อวิพากษ์ข้อกำหนดบริการ Hospice care V 0.1 และรับสมัครโรงพยาบาลที่สนใจเข้าร่วมเป็นโรงพยาบาลนำร่องในการทดลองใช้ข้อกำหนดดังกล่าว มีโรงพยาบาลที่สนใจเข้าร่วมทดลองใช้ข้อกำหนด ที่ได้ปรับแก้ไขจากที่ประชุมเป็นข้อกำหนดบริการ Hospice care V 0.2 ทั้งสิ้น 17 โรงพยาบาล ประกอบด้วย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย 3 แห่ง โรงพยาบาลศูนย์ 2 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไป 3 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 4 แห่ง โรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ 2 แห่ง โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร 1 แห่ง โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก 1 แห่ง และโรงพยาบาลเอกชน 1 แห่ง หลังจากโรงพยาบาลนำร่องทั้ง 17 แห่งได้ทดลองใช้ข้อกำหนดบริการ Hospice care V 0.2 คณะผู้วิจัยได้ลงเยี่ยมพูดคุย วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรคในการใช้ข้อกำหนดดังกล่าว ทั้ง 17 แห่ง โดยมีกำหนดการเยี่ยมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในภาคผนวก และเมื่อกำหนดการเยี่ยมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โรงพยาบาลนำร่องทั้ง 17 แห่ง เสร็จสิ้น ได้จัดประชุมสรุปผลการทดลองใช้ข้อกำหนดบริการ Hospice care ทั้ง 17 โรงพยาบาล ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 ในการประชุมมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากการเยี่ยมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ทุกโรงพยาบาลได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกัน และเพื่อจัดลำดับความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่ข้อกำหนดควรมี สำหรับกำหนดเป็นข้อกำหนดบริการ Hospice care สำหรับประเทศไทย | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Hospice Care | th_TH |
dc.subject | บริการผู้ป่วยระยะสุดท้าย | th_TH |
dc.subject | Palliative Care | th_TH |
dc.subject | การดูแลแบบประคับประคอง | th_TH |
dc.subject | ผู้ป่วยระยะสุดท้าย--การดูแล | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | ต้นแบบร่างข้อกำหนดของการจัดบริการขั้นต่ำที่จำเป็นและแนวทางการตรวจประเมินบริการในกลุ่มผู้ป่วยระยะท้าย | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.publication | ภายใต้โครงการวิจัยเชิงสังเคราะห์เพื่อการพัฒนาระบบบริการเพื่อดูแลผู้ป่วยระยะท้าย (Hospice Care) ในประเทศไทย | th_TH |
dc.identifier.callno | W85.5 จ492ต 2561 | |
dc.identifier.contactno | 59-028 | |
dc.subject.keyword | ผู้ป่วยระยะท้าย | th_TH |
.custom.citation | จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์, พรเลิศ ฉัตรแก้ว, ภรเอก มนัสวานิช, สุรีรัตน์ งามเกียรติไพศาล, ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์, พรทิพย์ ปรีชาไชยวิทย์ and พิมพ์ณิชา เทพวัลย์. "ต้นแบบร่างข้อกำหนดของการจัดบริการขั้นต่ำที่จำเป็นและแนวทางการตรวจประเมินบริการในกลุ่มผู้ป่วยระยะท้าย." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4923">http://hdl.handle.net/11228/4923</a>. | |
.custom.total_download | 140 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 15 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 | |