Show simple item record

Economic burden and prognosis of preschool children with acute wheezing

dc.contributor.authorภาสกร ศรีทิพย์สุโขth_TH
dc.contributor.authorอารยา ศรัทธาพุทธth_TH
dc.contributor.authorศิริกุล มะโนจันทร์th_TH
dc.contributor.authorกล่องทิพย์ มัชฌิมดำรงth_TH
dc.contributor.authorศศวรรณ ชินรัตนพิสิทธิ์th_TH
dc.contributor.authorวิศรุต การุญบุญญานันท์th_TH
dc.contributor.authorจิตลัดดา ดีโรจนวงศ์th_TH
dc.contributor.authorสุชาดา ศรีทิพยวรรณth_TH
dc.contributor.authorพรรณทิพา ฉัตรชาตรีth_TH
dc.contributor.authorนริศรา สุรทานต์นนท์th_TH
dc.date.accessioned2018-09-04T04:44:43Z
dc.date.available2018-09-04T04:44:43Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.otherhs2439
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4927
dc.description.abstractภาวะหอบเฉียบพลันและหายใจมีเสียงวี้ดเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในเด็ก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการประเมินต้นทุนของการรักษาภาวะดังกล่าวในเด็กก่อนวัยเรียนซึ่งนอนโรงพยาบาล ภายใต้มุมมองของสังคม มุมมองสถานพยาบาล และมุมมองผู้ป่วย เป็นการศึกษาในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในจำนวน 240 ราย ณ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช และโรงพยาบาลสระบุรี เก็บข้อมูลต้นทุนจากฐานข้อมูลการเงินของโรงพยาบาล และการสัมภาษณ์ผู้ดูแลผู้ป่วย ต้นทุนทางตรงทางการแพทย์ ซึ่งประมาณค่าโดยอัตราส่วนต้นทุนต่อมูลค่าเรียกเก็บของโรงพยาบาล ต้นทุนการดูแลอย่างไม่เป็นทางการของผู้ดูแลประมาณค่าด้วยวิธีแนวทางต้นทุนมนุษย์ ผลการศึกษาพบว่าต้นทุนของการนอนโรงพยาบาลในมุมมองของสังคม สถานพยาบาล และผู้ป่วย เท่ากับ 20,269±20,537, 18,126±16,898 และ 3,020±6,632 บาท ตามลำดับ เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นระหว่างการรักษาที่โรงพยาบาลมากที่สุดถึงร้อยละ 94.59 โดยเป็นต้นทุนทางตรงที่เกี่ยวกับการแพทย์ร้อยละ 88.83 องค์ประกอบต้นทุนหลัก คือ ต้นทุนค่าห้อง และค่าอาหารระหว่างการนอนโรงพยาบาล โดยโรงพยาบาลสังกัดโรงเรียนแพทย์จะมีต้นทุนสูงกว่าโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และสังกัดอื่น การศึกษาพยากรณ์โรคของเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะหอบเฉียบพลันและฟังปอดพบเสียงวี้ดนั้น คณะผู้วิจัยได้ติดตามเก็บข้อมูลผลลัพธ์ทางคลินิก คือ การเกิดภาวะหอบเฉียบพลันและหายใจมีเสียงวี้ดซ้ำ ที่มาสถานพยาบาลเป็นการฉุกเฉินหรือต้องนอนในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลา 2 ปี และศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลลัพธ์ทางคลินิก ได้แก่ระดับตัวบ่งชี้ทางชีวภาพชนิดไม่รุกล้ำ คือ ระดับการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อยในเลือด ระดับวิตามินดีในเลือด และสารลิวโคไตรอีนอีโฟร์ในปัสสาวะซึ่งบ่งชี้การอักเสบของระบบทางเดินหายใจ ร่วมกับลักษณะของผู้ป่วย และครอบครัวตั้งแต่แรกเข้าร่วมโครงการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยเป็นเด็กชายร้อยละ 62.7 เคยมีประวัติหอบเหนื่อยมีเสียงวี้ดมาก่อนร้อยละ 59.1 ผู้ป่วยมีภาวะแพ้ง่ายร้อยละ 75.9 ผู้ป่วยมีภาวะพร่องวิตามินดีร้อยละ 24.8 จากการติดตามผู้ป่วยเป็นระยะเวลา 24 เดือน พบว่า มีข้อมูลการติดตามผู้ป่วยเป็นระยะเวลาครบ 24 เดือนเป็นจำนวน 180 ราย คิดเป็นร้อยละ 75.0 ในจำนวนนี้ มีอุบัติการณ์การเข้าสถานพยาบาลเป็นการฉุกเฉินด้วยภาวะหอบเฉียบพลันและหายใจมีเสียงวี้ดในช่วงปีที่ 1 และปีที่ 2 เป็นร้อยละ 67.5 (ช่วงแห่งความเชื่อมั่นที่ 95% เป็นร้อยละ 60.4 ถึงร้อยละ 74.2) และร้อยละ 12.2 (ช่วงแห่งความเชื่อมั่นที่ 95 % เป็นร้อยละ 7.8 ถึงร้อยละ 17.9) ตามลำดับ และมีอุบัติการณ์การนอนโรงพยาบาลด้วยภาวะหอบเฉียบพลันและหายใจมีเสียงวี้ดในช่วงปีที่ 1 และปีที่ 2 เป็นร้อยละ 32.3 (ช่วงแห่งความเชื่อมั่นที่ 95% เป็นร้อยละ 25.4 ถึงร้อยละ 39.9) และร้อยละ 3.9 (ช่วงแห่งความเชื่อมั่นที่ 95 % เป็นร้อยละ 1.6 ถึงร้อยละ 7.8) ตามลำดับ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเข้ารับบริการสถานพยาบาลเป็นการฉุกเฉินด้วยภาวะหอบเฉียบพลันและหายใจมีเสียงวี้ดในปีที่ 2 คือ มีสมาชิกที่สูบบุหรี่ภายในบ้านเดียวกับผู้ป่วย (p=0.045) และภาวะแพ้ง่าย (p=0.038) ตามลำดับth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectหืดในเด็กth_TH
dc.subjectAsthma in Childrenen_US
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.titleภาระทางเศรษฐศาสตร์และการพยากรณ์โรคของเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะหอบเฉียบพลันและฟังปอดพบเสียงวี้ดth_TH
dc.title.alternativeEconomic burden and prognosis of preschool children with acute wheezingen_US
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeWheezing is an important health problem in Thailand. This study aimed to estimating costs of hospitalization of preschool children with acute wheezing under societal, provider and patient’s perspectives were also studied. The study recruited 240 children, aged 6 months to 5 years, who were admitted with acute wheezing at Thammasat hospital, King Chulalongkorn Memorial hospital, Bhumiphol hospital and Saraburi hospital. Data were collected from the hospital financial database and interviewing caregivers for the expenses. Cost-to-charge ratio method was employed for valuation of direct medical costs. Informal care cost was determined by human capital approach. It is found that societal, provider and patient costs per admission were 20,269±20,537, 18,126±16,898 และ 3,020±6,632 THB, respectively. The costs during hospitalization were the maximal proportion of 94.59 percents with the direct medical costs นด 88.83 percents. The main cost component in all perspective was hoteling cost during admission. The costs in medical school hospitals were higher than other type hospitals. The prognosis of these wheezing children was studied to determine the clinical outcomes including emergency visits and hospitalization due to recurrent wheeze during the follow-up period of 24 months. Patients’ characteristics and non-invasive biomarkers including serum specific IgE to common allergens, serum 25-hydroxy-vitamin D, and urinary leukotriene E4 reflecting airway inflammation were collected at entry to determine the association with the clinical outcomes. According to the results, the participants were boys (62.7 %) and having history of recurrent wheezing at entry (59.1%). According to laboratory results, atopy was found in 75.9 percent. Vitamin D insufficiency was found in 24.8 percent. The one-year incidences of emergency visits with recurrent wheezing during the first and second years of follow-up were 67.5 percent (95% confidence interval: 60.4% to 74.2%) and 12.2 percent (95% confidence interval: 7.8% to 17.9%) respectively. The one-year incidence of hospitalization with acute wheezing during the first and second years of follow-up were 32.3 percent (95% confidence interval: 25.4% to 39.9%) and 3.9 percent (95% confidence interval: 1.6% - 7.8%) respectively. Passive smoking from household (p=0.045) and atopy (p=0.038) were significant factors associated with emergency visits of recurrent wheezing.en_US
dc.identifier.callnoWF553 ภ493ภ 2561
dc.identifier.contactno60-056
.custom.citationภาสกร ศรีทิพย์สุโข, อารยา ศรัทธาพุทธ, ศิริกุล มะโนจันทร์, กล่องทิพย์ มัชฌิมดำรง, ศศวรรณ ชินรัตนพิสิทธิ์, วิศรุต การุญบุญญานันท์, จิตลัดดา ดีโรจนวงศ์, สุชาดา ศรีทิพยวรรณ, พรรณทิพา ฉัตรชาตรี and นริศรา สุรทานต์นนท์. "ภาระทางเศรษฐศาสตร์และการพยากรณ์โรคของเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะหอบเฉียบพลันและฟังปอดพบเสียงวี้ด." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4927">http://hdl.handle.net/11228/4927</a>.
.custom.total_download108
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year0

Fulltext
Icon
Name: hs2439.pdf
Size: 558.9Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record