Show simple item record

การพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาภาวะอ้วนลงพุงและภาวะแทรกซ้อนของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร ปีที่ 2

dc.contributor.authorสุรัตน์ โคมินทร์th_TH
dc.coverage.spatialกรุงเทพมหานครth_TH
dc.date.accessioned2018-09-24T06:51:58Z
dc.date.available2018-09-24T06:51:58Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.otherhs2442
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4931
dc.description.abstractจากการศึกษาการพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาภาวะอ้วนลงพุงและภาวะแทรกซ้อนของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 1) นำแนวทางที่ได้จากการศึกษามาเผยแพร่การจัดการปัญหาภาวะอ้วนลงพุงและภาวะแทรกซ้อนอย่างยั่งยืน 2) สร้างเครือข่ายในการรณรงค์การจัดการปัญหาภาวะอ้วนลงพุงและภาวะแทรกซ้อนอย่างยั่งยืน 3) เผยแพร่องค์ความรู้การจัดการปัญหาภาวะโรคอ้วนและภาวะแทรกซ้อนสู่ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4) ประเมินและติดตามสถานการณ์ภาวะอ้วนลงพุงของประชาชนในพื้นที่ระดับชุมชนของกรุงเทพมหานคร โดยขั้นตอนการดำเนินการ คือ การนำไปทดสอบใช้กับคนในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่สมัครใจเข้าร่วมและไม่เป็นโรคมะเร็ง ไตวาย หรือพิการทางร่างกาย โดยได้ดำเนินการให้รูปแบบการแก้ไขปัญหาลดอ้วนลดพุงที่ประสบความสำเร็จตามต้นแบบ โดยเก็บกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 80 รายแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 55 รายและกลุ่มควบคุม 25 ราย โดยเลือกใช้สถิติ Paired t-test ในการหาค่าความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า ในส่วนขององค์ประกอบร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในส่วนของเปอร์เซ็นต์ไขมัน ปริมาณพลังงานที่ร่างกายเผาผลาญพลังงาน (BMR) และไขมันในช่องท้อง พบว่าก่อนทดสอบและหลังทดสอบมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในส่วนของการประเมินสัญญาณชีพ มีการเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นของหัวใจหรือชีพจรก่อนทดสอบและหลังทดสอบมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และในส่วนของการทดสอบสมรรถภาพทางกายมีการทดสอบดังนี้ การทดสอบสมรรถภาพทางกายการทดสอบ ยืน - นั่ง บนเก้าอี้ 60 วินาที (60 Seconds Chair Stand) นั่งงอตัวไปข้างหน้า (Sit and Reach) และก้าวขึ้นลง 3 นาที (3 Minutes Step Test) ก่อนทดสอบและหลังทดสอบมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อีกทั้งได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลการติดตามและประเมินผลสถานการณ์ภาวะอ้วนลงพุง โดยเก็บข้อมูลได้ทั้งสิ้น 530 ราย และทำการวิเคราะห์ผลหาค่าความสำคัญโดยใช้สถิติ Chi-Square เพื่อหาค่าดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่าโดยการหาค่าความสัมพันธ์ Chi-Square พบว่าค่า Significant level มีค่าเท่ากับ 0.00 ซึ่งน้อยกว่า 0.05 (0.00<0.05) วิเคราะห์ผลการประเมินดังนี้ ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) กับค่าการมีกิจกรรมทางกายจำนวนเท่าที่ใช้ในขณะพัก (MET) มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 สามารถสรุปได้ว่าคนในกรุงเทพมหานครมีอัตราอ้วนมากขึ้นเกิดจากการมีกิจกรรมทางกายที่ลดลงส่งผลให้ค่าดัชนีมวลกายเพิ่มขึ้น จากผลการเก็บข้อมูลพบว่าประชาชนที่เป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นอย่างมาก และมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือดสูง สูงขึ้นอย่างน่าตกใจ ดังนั้นควรดำเนินการสนับสนุนการเผยแพร่องค์ความรู้และรณรงค์ภาวะอ้วนลงพุงและภาวะแทรกซ้อนอย่างเร่งด่วน เพื่อปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็ก และให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าใจถึงความน่ากลัวของโรคอ้วนลงพุง และควรเพิ่มความสำคัญเชิงรุกในการเข้าถึงชุมชนอย่างทั่วถึงต่อไปth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectโรคอ้วนth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาภาวะอ้วนลงพุงและภาวะแทรกซ้อนของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร ปีที่ 2th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeStudy of the management of metabolic syndrome and its complications among people in Bangkok aimed at disseminating the effective and sustainable management of metabolic syndrome and feasible complications to the communities and key organizations. Moreover, evaluating and monitoring the prevalence of such syndrome in the community levels in Bangkok were also taken into consideration. The voluntary participants resided in Bangkok with no cancer, kidney failure and other types of disability were tested using the interventions from the study. The sample size of 80 participants in total was divided into 55 people as experimental group and 25 people as control group. Paired t-test was applied for statistical analysis to find the significant difference in those two groups. The result highlighted the statistical significance (p-value<0.005) in physical change between before and after the intervention such as fat percentage, basal metabolic rate (BMR) and abdominal fat. Critical changes (p-value<005) in vital sign were also observed such as pulse or heart rate. The physical fitness test including 60 seconds chair stand, sit and reach, and 3 minutes step test were all statistically different (p-value<0.05) between before and after the test. Furthermore, the evaluation and monitoring program were conducted with 530 people following Chi-Square test. The result from such test indicated significant level of 0.00 which is obviously lower than 0.05. The analysis involved body mass index (BMI) and metabolic equivalent (MET) related significantly (p-value<0.05). It could be concluded there was an increasing rate of obese people in Bangkok as well as a decreasing number of body mass index which were mainly a consequence of decrease in physical activities. It is obvious that people in Bangkok were getting more obese. Such situation was risky for non-communicable diseases such as diabetes mellitus, hypertension, and cholesterolemia. Therefore, it is essential to campaign the distribution of knowledge and intervention of metabolic syndrome and its complications as soon as possible in order to increase awareness among youth and people. Importantly, community involvement should be taken into serious account for the sustainability.en_EN
dc.identifier.callnoWD210 ส857ก 2561
dc.identifier.contactno59-021
.custom.citationสุรัตน์ โคมินทร์. "การพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาภาวะอ้วนลงพุงและภาวะแทรกซ้อนของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร ปีที่ 2." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4931">http://hdl.handle.net/11228/4931</a>.
.custom.total_download195
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year8

Fulltext
Icon
Name: hs2442.pdf
Size: 10.34Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record