dc.contributor.author | ขวัญชนก ยิ้มแต้ | th_TH |
dc.contributor.author | Kwanchanok Yimtae | en_US |
dc.contributor.author | พนิดา ธนาวิรัตนานิจ | th_TH |
dc.contributor.author | Panida Thanawirattananit | en_US |
dc.contributor.author | พรเทพ เกษมศิริ | th_TH |
dc.contributor.author | Pornthep Kasemsiri | en_US |
dc.contributor.author | ภาธร ภิรมย์ไชย | th_TH |
dc.contributor.author | Patorn Piromchai | en_US |
dc.contributor.author | ภีม เอี่ยมประไพ | th_TH |
dc.contributor.author | Pheem Leomprapai | en_US |
dc.contributor.author | สาธิต ก้านทอง | th_TH |
dc.contributor.author | Sathit Kanthong | en_US |
dc.contributor.author | ชฎาธาร เหลืองสว่าง | th_TH |
dc.contributor.author | Chadarthan Luangsawang | en_US |
dc.date.accessioned | 2018-11-23T03:37:59Z | |
dc.date.available | 2018-11-23T03:37:59Z | |
dc.date.issued | 2561-09 | |
dc.identifier.other | hs2444 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4958 | |
dc.description.abstract | ความพิการทางการได้ยินเป็นปัญหาที่มีพบบ่อยโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ สำหรับประเทศไทยพบว่าสัดส่วนประชากรมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกปี ปัญหาการเข้าถึงบริการตรวจประเมินความพิการและฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์สำหรับผู้พิการทางการได้ยินนั้นเป็นปัญหาในระดับประเทศ เนื่องจากขั้นตอนการตรวจการได้ยิน การรับอุปกรณ์ช่วย เช่น เครื่องช่วยฟัง จำเป็นต้องได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีใบประกอบโรคศิลปะ คือ นักแก้ไขการได้ยินหรือเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ทำงานภายใต้การควบคุมของแพทย์หู คอ จมูก ซึ่งขาดแคลนอย่างหนักและมีการกระจายตัวของนักแก้ไขการได้ยินไม่เหมาะสม ในขณะที่กำลังการผลิตบุคลากรนักแก้ไขการได้ยินของประเทศอยู่ในอัตราการเพิ่ม 10-20 คนต่อปี สถานการณ์การเข้าถึงบริการตรวจวินิจฉัยและฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินจะเข้าขั้นวิกฤตมากขึ้น การพัฒนาเครือข่ายและรูปแบบการค้นหาผู้พิการและการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยินในชุมชนเป็นแนวทางที่แนะนำในประเทศที่มีทรัพยากรบุคคลจำกัด โดยมีหลักการกระจายงานที่ไม่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะของวิชาชีพให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขและผู้ช่วยบุคลากรทางการแพทย์และความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญจากนอกพื้นที่มาให้บริการเสริมในหน่วยงานที่มีจำนวนจำกัด ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการค้นหาผู้พิการทางการได้ยินในโครงการนี้ใช้การคัดกรองสองขั้นตอนโดยใช้แบบสอบถามการได้ยินห้านาทีฉบับภาษาไทยเป็นขั้นตอนแรกของการค้นหาผู้สูงอายุที่มีความพิการทางการได้ยินและเมื่อผลการคัดกรองการได้ยินด้วยแบบสอบถามมีค่าคะแนนมากกว่า 12 ขึ้นไป จะต้องทำการตรวจวินิจฉัยด้วยการตรวจการได้ยินด้วยเครื่องตรวจการได้ยินแบบไฟฟ้า ซึ่งวิธีการนี้พบว่ามีประสิทธิภาพและความคุ้มค่า สามารถลดจำนวนผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องได้รับการตรวจการได้ยินโดยนักแก้ไขการได้ยินลงได้จากจำนวน 9,698 รายเหลือเพียง 4,317 รายหรือประมาณครึ่งหนึ่ง พบผู้สูงอายุที่มีความพิการทางการได้ยินจำนวน 2,175 คน ผู้สูงอายุที่รับเครื่องช่วยฟังเพียงหนึ่งในสี่ของผู้สูงอายุที่มีความพิการทางการได้ยิน ผู้สูงอายุที่ใช้เครื่องช่วยฟังมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นหลังใส่เครื่องช่วยฟัง ไม่ว่าจะเป็นการประเมินจาก IOI-HA หรือ HUI-3 อารมณ์ดีขึ้น การสื่อสารดีขึ้น ผลกระทบของปัญหาการได้ยินต่อการใช้ชีวิตลดลง ผู้สูงอายุประเมินว่าเครื่องช่วยฟังคุ้มค่าแม้ว่าเขาจะไม่ต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อก็ตาม ขั้นตอนการประเมินเครื่องและเลือกเครื่องช่วยฟังเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการคงอยู่ของการใช้เครื่องช่วยฟังอย่างสม่ำเสมอ ผู้สูงอายุในโครงการนี้ใช้เครื่องช่วยฟังมากกว่าวันละ 4 ชั่วโมง ทำให้จำนวนผู้สูงอายุที่มีความพิการทางการได้ยินและต้องการการดูแลเฉพาะด้านลดลง ระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการทางการได้ยินของทั้งประเทศจะมีประสิทธิภาพขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการขยายตลาดเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเครื่องช่วยฟังที่ผลิตขึ้นในประเทศต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การได้ยิน | th_TH |
dc.subject | การได้ยินผิดปกติ | th_TH |
dc.subject | การฟื้นฟูสมรรถภาพ | th_TH |
dc.subject | Rehabilitation | en_US |
dc.subject | ภาวะการสูญเสียการได้ยิน | th_TH |
dc.subject | Hearing Loss | en_US |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | การพัฒนาเครือข่ายและรูปแบบค้นหาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการทางการได้ยินในชุมชนต่อเนื่องระยะยาว | th_TH |
dc.title.alternative | Developing of Network and Model in Community Screening, Rehabilitation, and Long-Term Care for Hearing Disabled Elders | en_US |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.identifier.callno | HV2391 ข261ก 2561 | |
dc.identifier.contactno | 58-065 | |
.custom.citation | ขวัญชนก ยิ้มแต้, Kwanchanok Yimtae, พนิดา ธนาวิรัตนานิจ, Panida Thanawirattananit, พรเทพ เกษมศิริ, Pornthep Kasemsiri, ภาธร ภิรมย์ไชย, Patorn Piromchai, ภีม เอี่ยมประไพ, Pheem Leomprapai, สาธิต ก้านทอง, Sathit Kanthong, ชฎาธาร เหลืองสว่าง and Chadarthan Luangsawang. "การพัฒนาเครือข่ายและรูปแบบค้นหาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการทางการได้ยินในชุมชนต่อเนื่องระยะยาว." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4958">http://hdl.handle.net/11228/4958</a>. | |
.custom.total_download | 94 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 2 | |
.custom.downloaded_this_year | 9 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 | |