dc.contributor.author | อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว | th_TH |
dc.contributor.author | Udomsak Saengow | en_US |
dc.contributor.author | ธารินทร์ เพ็ญวรรณ | th_TH |
dc.contributor.author | Tharin Phenwan | en_US |
dc.contributor.author | ธนัย เกตวงกต | th_TH |
dc.contributor.author | อภิญญา เลาหประภานนท์ | th_TH |
dc.contributor.author | Apinya Laohaprapanon | en_US |
dc.contributor.author | รัตติยา อักษรทอง | th_TH |
dc.contributor.author | Ruttiya Asksonthong | en_US |
dc.contributor.author | Tanai Ketwongkot | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-01-03T02:59:01Z | |
dc.date.available | 2019-01-03T02:59:01Z | |
dc.date.issued | 2561-09 | |
dc.identifier.other | hs2462 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5005 | |
dc.description.abstract | นโยบายทางด้านสุขภาพในประเทศไทย ได้ใช้แนวคิดในการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่นตามที่ระบุอยู่ใน พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 47 และ พ.ร.บ. กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น พ.ศ.2542 โดยเน้นส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้น จึงได้มีการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กองทุนฯ) โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2545 กองทุนฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุข โดยสนับสนุนและส่งเสริมให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขในพื้นที่ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการของประชาชน เน้นด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสภาพและการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก งานวิจัยชิ้นนี้ได้ดำเนินการวิจัยในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 11 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ในขั้นต้นจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิผลการดำเนินงานกองทุนจาก สปสช. เขต 11 ขั้นตอนต่อไป คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกโดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของสปสช. เขต 11 ที่มีหน้าที่ดูแลงานด้านกองทุนฯ จำนวน 4 คน หลังจากนั้นทีมวิจัยลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกคณะกรรมการกองทุนฯ จำนวน 10 พื้นที่ พื้นที่ละ 6 ราย คือ ตัวแทนกรรมการจาก อปท. ตัวแทนกรรมการจากภาคประชาชนและตัวแทนกรรมการจากหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่และตัวแทน 3 ฝ่ายดังกล่าวที่ไม่ได้เป็นกรรมการกองทุน รวมทั้งสิ้น 60 คน (สัมภาษณ์ได้จริง 57 คน) การเลือกพื้นที่ตัวอย่างได้สุ่มเลือกกองทุนฯ ในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบนชายฝั่งทะเลตะวันออก จำนวน 5 แห่ง และชายฝั่งทะเลตะวันตก จำนวน 5 แห่ง รวม 10 แห่ง ซึ่งใน 10 แห่งนี้ เป็นกองทุนที่มีการดำเนินงาน performance ดี 5 แห่ง และ performance ไม่ดี 5 แห่ง และมีการเก็บข้อมูลเชิงสำรวจจากประชาชนในพื้นที่ที่ถูกสุ่มเป็นพื้นที่ตัวอย่างพื้นที่ละ 35 คน รวม 10 พื้นที่ ได้กลุ่มตัวอย่างสำหรับการเก็บข้อมูลเชิงสำรวจ ทั้งสิ้น 350 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มจากทะเบียนราษฎร์ รายชื่อประชากรที่อายุ 18 ปีขึ้นไป ที่ไม่ได้ทำงานให้กับ อปท. หน่วยงานฝ่ายปกครองในพื้นที่ หรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ หลังมีการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นแล้วทีมวิจัยได้จัดประชุมคืนผลการวิจัยขั้นต้นให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2561 มีการนำเสนอผลการวิจัยเบื้องต้นให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งจาก สปสช. ภาคประชาชน อปท. หน่วยงานสาธารณสุขและสวรส. ซึ่งมีการนำเสนอผลการวิจัยและเปิดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เชิญเข้าร่วมการประชุมให้ความเห็นเพิ่มเติม ซึ่งได้ให้ข้อมูลที่เป็นผลการวิจัยเพิ่มเติมและข้อเสนอแนะในแง่มุมต่างๆ ซึ่งส่วนหนึ่งถูกนำมารวบรวมและสังเคราะห์เป็นข้อเสนอแนะของงานวิจัยชิ้นนี้ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Services System | th_TH |
dc.subject | Universal Health Coverage | th_TH |
dc.subject | หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ | th_TH |
dc.subject | Universal Health Coverage | th_TH |
dc.subject | หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า | th_TH |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Public health administration | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การประเมินนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น เขตสุขภาพที่ 11 เพื่อสนับสนุนการดำเนินนโยบายในระยะถัดไป | th_TH |
dc.title.alternative | Assessment of community health fund, Public Health Region 11, to support the next phase of policy making | en_US |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The implementation of decentralization concept under Thai health policy follows the National Health Security Act B.E. 2545 (2002) and Determining Plans and Process of Decentralization to Local Government Organization Act, B.E.2542 (1999). Community health funds (CHF) have been set up by National Health Security Office (NHSO), Ministry of Public Health, and Department of Local Administration, Ministry of Interior at the subdistrict level, emphasizing on participatory process. CHF primarily aims to support health-related activities done by communities and organizations based on community demand and readiness. CHF can be used for health promotion, prevention, rehabilitation, and proactive primary healthcare. This study was a mixed-methods study conducted in the Public Health Region 11 (upper southern Thailand). First, tertiary data from NHSO region 11 was analyzed to provide an overview of the regional situation. Afterwards, interviews were conducted; interviewees included NHSO region 11 personnel and subjects from 10 subdistricts (6 subjects for each subdistricts: 3 CHF committee and 3 non-CHF committee). We were able to complete 57 of 60 planned interviews from the subdistricts. Among 10 subdistricts, 5 were selected from the eastern coast; other 5 were selected from the western coast with mixing between good and bad performance CHF of those subdistricts. Two subjects from a provincial state audit office were also interviewed. Moreover, a population survey was conducted in those 10 subdistricts. The sample size was 350 (35 subjects from each subdistrict). Subjects were residents of each subdistrict aged 18 years and above who did not work with SAO or public health centers/hospitals. Preliminary results were presented to stakeholders including NHSO, SAO, community members, public health officers, and HSRI on 28th June 2018. Discussion during the presentation were recorded, analyzed, and included in the final report. | en_US |
dc.identifier.callno | WA540.JT3 อ786ก 2561 | |
dc.identifier.contactno | 60-085 | |
.custom.citation | อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว, Udomsak Saengow, ธารินทร์ เพ็ญวรรณ, Tharin Phenwan, ธนัย เกตวงกต, อภิญญา เลาหประภานนท์, Apinya Laohaprapanon, รัตติยา อักษรทอง, Ruttiya Asksonthong and Tanai Ketwongkot. "การประเมินนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น เขตสุขภาพที่ 11 เพื่อสนับสนุนการดำเนินนโยบายในระยะถัดไป." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5005">http://hdl.handle.net/11228/5005</a>. | |
.custom.total_download | 228 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 2 | |
.custom.downloaded_this_year | 28 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 3 | |