Show simple item record

The long-term management process of caregivers caring for stroke survivors in Muang district, Yala province

dc.contributor.authorจิตตินันท์ พงสุวรรณth_TH
dc.contributor.authorChittinan Pongsuwanen_US
dc.contributor.authorพิชญ์ชญานิษฐ์ เรืองเริงกุลฤทธิ์th_TH
dc.contributor.authorPichayanit Ruangroengkulriten_US
dc.contributor.authorกาญจน์สุนภัส บาลทิพย์th_TH
dc.contributor.authorKarnsunaphat Balthipen_US
dc.coverage.spatialยะลาth_TH
dc.date.accessioned2019-01-28T03:27:25Z
dc.date.available2019-01-28T03:27:25Z
dc.date.issued2562-01
dc.identifier.otherhs2465
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5014
dc.description.abstractการวิจัยแบบวิธีวิทยาการสร้างทฤษฎีฐานรากแบบสเตราส์ (Straussian grounded theory approach) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการบริหารจัดการเพื่อการดูแลผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดในระยะยาวของผู้ดูแล จากกลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์การดูแลผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองอย่างน้อยวันละ 4 ชั่วโมง เป็นระยะเวลาที่ต่อเนื่องตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป และอาศัยอยู่ในเขตตำบลสะเตงนอกหรือเขตเทศบาลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จำนวน 15 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดย การสัมภาษณ์เชิงลึกพร้อมบันทึกเทป ร่วมกับการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการบันทึกภาคสนาม เพื่อให้เกิดการตรวจสอบแบบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล (methodological triangulation) ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการกำหนดรหัส (coding analysis) พบหมวดข้อมูล(category) วิธีการเผชิญกับสถานการณ์ความเจ็บป่วยและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย ตนเองและครอบครัวของกลุ่มตัวอย่างใน 3 ระยะ ดังนี้ ระยะแรก คือ หมวดข้อมูล ทุ่มเทดูแลรักษา ซึ่งมีแนวคิด หวังว่าผู้ป่วยจะหาย/ดูแลตนเองได้บ้าง เป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้ผู้ดูแลพยายามดูแลผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองได้น้อย/ไม่ได้ ให้ฟื้นหาย/มีอาการดีขึ้น เพื่อเร่งจำกัดผลกระทบต่างๆ พยายามบริหารจัดการเพื่อให้ตนรู้สึกผ่อนคลายจากความเครียด มีพลังพร้อมที่จะอยู่ดูแลผู้ป่วยต่อไปได้ ระยะต่อมา คือ หมวดข้อมูล หาวิธีป้องกันอย่าให้ทรุด ซึ่งมีแนวคิด กลัวเกิดอาการแทรกซ้อน เป็นปัจจัยสำคัญในการจูงใจให้ผู้ดูแลพยายามช่วยเหลือผู้ป่วยที่อาการทรงๆ ทรุดๆ โอกาสหายเป็นปกติไม่มี ให้ฟื้นฟูสภาพตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทรงอาการที่ดีขึ้นแล้วไว้ในระดับนั้นๆ ให้นานที่สุด พยายามบริหารจัดการเพื่อให้ตนมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่เครียดหรือหดหู่กับสภาพความเป็นอยู่ที่ต้องเผชิญมากนักและเริ่มดูแลตนเองบ้าง เพื่อเพิ่มพลังให้ตนสามารถอยู่ดูแลผู้ป่วยต่อไปให้ได้และระยะสุดท้าย คือ หมวดข้อมูล หยุดแสวงหาการรักษา ดูแลอย่าให้ทุกข์ทรมาน ซึ่งมีแนวคิด ตั้งใจดูแลจนวาระสุดท้าย เป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมให้ผู้ดูแลพยายามดูแลรักษาผู้ป่วยที่หมดหวัง หมดหนทางรักษา ตามสภาพอาการ ให้เกิดความสุขสบายเท่าที่ตนจะทำได้ พยายามบริหารจัดการเพื่อให้ตนได้ดูแลตนเองมากขึ้น มีสุขภาพที่ดี ครอบครัวดำเนินต่อไปได้โดยไม่ลำบากมากนัก ตลอดระยะเวลาการดูแล แม้ว่าผู้ดูแลและครอบครัว ต้องประสบกับผลลัพธ์ที่ไม่พึงปรารถนาหลากหลายประการ แต่ด้วยพื้นฐานความเข้มแข็ง ความอดทนและความตั้งใจที่ต้องการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่ในระยะเริ่มป่วยจนวาระสุดท้าย ทำให้ผู้ดูแล ไม่ทอดทิ้งผู้ป่วยและสามารถบริหารจัดการเพื่อการดูแลผู้ป่วย ตนเองและครอบครัว ได้ตามกระบวนการ ปรับการดูแลรักษาตามสภาพผู้ป่วย การศึกษาครั้งนี้ ได้ข้อค้นพบสำคัญ คือ ความเข้มแข็ง ความอดทนและความตั้งใจในการดูแลอย่างมาก สามารถส่งเสริมให้ผู้ดูแลพัฒนาวิธีการเผชิญปัญหาที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ โดยการค่อยๆ สร้างสมดุลใน “ชีวิตใหม่” และครอบครัวให้กลับมาทีละน้อย มีระดับของการปรับตัวได้เพื่อการดูแลผู้ป่วย ตนเองและครอบครัว ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สอดคล้องกับสภาพผู้ป่วยที่ตนต้องดูแลและผลกระทบที่ตนเองและครอบครัวต้องเผชิญ จนสามารถมีชีวิตปกติได้ภายใต้ภาระที่ต้องรับผิดชอบและข้อจำกัดจากการได้รับความช่วยเหลือ/การสนับสนุนที่ไม่เพียงพอและไม่ต่อเนื่องที่มี ผลการศึกษาครั้งนี้ จึงให้แนวทางการบริหารจัดการเพื่อการดูแลผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ดูแลและครอบครัว ที่สอดคล้องกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละระยะอย่างต่อเนื่อง ตลอดการเจ็บป่วยของผู้ป่วยth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectโรคหลอดเลือดสมองth_TH
dc.subjectStrokeen_US
dc.subjectCaregiversen_US
dc.subjectLong-Term Careen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Services Systemth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleกระบวนการบริหารจัดการเพื่อการดูแลผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองในระยะยาวของผู้ดูแล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลาth_TH
dc.title.alternativeThe long-term management process of caregivers caring for stroke survivors in Muang district, Yala provinceen_US
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study applied a Straussian grounded theory to explore the perspectives of caregivers on how they accomplished their long-term management in the process of caring for stroke survivors. Fifteen samples were recruited from the caregivers who had spent at least four hours per day on caring their patients for six months or more, and lived in Satengnok sub-district or Muang municipality, Muang district, Yala province. Data were gathered by using in-depth audio taped interviews, as well as observations, and field notes that enabled concurrent data validation with methodological triangulation. Following coded analysis of the data, the findings showed that the caregivers dealt with stroke and its negative consequences that influenced their patients, themselves, and their families in three stages that were represented by three categories. The first category related to the issue of dedicating care and cure where anticipating that the patient might make a full recovery/could be able to do some daily living activities was a significant condition that motivated the participants’ caring practices. They firstly assisted the patients who could not take/nearly could not take care of themselves to recover in order to limit undesirable effects that affected them and their families, and coupled this with managing their stress, leading to further developments in their caring. The second category, namely preventing deteriorating condition(s) where being concerned about developing complications was identified as the most powerful influence that reinforced the caregivers’care. They attempted to assist the survivors with fluctuating symptoms to continuously maintain their rehabilitation, in order to maintain some degree of recovery as long as possible. They also tried to cope with stresses and strains from the situations they encountered, including beginning to take care of themselves, to regain their power and effort to keep their care going. The final category, labelled as not seeking any treatments but keeping the survivors away from suffering where intending to provide care until the last minute came out as a challenging condition that encouraged the caregivers to sustain their care for their patients although their cure was hopeless. They attempted to make their patients as comfortable as they were able. Also, the participants tried to keep themselves healthier, and maintain their families without more difficulties. Nevertheless, throughout the care period, the caregivers and their families encountered a number of difficulties that challenged their own strength, endurance, and care intentions that they needed to care for their patients from the beginning of the illness to the end; however, they did not give up caring. This led them to reach the process of modifying care and cure based on the patients’ conditions, which emerged as the core category.The noteworthy findings are that the strength, endurance, and full care intention of caregivers encouraged them to develop more likely effective strategies to cope with their dramatically changed lives following the stroke and that would not return to a pre-stroke situation. This required establishing a balance in their “new lives” and in their families. They sought normality in a new way of living little by little, before making an advance to a certain degree that corresponded to the survivors’ conditions and the negative consequences they and their families encountered. Finally, they could still have normal lives of their own depending on their responsibility to sustain the long-term caregiving and probability of other support. The findings could be applied to guide nursing administrators and nursing practitioners about how to manage the provision of corresponding long-term care for stroke survivors, caregivers, and their families when their needs change over time throughout the stroke trajectory.en_US
dc.identifier.callnoWL355 จ423ก 2562
dc.identifier.contactno60-013
.custom.citationจิตตินันท์ พงสุวรรณ, Chittinan Pongsuwan, พิชญ์ชญานิษฐ์ เรืองเริงกุลฤทธิ์, Pichayanit Ruangroengkulrit, กาญจน์สุนภัส บาลทิพย์ and Karnsunaphat Balthip. "กระบวนการบริหารจัดการเพื่อการดูแลผู้รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองในระยะยาวของผู้ดูแล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5014">http://hdl.handle.net/11228/5014</a>.
.custom.total_download238
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year10

Fulltext
Icon
Name: hs2465.pdf
Size: 2.457Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record