แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การวิเคราะห์ต้นทุน ประสิทธิผลของระบบการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มเสี่ยงในสถานบริการระดับปฐมภูมิ เปรียบเทียบกับระบบบริการปกติ

dc.contributor.authorจุฑามณี ดุษฎีประเสริฐth_TH
dc.contributor.authorJutamanee Dudsadeepraserten_EN
dc.contributor.authorขนิษฐา สุนาคราชth_TH
dc.contributor.authorKanitha Sunakarachen_EN
dc.contributor.authorปราณีต ชุ่มพุทราth_TH
dc.contributor.authorPraneat Chumputraen_EN
dc.contributor.authorญาดา ธงธรรมรัตน์th_TH
dc.contributor.authorYada Thongthamaraten_EN
dc.contributor.authorจำเนียร สุรวรางกูรth_TH
dc.contributor.authorJamnian Suravarangkulen_EN
dc.contributor.authorขนิษฐา ชุ่มสุขth_TH
dc.contributor.authorKhanista Chumsuken_EN
dc.contributor.authorสุกัญญา ป้อมทะเลth_TH
dc.contributor.authorSukunya Pomthaleen_EN
dc.contributor.authorภาคภูมิ คนรู้th_TH
dc.contributor.authorPhakphum Konruth_TH
dc.date.accessioned2019-01-29T06:28:30Z
dc.date.available2019-01-29T06:28:30Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.otherhs2467
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5016
dc.description.abstractผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลต่อเนื่อง เพื่อลดการกำเริบและความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงและส่งผลให้ต้องถูกรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาล โครงการบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือและดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ให้ได้รับการดูแลอย่างครบถ้วน งานวิจัยนี้เปรียบเทียบต้นทุน-ประสิทธิผลของระบบการดูแลต่อเนื่องร่วมกับระบบเฝ้าระวังอาการทางจิตกำเริบของผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มเสี่ยงในสถานบริการระดับปฐมภูมิต่อผลลัพธ์การถูกรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาลเปรียบเทียบกับระบบบริการปกติ โดยวิเคราะห์ในมุมมองผู้ให้บริการ วิธีการศึกษาใช้แบบจำลองการตัดสินใจเปรียบเทียบระบบการดูแลต่อเนื่องร่วมกับระบบเฝ้าระวังอาการทางจิตกำเริบ (เยี่ยมบ้านทุก 1 เดือนและเฝ้าระวังทุกสัปดาห์) กับระบบบริการปกติ ข้อมูลที่ใช้ในแบบจำลองได้จากการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับระบบการดูแลต่อเนื่องร่วมกับระบบเฝ้าระวังอาการทางจิตกำเริบจำนวน 72 คน และกลุ่มที่ได้รับระบบบริการปกติ จำนวน 90 คน ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลต่อเนื่องร่วมกับระบบเฝ้าระวังอาการทางจิตกำเริบมีอุบัติการณ์ถูกรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยอาการทางจิต 7.04 ซึ่งสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับบริการปกติ 5.56 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ p = 0.750 อัตราส่วนต้นทุนส่วนเพิ่มของระบบการดูแลต่อเนื่องร่วมกับระบบเฝ้าระวังต่อผลลัพธ์การถูกรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาลเท่ากับ 30,716 บาท การแยกวิเคราะห์กลุ่มย่อยพบว่าผู้ป่วยที่มีเกณฑ์ความเสี่ยง 1 ข้อ ได้แก่ การรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ, การใช้สุรา, การใช้สารเสพติด ที่ได้ระบบการดูแลต่อเนื่องร่วมกับระบบเฝ้าระวังที่ได้รับการดูแลต่อเนื่อง จำนวน 13 คน จะเกิดประสิทธิผลการป้องกันการถูกรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยอาการทางจิตกำเริบได้ 1 คน เมื่อทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนความสามารถทั่วไป ค่าคะแนนเฉลี่ยภาระในการดูแล ค่าคะแนนสุขภาวะทางจิตของญาติในเดือนที่ 6 ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p >0.005 สรุป : ระบบการดูแลต่อเนื่องร่วมกับระบบเฝ้าระวังอาการทางจิตกำเริบ (เยี่ยมบ้านทุก 1 เดือนและเฝ้าระวังทุกสัปดาห์) กับระบบบริการปกติ ให้ผลลัพธ์ด้านการถูกรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยอาการทางจิตกำเริบไม่แตกต่างกัน ระบบการดูแลต่อเนื่องร่วมกับระบบเฝ้าระวังอาการทางจิตกำเริบ มีอัตราส่วนต้นทุนส่วนเพิ่มต่ออัตราการถูกรับไว้รักษาตัวในรพ.ด้วยอาการทางจิตกำเริบเท่ากับ 30,716 บาทth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectUnit Costth_TH
dc.subjectการวิเคราะห์ต้นทุนth_TH
dc.subjectบริการทางการแพทย์--การวิเคราะห์ต้นทุนth_TH
dc.subjectผู้ป่วยจิตเวชth_TH
dc.subjectเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Economicen_EN
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.titleการวิเคราะห์ต้นทุน ประสิทธิผลของระบบการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มเสี่ยงในสถานบริการระดับปฐมภูมิ เปรียบเทียบกับระบบบริการปกติth_TH
dc.title.alternativeCost Effectiveness Analysis of Continuity of Care System in High Risk Mental Illness patients at Primary Care Setting Versus Routine Service Systemen_EN
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground: The mental illness high risk to violence patients need to have a continuum well care. Since these patients have tendency of psychiatric relapse and mental health risks. Therefore, the continuity of care system in mental illness patients project was created to help and care for them. Objective: To compare the cost and effectiveness by using cost-effectiveness analysis between continuity of care system (home health care service every 1 month) in severe mental illness high risk to violence patients at primary care setting versus routine service system in provider perspective. Methods: Data was derived from randomized controlled trial study between 1 January, 2016, to 30 June, 2016. The patients who been diagnosed as F200 to F299 and had at least 1 or more criteria of severe mental illness high risk to violence were recruited to the research. Result: There were 72 patients for continuity of care system and 90 patients for routine service system. Patients in continuity of care system had higher re-hospitalize incident rate (7.04) than patients in routine service system (5.56) with no significant at p .750. The incremental cost for continuity of care system was 30,716 Baht. The risk factor in this patient were a discontinuous medicine, alcohol or substance abuse. Number needed to treat (NNT) of re-hospitalization was 13. There were no statistical difference of mean of global assessment scale , disease burden scale and psychological scale at the 6th.month between continuity of care system and routine service system. Conclusions: This study showed that the continuity of care system can’t reduce re- hospitalization rate in severe mental illness psychiatric patients. The incremental cost for the continuity of care system to re-hospitalization rate was 30,716 Bath.en_EN
dc.identifier.callnoW74 จ627ก 2561
dc.identifier.contactno61-017
.custom.citationจุฑามณี ดุษฎีประเสริฐ, Jutamanee Dudsadeeprasert, ขนิษฐา สุนาคราช, Kanitha Sunakarach, ปราณีต ชุ่มพุทรา, Praneat Chumputra, ญาดา ธงธรรมรัตน์, Yada Thongthamarat, จำเนียร สุรวรางกูร, Jamnian Suravarangkul, ขนิษฐา ชุ่มสุข, Khanista Chumsuk, สุกัญญา ป้อมทะเล, Sukunya Pomthale, ภาคภูมิ คนรู้ and Phakphum Konru. "การวิเคราะห์ต้นทุน ประสิทธิผลของระบบการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มเสี่ยงในสถานบริการระดับปฐมภูมิ เปรียบเทียบกับระบบบริการปกติ." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5016">http://hdl.handle.net/11228/5016</a>.
.custom.total_download200
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year38
.custom.downloaded_fiscal_year12

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2467.pdf
ขนาด: 1.301Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย