dc.contributor.author | วิสาขา ภู่จินดา | th_TH |
dc.contributor.author | Wisakha Phoochinda | en_EN |
dc.contributor.author | ศิริวิมล สายเวช | th_TH |
dc.contributor.author | Sirivimon Saywech | en_EN |
dc.contributor.author | วลัลนา วัฒนาเหมกร | th_TH |
dc.contributor.author | Walanna Wattanahemmakorn | en_EN |
dc.contributor.author | สิริสุดา หนูทิมทอง | th_TH |
dc.contributor.author | Sirisuda Nootimthong | en_EN |
dc.date.accessioned | 2019-04-23T04:56:27Z | |
dc.date.available | 2019-04-23T04:56:27Z | |
dc.date.issued | 2562-03 | |
dc.identifier.isbn | 9786164855458 | |
dc.identifier.other | hs2484 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5048 | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้านการจัดการขยะชุมชนของผู้สูงอายุ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะชุมชน เสนอแนวทางการพัฒนาการเรียนรู้และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในพื้นที่ชนบทภาคกลางของประเทศไทยและสร้างกลไกความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อการขับเคลื่อนการจัดการขยะให้เอื้อประโยชน์และเหมาะสมต่อการเรียนรู้และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะชุมชน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Research) ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ประกอบกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ชนบทภาคกลาง 19 จังหวัด จำนวน 291 ตัวอย่าง โดยการสุ่มแบบเป็นระบบเพื่อทราบถึงแนวนโยบาย กิจกรรม โครงการ ศักยภาพการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนและการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ จากนั้นทำการคัดเลือกชุมชนที่มีศักยภาพในการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะและการดำเนินการด้านการดูแลผู้สูงอายุควบคู่กันไป จำนวน 6 จังหวัด 6 ชุมชนเพื่อทำการประชุมสนทนากลุ่ม สร้างความเข้าใจในการจัดการขยะ ความต้องการด้านต่างๆ ในการสร้างอาชีพ จากการจัดการขยะกับผู้สูงอายุ จำนวนไม่น้อยกว่า 30 คน ต่อชุมชน ผู้นำชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการจัดการขยะชุมชนและผลิตผลิตภัณฑ์จากขยะชุมชน รวมทั้งสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกับชุมชนอื่นๆ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ทำการถอดบทเรียนและประเมินผลการพัฒนาการเรียนรู้และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะชุมชนและการส่งเสริมอาชีพโดยผลิตผลิตภัณฑ์จากขยะชุมชน ต่อจากนั้นจัดทำคู่มือ ผู้สูงอายุแปรรูปขยะชุมชนสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อนำไปเผยแพร่สู่ชุมชนอื่นๆ และเครือข่าย ทำการทดสอบข้อมูลที่จัดทำขึ้นกับชุมชนชนบท 2 ชุมชน 2 จังหวัด โดยการทำกิจกรรมการจัดการขยะชุมชนและผลิตผลิตภัณฑ์จากขยะชุมชน โดยอิงความรู้จากคู่มือที่จัดทำ หลังจากนั้นอีก 90 วัน คณะผู้วิจัยได้ไปติดตามประเมินผลความยั่งยืนของการจัดการขยะชุมชนและการผลิตผลิตภัณฑ์จากขยะชุมชน เพื่อสร้างกลไกความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อการขับเคลื่อนการจัดการขยะให้เอื้อประโยชน์และเหมาะสมต่อการเรียนรู้และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะชุมชน ผลการศึกษาพบว่าการดำเนินงานของกลุ่มตัวอย่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีผู้ปฏิบัติงานที่เพียงพอ มีความรู้ความสามารถกับการปฏิบัติงาน มีเครื่องมืออุปกรณ์และสถานที่เพียงพอ มีงบประมาณเพียงพอในการปฏิบัติ ในการพัฒนาความรู้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการจัดการขยะ มีการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีและแผนงานด้านการพัฒนาความรู้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการจัดการขยะชุมชน ซึ่งผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการขยะชุมชน จากการลงพื้นที่ประชุมเชิงปฏิบัติการ เมื่อผู้สูงอายุได้รับการถ่ายทอดความรู้ด้านการจัดการขยะจากการฝึกอบรม ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะและมีความตระหนักถึงปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน สามารถนำไปปฏิบัติได้ พร้อมทั้งสามารถนำความรู้และประสบการณ์การคัดแยกขยะ ไปเผยแพร่ให้กับลูกหลานและเพื่อนบ้านได้ ผู้สูงอายุยังมีความสนใจในการสร้างอาชีพจากการนำขยะมาสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย ผู้สูงอายุสามารถนำความรู้กระบวนการการรีไซเคิลขยะมาออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือสร้างขยะให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อจัดการปัญหาขยะในชุมชน ทำให้ผู้สูงอายุมีงานอดิเรก มีรายได้ มีความภาคภูมิใจในตนเองและชุมชนที่น่าอยู่ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ขยะ--การจัดการ | th_TH |
dc.subject | Waste Management | th_TH |
dc.subject | Elderly | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.subject | ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) | th_TH |
dc.title | แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในพื้นที่ชนบทภาคกลางของประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Guidelines for Knowledge Development and Increased Efficiency of Community Waste Management by Participation of elderly in urban of Central park of Thailand | en_EN |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This study aimed to develop learning of the elderly’s community waste management, enhance efficiency of community waste management, recommend the guideline to develop learning and increase efficiency of community waste management through the participation of the elderly in the rural central plains of Thailand and create cooperation mechanism of relevant agencies to drive waste management towards accommodation of appropriate learning and increased efficiency of community waste management. It was a mixed research including quantitative and qualitative research, as well as Participatory Action Research (PAR). The data was collected from 291 sample of 19 local administrative organizations in the rural central plains by systematic sampling. The random system was used to acquire policies, activities, projects, potential of community waste management, and participation of the elderly. Afterwards, selection was conducted for the community with potential to develop participation in waste management in parallel with care for the elderly in six provinces in six communities to organize focus group discussions; foster understanding of waste management; tend to various needs to create occupation of waste management with the elderly, with no fewer than 30 people per community; community leaders and relevant personnel of local administrative organizations. Creative activities of community waste management and products made from community waste were set up in addition, enhanc learning network with other communities through participatory action research, lessons learned, and performance assessment of the development of learning and increased efficiency in community waste management; promote occupation by making products out of community waste; prepare the handbook on the elderly’s community waste processing towards value-added creation for dissemination to other communities and network were undertaken. Test information prepared from two rural communities in two provinces, were conducted by doing activities of community waste management and making products from community waste, and by referring to the knowledge from the prepared handbook. Then 90 days later, the research team followed up on the sustainable assessment of community waste management and production of products from community waste to create cooperation mechanism of relevant agencies to drive waste management towards accommodation of appropriate learning and increased efficiency of community waste management. The study findings revealed that for the work on community waste management and care for the elderly of the sample of the local administrative organizations, there were enough personnel at the operating level; personnel had knowledge and ability to perform their work; sufficient equipment, tool, and locations; sufficient budget for operation; for the development of learning and promotion of the elderly’s participation in waste management, the annual operating plan and the plan on the development of learning and promotion of the elderly’s participation in waste community management were formulated where the elderly participated in the planning of community waste management. According to the workshops organized during the field trips, when the elderly learned about waste management from the trainings, they acquired knowledge and understanding of waste separation and recognized waste problems affecting the current environment. The elderly could implement the knowledge and disseminate knowledge and experience of waste separation to their children, grandchildren, and neighbors. The elderly were also interested in the occupation through production and sale of products from waste. They could apply the knowledge of waste recycling system to design and develop products or transform waste into new products to deal with community waste. Consequently, they had hobbies, income, pride in themselves, and attractive communities. | en_EN |
dc.identifier.callno | WA780 ว778น 2562 | |
dc.identifier.contactno | 61-009 | |
.custom.citation | วิสาขา ภู่จินดา, Wisakha Phoochinda, ศิริวิมล สายเวช, Sirivimon Saywech, วลัลนา วัฒนาเหมกร, Walanna Wattanahemmakorn, สิริสุดา หนูทิมทอง and Sirisuda Nootimthong. "แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในพื้นที่ชนบทภาคกลางของประเทศไทย." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5048">http://hdl.handle.net/11228/5048</a>. | |
.custom.total_download | 197 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 21 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 3 | |