Show simple item record

The mental health care, according to the Islamic way of terminally ill patients : Case Study Muslims Thailand patients in the three southern border provinces.

dc.contributor.authorฮามีดะห์ฮาสัน โต๊ะมะth_TH
dc.contributor.authorHamidahhasan Tohmaen_EN
dc.contributor.authorอาหมัด อัลฟารีตีย์th_TH
dc.contributor.authorArmad al-faritien_EN
dc.contributor.authorหนุ๊ มาสาระกามาth_TH
dc.contributor.authorNuh Masarakamaen_EN
dc.contributor.authorอับดุลรอหฺมาน มะโซะth_TH
dc.contributor.authorAbdunroman Masohen_EN
dc.contributor.authorLaongdau Shawoen_EN
dc.contributor.authorรูไวดา ราแดงth_TH
dc.contributor.authorRuwaida Radeangen_EN
dc.contributor.authorพรรณวดี อาแวนิth_TH
dc.contributor.authorPhannawadi Awaenien_EN
dc.contributor.authorละอองดาว แซ่วื่อth_TH
dc.date.accessioned2019-05-08T07:21:30Z
dc.date.available2019-05-08T07:21:30Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.otherhs2488
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5053
dc.description.abstractจากการศึกษาเรื่อง “กระบวนการดูแลสุขภาพจิตตามวิถีอิสลามของผู้ป่วยระยะสุดท้าย : ผู้ป่วยชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วยข้อมูลจากเอกสาร โดยทำการศึกษาจากอัลกุรอานและอัสสุนนะฮฺ ตลอดจนความเห็นของนักวิชาการมุสลิมที่ได้รับการยอมรับ ทั้งที่เป็นภาษาอาหรับ มลายู อังกฤษและไทย ส่วนภาคสนาม โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสนทนากลุ่ม ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างแบบเลือกสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) จำนวนทั้งหมด 39 คน คือ 1) ผู้ดูแลผู้ป่วย 30 คนจาก 3 จังหวัด 2) นักปราชญ์มุสลิม 6 คนจาก 3 จังหวัด 3) บุคลากรสาธารณสุข จำนวน 3 คนจาก 3 จังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. องค์ความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีการดูแลสุขภาพทั่วไปตามวิถีอิสลาม 2. รูปแบบการดูแลสุขภาพจิตตามวิถีอิสลามของผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3. เปรียบเทียบองค์ความรู้ตามวิถีอิสลามกับรูปแบบการปฏิบัติจริงของการดูแลสุขภาพจิตตามวิถีอิสลามของผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4. ผลิตคู่มือระบบการดูแลและรักษาสุขภาพจิตตามวิถีมุสลิมของผู้ป่วยในระยะสุดท้าย จากการศึกษาพบว่า 1) การเจ็บป่วย คือ สภาวะและความรู้สึกเจ็บปวดที่เกิดขึ้น ด้วยความประสงค์จากอัลลอฮฺที่ถูกลิขิตไว้แล้วโดยมาจากสาเหตุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นที่รับรู้หรือไม่รับรู้ก็ตาม ทุกโรคและการฟื้นนั้นล้วนเป็นการลิขิตของอัลลอฮฺทั้งสิ้น ส่วนการหายป่วยนั้นโดยปกติแล้วพระองค์จะทรงประทานผ่านสาเหตุหรือปัจจัยต่างๆ ที่สมเหตุสมผล ซึ่งการรักษาโรคนั้นมี 2 วิธี คือ ก) ด้านจิตใจ โดยการบำบัดด้วยการอ่านบทดุอาอฺต่างๆ ที่มะอฺษูรฺ และอ่านอายะฮฺอัลกุรอาน เสกเป่าและลูบทั่วร่างกาย เป็นต้น ข) ด้านวัตถุ โดยการบำบัดรักษาด้วยวิธีการป้องกันและควบคุมให้สอดคล้องกับธรรมชาติที่อัลลอฮฺทรงกำหนดผ่านกระบวนการบำบัดรักษาบนฐานของมูลเหตุและกฎระเบียบที่จำเพาะที่บ่าวสามารถรับรู้และศึกษาได้จากวงการแพทยศาสตร์ ส่วนยาที่ระบุไว้ในอัลกุรอานและอัลหะดีษ คือ 1) น้ำผึ้ง 2) น้ำซัมซัม 3) หับบะตุสเสาดาอฺ (ยี่หร่าดำ) และ 4) อินทผลัมอัจญ์วะฮฺหรือสายพันธุ์อื่นๆ อิสลาม ได้ห้ามมุสลิมมิให้รักษาด้วยสิ่งหะรอม เช่น หมู สุนัข สุราและสิ่งที่เป็นนะญิสหรือสกปกรกต่างๆ เป็นต้น เว้นแต่ในสภาวะที่จำเป็นและไม่มีทางเลือกเท่านั้นและห้ามรักษาด้วยสิ่งของประเภทตะกรุดและเครื่องรางของขลังหรืออะซีมัตที่ผูกตามคอ ข้อมือ หรือเอว เพราะสิ่งนี้ ถือเป็นการกระทำที่เป็นชิริกและเป็นบาปใหญ่ 2) ผู้ดูแลได้ปลอบใจและให้กำลังใจด้วยหลักการศาสนาและรำลึกถึงอัลลอฮอย่างสม่ำเสมอทุกเช้าและเย็นจะอ่านสูเราะฮฺอัลฟาติหะฮฺ 3 กุล และบทดูอาอฺ โดยการอ่าน เสกพร้อมเป่าลงบนฝ่ามือทั้งสองข้าง แล้วลูบลงบนตัวของผู้ป่วย โดยเฉพาะบริเวณที่มีอาการเจ็บปวด (จำนวน 3 ครั้ง) ผู้ป่วยมักจะอ่านและฟังเสียงอัลกุรอานหรืออัซการ์อันนะบะวีย์จากเทปหรือโทรศัพท์และหมั่นกล่าวตัสบีห์ ตะห์มีด ตักบีรฺและขออภัยโทษ เป็นต้น ทุกการงานที่ดีผู้ดูแลจะเริ่มด้วยการอ่านพระนามของอัลลอฮฺ พร้อมอ่านดูอาอฺ โดยใช้มือขวาอย่างสม่ำเสมอ นอกจากการล้างนะญิสหรือล้างอวัยวะเพศเท่านั้น เมื่อเสร็จสิ้นการงานจะกล่าวขอบคุณต่อพระองค์อย่างสม่ำเสมอเช่นกัน และผู้ดูแลมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยกล่าวชะฮะดะฮฺตลอดว่า “ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ” 3) รูปแบบการปฏิบัติจริงของผู้ดูแลผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอคือ ก) การปลอบใจและให้กำลังใจด้วยหลักศาสนาอิสลาม ข) การอ่านตัวบทอัลกุรอานและบทดูอา เสก เป่าและลูบตัวผู้ป่วย ค) การอ่านบทดูอาอฺให้ผู้ป่วยอ่านตาม การดูแลทางด้านการนอนและการปิดภาชนะอาหารให้มิดชิด และ ง) การดับไฟและปิดประตูหน้าต่างบ้านก่อนนอน ส่วนที่ปฏิบัติในบางเวลา คือ การเขียนตัวบทดูอาอฺติดใกล้เตียง ผู้ป่วยได้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ คือ ก) การกล่าวคำว่า “ลาอิลา ฮา อิลลัลลอฮฺ”ข) การอ่านบทอัลฟาติหะฮฺ และ 3 กุล ค) การอ่านพระนามของอัลลอฮในการกระทำทุกกิจการ ง) การอ่านบทดูอาอฺก่อนนอนและตื่น และการอดทน ส่วนสิ่งที่ผู้ป่วยได้ปฏิบัติบางเวลา คือ ก) การอ่านและฟังเสียงอัลกุรอานหรืออัซการ์อันนะบะวียะฮฺจากเทปหรือโทรศัพท์ ข) การกล่าวซิกรุลลอฮฺและอิสติฆฟัรฺในยามหัวรุ่งอรุณ ค) การปฏิบัติศาสนกิจละหมาดและการถือศิลอดในเดือนรอมฎอน ง) การบริจาคทานและการแต่งกายที่ปกปิดเอาเราะฮฺ จ) การรับประทานอาหารพอเพียง การอาบน้ำละหมาดก่อนนอนและการนอนบนซีกตัวทางด้านขวาและการกล่าวตักบีร ตัสบีหฺและตัหมีดก่อนนอน จ) การกล่าวดูอาอฺในการจาม การจับมือให้สาลามกับผู้มาเยี่ยมและการกล่าวขอบคุณ และ ฉ) การกล่าวศอลาวัตหรือสดุดีต่อท่านศาสนทูต 4) ผู้ดูแลพยายามดูแลผู้ป่วยให้ปฏิบัติตามแบบอย่างของท่านศาสนทูตดังนี้ คือ ก) ช่วยผู้ป่วยอาบน้ำละหมาดตลอด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ติดเตียง ข) การปลอบใจด้วยหลักการศาสนา ค) ให้กล่าวซิกรุลลอฮฺอย่างสม่ำเสมอ แนะนำให้ผู้ป่วยอ่านตามบทดูอาอฺตามวาระต่างๆ และช่วยทำตะยัมมุมแทนอาบน้ำละหมาดให้ผู้ป่วยที่ห้ามถูกน้ำ ง) อ่านอัลกุรอานและบทดูอาอฺและเป่าบนฝ่ามือแล้วเสกโดยลูบทั่วร่างกายผู้ป่วย และ จ) จัดเตรียมอาหารที่มีประโยชน์และสะอาดทุกครั้งที่จะป้อนอาหาร ยาและน้ำ กล่าวพระนามของอัลลอฮฺและใช้มือขวาอย่างสม่ำเสมอ ฉ) สะบัดที่นอนผู้ป่วยปิดไฟและปิดประตูหน้าต่างบ้านอย่างมิดชิดและปิดภาชนะอาหารในยามเข้านอนตลอดth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบริการผู้ป่วยระยะสุดท้ายth_TH
dc.subjectผู้ป่วยระยะสุดท้าย--การดูแลth_TH
dc.subjectHospice Careen_EN
dc.subjectPalliative Careen_EN
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleกระบวนการดูแลสุขภาพจิตตามวิถีอิสลามของผู้ป่วยระยะสุดท้าย : ผู้ป่วยชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้th_TH
dc.title.alternativeThe mental health care, according to the Islamic way of terminally ill patients : Case Study Muslims Thailand patients in the three southern border provinces.en_EN
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeFrom the study of "The process of caring mental health for the patient’s terminal stage following the Islamic way: Thai patients Muslims in the three southern border provinces ". This study is qualitative research. It consists of information from documents by studying from the Quran and the Sunnah. As well as the opinions of accepted Muslim scholars. The information obtained in many languages such as Arabic, Malay, English and Thai. In this study using structured in-depth interviews, participant observation and group discussions. The participants of this study were selected based on the purposive random sampling, the researcher uses their personal judgment to select the sample. The participant’s total number of 39 persons, namely 1) 30 caregivers from 3 provinces 2) 6 Muslim scholars from 3 provinces 3) 3 public health personnel from 3 provinces. The objective of this study to study 1) Knowledge about general health care methods in accordance with Islamic way 2) Islamic mental health care model of terminal stage patients of three Thai Muslims in Southern Thailand 3) compare the knowledge of Islamic path with the real practice of mental health care according to the Islamic way of the terminal stage patient of Thai Muslims in the three southern border provinces and 4) produce a manual for the care and treatment of mental health according to the Muslim way of the patient in terminal stage. From the study, it was found that 1) illness is a condition and pain that occurs with the desire of Allah that was destined to come from various causes whether it is perceived or not perceived all diseases and revival are all destined for Allah. As for the sickness, he will normally give through various causes or factors. Reasonable There are two ways to treat the disease: 1) mentally: healing by reading the verses of the Maruur and reading the Quran, blowing and stroking all over the body. 2) Objects: healing by prevention and control accordance with the nature that Allah has set through the healing process on the basis of the specific cause and regulation that the servant can recognize and study from the academic medicine. The drugs listed in the Qur'an and Al-Hadith are 1) honey, 2) Samsum water 3) Habatus, Sao Dao (black cumin) and 4) date palm. Or other breeds. Islam has forbidden Muslims to treat them with things like pigs, dogs, spirits, and other things that are dirty and etc. Except in conditions that are necessary and have no choice. And do not treat with any type of magic or amulets tied to the neck, wrist, or waist because this is considered a big sin. 2) The caregiver should be giving encouraged with religious principles and remembers Allah every morning and evening by reading al-Fatihahah and 3 Kul including surah alikhlas-annas and alfalaq and recite the Dua and blown down on both palms, then rubbed on the patient's body especially in areas with pain (3 times). Give more often to the patients to read and listen to the Quran or Azkar nabavi from a tape or phone. And persistently saying Tasbiht, tahmid, takbir, and apologizing, etc. All good work, the caretaker will begin by reading the name of Allah and recite the dua by using the right hand regularly except for washing the genitals or washing the penis using the left hand. After completion should thank Allah regularly. And the caretakers should focus on the patient to say Cha-had throughout that "La Ila ha illallah". 3) the actual practice of the caregiver is a) Consolation and encouragement with the principles of Islam. B) Reading the Quran and dua, blowing, and stroking patients. c) Sleeping care and closing food containers and d) off the lamp and closing the window and door before bed and the part that is practised from time to time is the writing the dua put near the patient for often recite. The patient should perform regularly: a) saying "La Ilha Ilallah" b) Reading surah al-fatihah and 3 kul. c) Reading the name of Allah in every action. D) Recite the dua before going to bed and waking up and being patient for every trail. The things that the patient has to do for some time are a) Reading and listening to the Quran or Azkar Nabawi from tapes or phones. B) Saying zikrullah and istigfar in the moment Dawn c) Prayer and fasting in Ramadan. d) Donations and dressing that covers up. E) Sufficient eating and ablution before going to bed and sleeping on the right side of the body and saying, takbir and tahmid before sleeping. E) Recite dua when see sneezing. Handshaking with the visitors and thanking and f) salawatunnabi to praise the messengers (r). 4) The caretakers should try to take care of the patients according to the style of the messengers (r) by doing the following: a) Helping patients to take salat for patients throughout especially for patients with bedridden. B) Consolation by religious principles. C) Recite zikrullah regularly and suggest the patients recite dua according to the chapter on various topics. And helping patient to make tayammum instead of taking a bath for the patients who cannot be watered. D) Read the Qur'an and blow on the palm and stroking around the patient's body. And every time to eat food, medicine and water, speak the name of Allah and use the right hand regularly. F) Flick the patient's mattress, turn off the lights and close the door of the house and window completely. And close the food container when going to bed all the time.en_EN
dc.identifier.callnoW85.5 ฮ6ก 2562
dc.identifier.contactno61-018
.custom.citationฮามีดะห์ฮาสัน โต๊ะมะ, Hamidahhasan Tohma, อาหมัด อัลฟารีตีย์, Armad al-fariti, หนุ๊ มาสาระกามา, Nuh Masarakama, อับดุลรอหฺมาน มะโซะ, Abdunroman Masoh, Laongdau Shawo, รูไวดา ราแดง, Ruwaida Radeang, พรรณวดี อาแวนิ, Phannawadi Awaeni and ละอองดาว แซ่วื่อ. "กระบวนการดูแลสุขภาพจิตตามวิถีอิสลามของผู้ป่วยระยะสุดท้าย : ผู้ป่วยชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5053">http://hdl.handle.net/11228/5053</a>.
.custom.total_download176
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year8

Fulltext
Icon
Name: hs2488.pdf
Size: 6.503Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record