แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

แนวทางปฏิบัติที่ดีในผู้ป่วยที่มีเส้นฟอกไต ปีที่ 2

dc.contributor.authorกิตติพันธุ์ ฤกษ์เกษมth_TH
dc.contributor.authorKittipan Rerkasemen_EN
dc.date.accessioned2019-05-14T06:45:51Z
dc.date.available2019-05-14T06:45:51Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.otherhs2492
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5054
dc.description.abstractจากแนวทางการปฏิบัติแนะนำ (guideline) ทั้งในประเทศและต่างประเทศจำนวนมากมาย แนะนำว่าผู้ป่วยที่มีไตวายระยะสุดท้าย การทำเส้นฟอกไตควรทำก่อนที่จะมีการแทงสายชั่วคราวในหลอดเลือดดำใหญ่ แต่ในประเทศไทยนั้นความเป็นจริงผู้ป่วยส่วนมากได้รับการแทงเส้นฟอกไตดังกล่าวมาก่อน สาเหตุการทำดังกล่าวอาจเกิดจากแนวคิดว่าผลของการทำดังกล่าวไม่มีข้อเสียจากทั้งผู้ป่วยและจากบุคลากรทางการแพทย์ ดังนั้นการศึกษานี้จึงต้องการพัฒนาแนวทางที่ดีที่สามารถพัฒนาผลการรรักษาที่ดีกว่าปัจจุบัน การศึกษานี้จึงได้ทำกระบวนการเพื่อพัฒนาการดูแลผู้ป่วยอย่างครบวงจรที่เรียกว่า Expressed Protocol in Northern Thailand (EPNT) ซึ่งการดูแลแบบพิเศษแบบ EPNT นี้ ประกอบไปด้วย 1. ผู้ป่วยไม่มีประวัติการแทงเส้นหลอดเลือดดำใหญ่ชั่วคราวมาก่อน 2. ใช้เส้นฟอกไตจากเส้นจริงมากกว่าเส้นหลอดเลือดเทียม 3. มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง การศึกษานี้เป็นการศึกษา 24 เดือน เปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มที่ทำการรักษาแบบ EPNT กับกลุ่มซึ่งไม่ได้รับการรักษาแบบ EPNT (non EPNT) ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบมาตรฐานสากลในปัจจุบัน รายงานนี้เป็นรายงานของผู้ป่วย ผลของการเปรียบเทียบ 15 เดือนแรก ได้ศึกษาเปรียบเทียบอัตรา maturation การเกิดภาวะแทรกซ้อนของเส้น การมีหลอดเลือดตีบตันในหลอดเลือดดำใหญ่ในอก การติดเชื้อ การมีโรคหัวใจและการเสียชีวิตและคุณภาพชีวิต โดยการประเมินคุณภาพชีวิตใช้ SF-36 ผลการศึกษา: 100 คน ของผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มของ EPNT และ 101 คน อยู่ในผู้ป่วยกลุ่ม non EPNT จากการศึกษานี้พบว่าในกลุ่มผู้ป่วย EPNT มีอัตราการติดเชื้อน้อยกว่ากลุ่ม non EPNT (EPNT: 0% vs non EPNT 2.52%, p = 0.087), โดยอัตราการติดเชื้อใน AVA กระแสโลหิตจากเส้นฟอกไตชั่วคราวในกลุ่ม non EPNT พบได้ 11.9% และอัตราการเกิดหลอดเลือดดำตีบตันในอก (EPNT 1.23% และ non EPNT 5.11%, p = 0.146) ถึงอย่างไรก็ตามแนวโน้มดังกล่าวไม่มีความสำคัญทางสถิติแต่อย่างประการใด ในด้านอัตราการ maturation การเกิดภาวะแทรกซ้อน การเกิดโรคหัวใจโรคหลอดเลือดสมองและการเสียชีวิต ก็พบว่าไม่มีความแตกต่างกันระหว่างสองกลุ่ม แต่ในด้านคะแนนของคุณภาพชีวิตในกลุ่มของ EPNT คะแนนทางด้านจิตใจโดยรวมดีกว่ากลุ่ม non EPNT อย่างชัดเจน สรุป: EPNT มีแนวโน้มที่มีอัตราการติดเชื้อในกระแสโลหิต หลอดเลือดตีบตันในอกและคุณภาพชีวิตทางด้านจิตใจดีกว่ากลุ่ม non EPNT แต่ถึงอย่างไร ผลการศึกษานี้ทำเพียง 15 เดือน ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาต่อเนื่องต่อไปในอนาคตth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectโรคไตเรื้อรังth_TH
dc.subjectChronic Kidney Diseaseth_TH
dc.subjectไตวายเรื้อรัง--การรักษาth_TH
dc.subjectไต--โรคth_TH
dc.subjectKidneys--Diseasesth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleแนวทางปฏิบัติที่ดีในผู้ป่วยที่มีเส้นฟอกไต ปีที่ 2th_TH
dc.title.alternativeGood clinical practice guideline in patients with arteriovenous access phase2en_EN
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground: Based on national and international guidelines (Kidney Disease Outcomes Quality Initiative-K DOQI) in patients with end staged renal disease, arteriovenous access (AVA) creation without history of central venous catheter (CVC) insertion is the recommended approach, but in Thailand, most hemodialysis patients had experiences of CVC insertion beforehand. Underestimation of consequences of such approach in our patients and medical personnel, might be a cause. Therefore, we aimed to develop the protocol that can improve the outcomes. Methods: Expressed Protocol in Northern Thailand (EPNT) was formulated. EPNT was composed of: 1) patients who did not have any experience of CVC insertion before AVA creation, 2) patients almost used vein for AVA creation, 3) AVA was under good surveillance after operation. This study plan followed up in 24 months, but this report compared and illustrated the outcome between EPNT and non-EPNT patients in the first 15 months. The outcome included the rate of maturation, AVA complications, central vein stenosis, sepsis, major adverse cardiovascular event (MACE), and the score of Quality of life by SF-36. Results: There were 100 EPNT patients and 101 non EPNT patients. EPNT group had lower cumulative rate of AVA infection (EPNT: 0% vs non EPNT 2.52%, p = 0.087), than those in non EPNT. Also 11.9% in non EPNT patients had history of CVC sepsis. EPNT group had lower rates of central vein stenosis (EPNT: 1.23% vs non EPNT 5.11%, p = 0.146), than those in non EPNT group. However, these trends did not reach a statistically significance. The rates of maturation, AVA complications, and MACE were not different between two groups. The score in the general mental health in EPNT group was significantly better than those in non EPNT group. Conclusion: EPNT patients had a trend toward lower rates of sepsis and central vein stenosis, and better general mental health scores than those non EPNT patients. However, this 15-month result does not make any solid conclusions to determine the difference between EPNT and Non-EPNT. Further results will shed more light on this field.en_EN
dc.identifier.callnoWJ340 ก674น 2562
dc.identifier.contactno61-036
.custom.citationกิตติพันธุ์ ฤกษ์เกษม and Kittipan Rerkasem. "แนวทางปฏิบัติที่ดีในผู้ป่วยที่มีเส้นฟอกไต ปีที่ 2." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5054">http://hdl.handle.net/11228/5054</a>.
.custom.total_download87
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year9
.custom.downloaded_fiscal_year2

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2492.pdf
ขนาด: 1.233Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย