แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ช่องว่างในการเข้าถึงบริการจิตเวชและภาระทางเศรษฐศาสตร์ ปีที่ 2

dc.contributor.authorตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์th_TH
dc.contributor.authorTawanchai Jirapramukpitakth_TH
dc.date.accessioned2019-05-14T06:56:31Z
dc.date.available2019-05-14T06:56:31Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.otherhs2491
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5055
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ 1. เพื่อเปรียบเทียบผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์และสังคมจากการป่วยทางจิตเวชเรื้อรังระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ และรักษาล่าช้า ระหว่างผู้ที่ป่วยตั้งแต่อายุน้อยและอายุมากและระหว่างผู้ที่ป่วยมานานและไม่นาน 2. เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการติดตามเยี่ยมและดูแลผู้ป่วยโดยอาสาสมัครในชุมชนต่อผลลัพธ์ต่างๆ (โดยเปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนหลังการเยี่ยมบ้าน เฉพาะกลุ่มที่ได้รับการเยี่ยมบ้าน) วิธีการศึกษา รูปแบบการศึกษาเป็นแบบ mixed method ประกอบด้วยการศึกษาแบบตัดขวาง (cross-sectional community survey design) เลือกตัวอย่างจากผู้ป่วย 18 ปีขึ้นไป ประกอบด้วย 3 กลุ่มคือ 1) ผู้ป่วยที่มีอาการโรคจิต (psychosis) ที่อาศัยในครัวเรือนในเขตเทศบาลคูคตและเทศบาลลำสามแก้ว จังหวัดปทุมธานี ที่มีประวัติรักษาตัวในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์และศูนย์การแพทย์ปฐมภูมิ 2) ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตที่ได้จากการคัดกรองจากการสำรวจในชุมชนในการศึกษาปีที่ 1 และ 3) ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตในชุมชนที่เข้าถึงได้ยาก (hard-to-reach) ได้มาจากการใช้เทคนิคการแนะนำต่อๆ กัน (chain referral method) จากคนในชุมชน สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดด้วยแบบสอบถาม World Mental Health - Composite International Diagnostic Interview version 3.0 (WMH-CIDI 3.0) ฉบับภาษาไทย ที่ประกอบด้วยแบบวินิจฉัยโรคจิต โรคซึมเศร้า ปัญหาการดื่มสุรา คำถามเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน ประวัติการรักษาและการใช้บริการสุขภาพจิตในช่วงชีวิตและในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา สิทธิในการรักษารวมทั้งประกันสุขภาพต่างๆ รายได้ โรคทางกายกลุ่มเมตาบอลิค ผลกระทบต่อการเรียน การทำงาน รายได้ และผู้ดูแล และศึกษากึ่งทดลองก่อนและหลังการประเมินและเยี่ยมบ้านโดยไม่มีกลุ่มควบคุม (before-and-after treatment without control group design) ในผู้ป่วยที่มีประวัติไม่ร่วมมือหรือขาดการรักษาบ่อยครั้งที่เสี่ยงต่อการป่วยซ้ำ ประเมินในขณะเยี่ยมบ้านโดยใช้แบบติดตามผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน 9 ด้าน ผลการศึกษา มีผู้เข้าร่วมศึกษา จำนวน 623 คน (สัดส่วนผู้ยินยอมคิดเป็นร้อยละ 89.1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้มาจากการแนะนำต่อๆ กันโดยคนในชุมชน กลุ่มตัวอย่างมีสัดส่วนของผู้ที่เคยมีอาการโรคจิตร้อยละ 88.9 อาการซึมเศร้า ร้อยละ 81.4 ปัญหาการดื่มสุรา ร้อยละ 19.6 การวิเคราะห์แบบพหุตัวแปร พบว่าประวัติเริ่มป่วยตั้งแต่อายุยังน้อยมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับความเสี่ยงต่อการหยุดเรียนก่อนกำหนด การว่างงาน รายได้รายปีที่ลดลงและกลุ่มอาการเมตาบอลิค ประวัติการได้รับการรักษาล่าช้ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับความเสี่ยงต่อการหยุดเรียนก่อนกำหนด ประวัติการป่วยมานานมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับความเสี่ยงต่อการว่างงานและรายได้รายปีที่ลดลง แต่ประวัติการป่วยมาไม่นานมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับความเสี่ยงต่อกลุ่มอาการเมตาบอลิค ส่วนภาระต่อผู้ดูแลนั้น ผู้ดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่รายงานว่าได้รับผลกระทบค่อนข้างมากถึงมาก (64.9%) โดยการต้องอยู่เฝ้าผู้ป่วย ดูแลด้านจิตใจและการกินยา มากกว่ากึ่งหนึ่งต้องใช้เวลาในการดูแลราว 8-9 ชม ต่อสัปดาห์ ส่วนใหญ่รายงานว่ามีความรู้สึกอับอายปานกลางถึงมากที่มีญาติป่วยทางจิต มากกว่า 1 ใน 3 รายงานว่าได้รับผลกระทบทางการเงินจากการดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งถูกครอบครัวละทิ้งให้อยู่คนเดียว (5.8%) ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาส่วนใหญ่เคยได้รับการรักษามาก่อน (86.4%) โดยส่วนใหญ่กำลังติดตามการรักษาอยู่ (51.7%) รองลงมาคือขาดการรักษาไม่เกิน 1 ปี (20.5%) และขาดการรักษา 1 ปีขึ้นไป (14.2%) ในจำนวนผู้ไม่เคยรักษาหรือขาดการรักษา (N=301) หลังการสัมภาษณ์มีผู้ป่วยยินยอมกลับมารับการรักษาใหม่ ร้อยละ 38.2 มีผู้ป่วยทางจิตเรื้อรังที่ได้รับการเยี่ยมบ้านจำนวนทั้งหมด 61 คน หลังการเยี่ยมบ้านไประยะหนึ่ง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้นตามองค์ประกอบต่างๆ ในเกือบทุกด้าน ยกเว้น การประกอบอาชีพ ลักษณะผู้ดูแลและสภาพแวดล้อม สรุป มีผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังจำนวนไม่น้อยที่ขาดการรักษาหรือไม่เคยได้รับการรักษามาก่อน ผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาอย่างต่อเนื่องได้ หากระบบบริการจิตเวชยังตั้งรับที่สถานพยาบาลอย่างเดียว การเข้ารับการรักษาแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะผู้ที่เริ่มป่วยตั้งแต่อายุยังน้อยและติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิดโดยใช้มาตรการอย่างเช่น การเยี่ยมบ้าน จะช่วยลดผลกระทบต่างๆ ในระยะยาว เช่น การหยุดเรียนก่อนกำหนด การว่างงาน ภาระในการดูแล ความเสี่ยงต่อโรคทางกายเรื้อรังต่างๆ การพัฒนาและประเมินมาตรการรูปแบบใหม่ๆ ในการค้นหาและดูแลผู้ป่วยและครอบครัวในชุมชนอย่างต่อเนื่อง (เช่น การนำเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่มาใช้) จึงมีความจำเป็นในการลดช่องว่างในการเข้าถึงการบริการจิตเวชth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectจิตเวชth_TH
dc.subjectMental healthth_TH
dc.subjectสุขภาพจิตth_TH
dc.subjectเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.titleช่องว่างในการเข้าถึงบริการจิตเวชและภาระทางเศรษฐศาสตร์ ปีที่ 2th_TH
dc.title.alternativeMental health gap and related economic burden (year 2)th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeObjectives: 1). To compare the economic and social impact of mental illness between those who receive early and delayed treatment, between those with early and late onset of disease, and between those with short and long durations of illness. 2) To examine the effectiveness of home visits made by community health workers in improving patients’ outcomes (by conducting a before-and-after home visit evaluation among those who receive visits). Methods: The mixed method study design was employed. First a cross-sectional community survey was conducted by sampling: 1) psychotic patients aged 18 or above residing in the catchment areas of Thammasat University Hospital and its primary care unit (PCU), namely the areas administered by Kukot and Lamsamkaew Municipalities, who had had histories of receiving psychiatric treatment at the hospital and its PCU, 2) individuals living in the areas who had been screened positive for psychiatric conditions in the earlier community survey (year 1) and 3) psychiatric individuals who were so called “hard to reach” and recruited by using a technique called chain referral method (i.e. by asking community residents to introduce patients they had seen or known in the area). Face-to-face interviews were conducted by trained interviewers with the World Mental Health - Composite International Diagnostic Interview version 3.0 (WMH-CIDI 3.0)-Thai version, eliciting sociodemographic information, education, employment, finances, DSM-IV diagnoses (including psychosis, depressive disorders and alcohol use disorders), chronic physical conditions, history of service use, health care coverage and family burden. The second study design employed was before-and-after treatment without control group. The intervention was home visit delivered by community health workers to those who had had histories of medication non-adherence or losses to follow up, and were therefore at increased risk of relapse and rehospitalization. Results: The sample comprised a total of 623 participants (respondent rate 89.1%). The majority of the sample were recruited using the chain referral method. The proportion of those with a lifetime history of psychotic symptoms was 88.9%, depressive disorders 81.4% and alcohol use disorders 19.6%. Multivariable analyses revealed that early onset of illness was significantly associated with increased risk for low educational attainment, unemployment, reduced annual earnings and metabolic syndrome. History of delayed treatment was significantly associated with increased risk for low educational attainment. Long duration of illness was significantly associated with unemployment and reduced annual earnings, whereas relatively short duration of illness was significantly associated with greater risk of metabolic syndrome. In terms of family burden, the majority of carers reported substantial or great burden related to illness such as keeping (him/her) company, giving emotional support, and helping with medication. More than half reported time spent on caregiving at 8-9 hours/week. The majority of carers also reported substantial or much embarrassment due to having a mentally ill relative. More than a third reported financial burden caused by caregiving. The majority of respondents had had received psychiatric treatment (86.4%), most of whom were in regular follow-up (57.1%), followed by those who had lost to follow-up for less than a year (20.5%) and for a year or more (14.2%). Of those who had never sought treatment (N=301), 38.2% were able to get treatment after the interview assessment. A total of 61 respondents received home visits. After a period of visits, the majority of these respondents showed improvements in almost all areas under evaluation, except employment, quality of caregiver and home environment. Conclusions: A substantial number of psychiatric patients in the community has dropped out from treatment, or never even received treatment. These patients would never have had access to regular and adequate treatment if psychiatric care was only facility-based without community involvement. Proving early treatment without delay, especially to those with early onset of disease, and continuous care, by effective interventions such as home visits, is essential. This will help reduce the long term serious impact of illness such as school dropout, unemployment, family burden, chronic physical diseases. Development and evaluation of innovative early identification and continuous care methods in the community, with the help of modern technology, is essential in reducing the accessibility and treatment gap experienced by mentally ill patients.th_TH
dc.identifier.callnoWM450.5 ต258ช 2562
dc.identifier.contactno60-087
.custom.citationตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์ and Tawanchai Jirapramukpitak. "ช่องว่างในการเข้าถึงบริการจิตเวชและภาระทางเศรษฐศาสตร์ ปีที่ 2." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5055">http://hdl.handle.net/11228/5055</a>.
.custom.total_download229
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month4
.custom.downloaded_this_year22
.custom.downloaded_fiscal_year5

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2491.pdf
ขนาด: 651.1Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย