Show simple item record

The synthesis of primary care model in Bangkok

dc.contributor.authorชะนวนทอง ธนสุกาญจน์th_TH
dc.contributor.authorChanuantong Tanasugarnen_US
dc.contributor.authorพิพัฒน์ ลักษมีจรัลกุลth_TH
dc.contributor.authorPipat Luksamijarulkulen_US
dc.contributor.authorฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญth_TH
dc.contributor.authorChardsumon Prutipinyoen_US
dc.contributor.authorจีรนันท์ แกล้วกล้าth_TH
dc.contributor.authorJeeranun Klaewklaen_US
dc.contributor.authorทัศนีย์ รวิวรกุลth_TH
dc.contributor.authorTassanee Rawiworrakulen_US
dc.contributor.authorจงกล โพธิ์แดงth_TH
dc.contributor.authorJongkol Podangen_US
dc.contributor.authorวันวิสาข์ ศรีสุเมธชัยth_TH
dc.contributor.authorVanvisa Sresumatchaien_US
dc.contributor.authorมลินี สมภพเจริญth_TH
dc.contributor.authorMalinee Sombhopcharoenen_US
dc.contributor.authorมงคล อักโขth_TH
dc.contributor.authorMongkol Akkoen_US
dc.date.accessioned2019-06-11T03:27:42Z
dc.date.available2019-06-11T03:27:42Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.otherhs2496
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5056
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการสังเคราะห์ข้อเสนอเพื่อพัฒนารูปแบบการบริการปฐมภูมิในกรุงเทพมหานคร ใน 4 ศูนย์บริการสุขภาพนำร่อง คือ ศูนย์บริการสาธารณสุข 29 ศูนย์บริการสาธารณสุข 30 ศูนย์บริการสาธารณสุข 60 และศูนย์บริการสาธารณสุข 66 การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ด้วยการสัมภาษณ์บุคคลากรซึ่งเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพและการใช้แบบสำรวจคนไข้ที่เข้ารับบริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุขจำนวน 400 คน (100 คนต่อศูนย์บริการสาธารณสุข) และสำรวจประชาชนที่อาศัยอยู่รอบศูนย์บริการสาธารณสุขจำนวน 120 คน (30 คน ต่อศูนย์บริการสาธารณสุข) ที่มาและไม่มาใช้บริการ รวมถึงการสำรวจประชาชนที่ทำงานอยู่รอบศูนย์บริการสาธารณสุขจำนวน 120 คน (30 คน ต่อศูนย์บริการสาธารณสุข) การสังเคราะห์ข้อเสนอครั้งนี้ดำเนินการภายใต้กรอบการจัดบริการปฐมภูมิในด้าน สมรรถนะอัตรากำลัง รูปแบบการให้บริการ ระบบสารสนเทศ ระบบการเงินการคลังและการบริการจัดการที่ดี กฎหมายและข้อปฏิบัติ รูปแบบการให้บริการปฐมภูมิในกรุงเทพมหานครของทั้ง 4 ศูนย์บริการมีแตกต่างกันทั้งหมด 3 รูปแบบ ทุกรูปแบบการให้บริการมีจุดเน้นที่การจัดบริการร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งมีประชากร 10,000-30,000 คน การสังเคราะห์ข้อเสนอมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสัดส่วนผู้ใช้บริการและความต้องการของผู้ใช้บริการปฐมภูมิ ในเขตพื้นที่วิจัย 2. เพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอเบื้องต้นในการพัฒนารูปแบบบริการปฐมภูมิของศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิกเอกชน รวมทั้งร้านยา ในพื้นที่วิจัยให้สามารถจัดบริการตามแนวทางคลินิกหมอครอบครัวได้ 3. เพื่อศึกษาประเด็นสมรรถนะผู้ให้บริการที่ควรได้รับการพัฒนาเพื่อให้สามารถจัดบริการตามแนวทาง หลักการและมาตรฐานคลินิกหมอครอบครัว 4. เพื่อศึกษาระบบฐานข้อมูลที่น่าจะเป็นในการบริหารจัดการและจัดรูปแบบบริการต่างๆ ของศูนย์บริการสาธารณสุขและเครือข่าย 5. เพื่อจัดทำระบบการบริหารจัดการการเงินที่ดีของคลินิกบริการที่มีอยู่และแนวทางการพัฒนาไปสู่บริการปฐมภูมิและแนวนโยบายหมอครอบครัวซึ่งสอดคล้องกับหลักการบริหารจัดการที่ดีของกรุงเทพมหานคร 6. เพื่อศึกษาระบบการบริหารจัดการ ระเบียบปฏิบัติที่สอดคล้องหรือเอื้อต่อการพัฒนาบริการปฐมภูมิตามนโยบายหมอครอบครัวที่ได้มาตรฐานคุณภาพและถูกต้อง โปร่งใส ตามหลักการบริหารจัดการที่ดีของกรุงเทพมหานคร ข้อค้นพบที่สำคัญคือ ประชาชนในกรุงเทพมหานครทุกกลุ่มมาใช้บริการที่ศูนย์บริการนำร่องด้วยเหตุผลว่ามีระยะทางใกล้บ้าน เดินทางสะดวกและรับรู้ว่าศูนย์บริการมีบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ ดูแลรักษาการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยเล็กน้อยและมีบริการให้ภูมิคุ้มกัน แต่เมื่อเลือกใช้บริการเหล่านี้ในเครือข่ายบริการสุขภาพในพื้นที่ พบว่า ประชาชนทุกกลุ่มยังเลือกรับบริการชนิดเดียวกันที่โรงพยาบาลมากกว่าที่ศูนย์บริการหรือร้านขายยาในพื้นที่ ระบบสนับสนุนการจัดบริการที่สำคัญและจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาคือ ระบบข้อมูลสารสนเทศและระบบพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรแต่ละวิชาชีพ ระบบการเงินการคลังและบริหารจัดการที่ดี ที่ศูนย์บริการร้องขอให้จัดทำขึ้นคือ ระบบตอบข้อสงสัยในการปฏิบัติตามข้อบังคับและระเบียบปฏิบัติ ศูนย์บริการสาธารณสุข 4 แห่ง ซึ่งเป็นพื้นที่ทดลองของกรุงเทพมหานคร ได้จัดรูปแบบบริการแตกต่างกันได้ 3 รูปแบบ แม้จะใช้กรอบแนวคิดในการจัดบริการตามนโยบายเดียวกัน ทั้งนี้ เป็นเพราะบริบททางสังคม วัฒนธรรม อัตรากำลังและสมรรถนะของผู้ให้บริการและค่านิยมของผู้ใช้บริการ การวิจัยครั้งนี้ ได้ทำข้อเสนอแนะในการจัดรูปแบบบริการที่เป็นการพัฒนาบริการด้วยศูนย์ข้อมูลกลางและเชื่อมต่อเครือข่ายบริการสุขภาพในรูปของคลินิก โรงพยาบาลและร้านขายยา นอกจากนั้นยังพัฒนาเครือข่ายสถานประกอบการ บ้าน วัด โรงเรียน และแหล่งทรัพยากรด้านการออกกำลังกาย อาหาร เพื่อตอบสนองแนวคิดทุกระบบเพื่อสุขภาพ ในการสนับสนุนการสร้างสุขภาพและจัดการข้อมูลเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับเขตต่อไป ข้อเสนอสำคัญในเรื่องการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร พบว่า ในปัจจุบันการพัฒนาสมรรถนะดำเนินการโดยผู้บริหารของศูนย์ฯ และผู้บริหารของแต่ละวิชาชีพ ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้ ทำข้อเสนอที่เน้นการพัฒนาสมรรถนะของทีมผู้ให้บริการและสมรรถนะที่เน้นกระบวนการให้บริการในระดับครอบครัวและบุคคล กระบวนการให้บริการที่เป็นสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย (Population Health) และกระบวนการให้บริการ สนับสนุนในชุมชนและสังคม บทสรุปและข้อเสนอที่สำคัญ การจัดบริการปฐมภูมิตามนโยบายหมอครอบครัวในกรุงเทพมหานคร จำเป็นต้องมีการพัฒนาตามกรอบ 6 องค์ประกอบขององค์การอนามัยโลก การวิจัยครั้งนี้ได้เน้นองค์ประกอบเรื่องระบบสารสนเทศ กำลังคน การบริหารจัดการเงิน เป็นสำคัญ บทสรุปของการวิจัยทำให้เกิดข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1. ปัจจัยการเลือกใช้บริการของคนกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับ ที่ตั้ง ความสะดวกในการเดินทางและคุณภาพพฤติกรรมบริการ การได้ข้อมูลและการส่งต่อ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างศูนย์บริการ คลินิกเอกชนและร้านขายยา ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ใกล้กับผู้รับบริการมากกว่าโรงพยาบาลรัฐและเอกชนก็ตาม แต่ผู้รับบริการในกรุงเทพมหานครยังเลือกใช้บริการจากโรงพยาบาลมากกว่า ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะค่านิยมเดิมและการรับรู้บริการตรวจรักษา จัดให้โดยผู้เชี่ยวชาญและชนิดบริการส่งเสริมสุขภาพที่จัดให้จากศูนย์บริการ ประชาชนรับรู้บริการที่ศูนย์ในเรื่องของการรักษาเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ การให้บริการที่บ้าน การให้ภูมิคุ้มกันโรค และการตรวจร่างกาย แต่การรับรู้และตัดสินใจใช้บริการก็ยังอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับโรงพยาบาล ดังนั้น การจัดบริการปฐมภูมิ ของศูนย์บริการสาธารณสุขในกรุงเทพมหานคร ควรที่จะปรับในเรื่องการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบบริการและจำเป็นต้องพัฒนาระบบการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนในพื้นที่ จะช่วยให้ ศบส จัดบริการปฐมภูมิ ทำหน้าที่เป็น gate keeper ได้ดี มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากขึ้นในการลดการแออัดของผู้มาใช้บริการ 2. การพัฒนาการแพทย์และทีมหมอครอบครัว ให้จัดบริการได้ตามหลักการเป็นสิ่งจำเป็นทั้งในเรื่องการให้บริการทุกช่วงวัย การทำงานบริการให้ชุมชน เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ และยังต้องเพิ่มสมรรถนะในการเก็บบันทึกและใช้ข้อมูลในการจัดบริการ การติดตามประเมินผลบริการอีกด้วย 3. การบริหารจัดการการเงินของศูนย์บริการปฐมภูมิในกรุงเทพมหานคร มีความเป็นไปได้และคล่องตัว ถ้ามีการจัดตั้งศูนย์ให้คาปรึกษาด้านการจัดการการเงินตามระเบียบของกรุงเทพมหานคร 4. รูปแบบการจัดบริการปฐมภูมิในกรุงเทพมหานคร ควรปรับเพิ่มแนวคิดการทำงานแบบทุกระบบเพื่อสุขภาพ ร่วมกับระบบสาธารณสุขมูลฐานเดิม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนด้วยทรัพยากรของทุกภาคส่วนที่แท้จริง ช่วยส่งเสริมการเข้าถึงบริการส่งเสริมสุขภาพและส่งต่อเมื่อมีการเจ็บป่วยหรือบริการที่จำเป็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากความซับซ้อนของประชากรที่ขึ้นทะเบียนและประชากรแฝงที่เคลื่อนย้ายมาใช้ชีวิตตามความจำเป็น ในการประกอบอาชีพและโอกาสจากการพัฒนาสังคมมหานครที่มีมากกว่าพื้นที่อื่น 5. การพัฒนาสมรรถนะของทีมผู้ให้บริการ มีความจำเป็นเท่าๆ กับการพัฒนาสมรรถนะของแต่ละวิชาชีพ โดยเฉพาะในเรื่องกระบวนการจัดบริการและการใช้ข้อมูลในการจัดบริการ 6. การพัฒนาเทคโนโลยีในการจัดบริการเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น เพื่อช่วยให้เกิดการจัดบริการร่วมกันของทีมวิชาชีพและทีมประชาชน โดยเฉพาะในเขตมหานครที่เต็มไปด้วยการสื่อสารดิจิทัลth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิth_TH
dc.subjectPrimary Careen_US
dc.subjectหมอครอบครัวth_TH
dc.subjectFamily Medicineen_US
dc.subjectศูนย์บริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPublic Health Centeren_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการสังเคราะห์ข้อเสนอเพื่อพัฒนารูปแบบการบริการปฐมภูมิในกรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativeThe synthesis of primary care model in Bangkoken_US
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study aimed to synthesize the primary care service provided by a Public Health Center (PHC) of Health Department under the Bangkok Metropolitan Administration. Objectives of this study were to explore the ratio of the people who received and did not receive the service from the PHC, to propose the PHC Family Medicine Service Model based on the Ministry of Public Health Reform Policy which relevant to the BMA context in terms of professional competencies, Information technology system, financial regulations which reflects the principles of transparency, and good governance. Moreover, the proposed service model should also take into account the possible public health networks in the area such as a drug store and the private hospital or private health service center. Mixed method research method design was applied in 4 pilot public health centers included PHC 29, PHC 30, PHC 60 and PHC 66. Data collection at each center included 7 in-depth interviews with public health staff, 4 face to face interviews with 100 patients and 30 family members who attended services from the center, 50 family members who did not seek services from the center, 30 people who worked in the one kilometer radius of the PHC and attended service from the PHC. Significance findings revealed that people who attended the PHC service due to the close distance and easy to travel to the PHC. In addition, they also perceived that the PHC provided health promotion service, immunization, emergency care for a minor injury. However when comparing with people who live in the area, data revealed that percentage of people who seek these same services in the hospital are still higher than those who come to PHC. The four PHCs included in this study are the pilot PHC. Despite the same principles and policy, each center has offered in three different service models due to the different socioeconomic and cultural context. As the result, this study proposed a “service model” which provides services based on the information from the Central Information System which also connects with a private hospital and a drugstore in the catchment area. Moreover, the service model must create the network with all organizations and mobilize them to promote health of their people via intervention such as nutrition, exercise, etc. in concordance with the world health organization strategy on “Health in all Policies” and connects with the Quality of Life District Committee mechanism. To facilitate this service model, the supporting system has to be established in at least three mechanisms: an information management system, capacity building system for PHC staff, and a transparent financing system with good governance mechanism. Recommendation can be drawn as follows: Factor influencing health seeking behavior of the Bangkok people included distance and convenience to travel, perception of the types and quality of service. Therefore, public relation activities through social media and word of mouth to promote services provided in each PHC should be done; PHC Professional skills especially in technical skill such as documenting and evaluating the service, service process improvement, and digital information technology development and management need to be enhanced. Moreover the financial call center unit for PHC administrative staff should be set up.en_US
dc.identifier.callnoW84.6 ช329ก 2562
dc.identifier.contactno60-089
.custom.citationชะนวนทอง ธนสุกาญจน์, Chanuantong Tanasugarn, พิพัฒน์ ลักษมีจรัลกุล, Pipat Luksamijarulkul, ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, Chardsumon Prutipinyo, จีรนันท์ แกล้วกล้า, Jeeranun Klaewkla, ทัศนีย์ รวิวรกุล, Tassanee Rawiworrakul, จงกล โพธิ์แดง, Jongkol Podang, วันวิสาข์ ศรีสุเมธชัย, Vanvisa Sresumatchai, มลินี สมภพเจริญ, Malinee Sombhopcharoen, มงคล อักโข and Mongkol Akko. "การสังเคราะห์ข้อเสนอเพื่อพัฒนารูปแบบการบริการปฐมภูมิในกรุงเทพมหานคร." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5056">http://hdl.handle.net/11228/5056</a>.
.custom.total_download231
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year35
.custom.downloaded_fiscal_year4

Fulltext
Icon
Name: hs2496.pdf
Size: 6.065Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record