แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาทบทวนชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้บัตรประกันสุขภาพคนต่างด้าวของกระทรวงสาธารณสุข

dc.contributor.authorธนพร บุษบาวไลth_TH
dc.contributor.authorThanaporn Bussabawalaien_EN
dc.contributor.authorดนัย ชินคำth_TH
dc.contributor.authorDanai Chinnacomen_EN
dc.contributor.authorศรวณีย์ อวนศรีth_TH
dc.contributor.authorSonvanee Uansrien_EN
dc.contributor.authorมณีโชติรัตน์ สันธิth_TH
dc.contributor.authorManeechotirat Santien_EN
dc.contributor.authorศุภวรรธน์ เพิ่มผลสุขth_TH
dc.contributor.authorSuppawat Permpolsuken_EN
dc.date.accessioned2019-09-13T06:52:32Z
dc.date.available2019-09-13T06:52:32Z
dc.date.issued2562-06
dc.identifier.otherhs2515
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5104
dc.description.abstractประเทศไทยมีจำนวนแรงงานต่างด้าวเพิ่มมากขึ้น โดยส่วนใหญ่เข้ามาทำงานประเภทที่แรงงานไทยโดยทั่วไปปฏิเสธ โดยแรงงานต่างด้าวมีความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรงมากกว่าคนในภาคส่วนอื่น เนื่องจากยังขาดความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและรักษาตนเอง รวมถึงอัตราการเข้าถึงบริการหรือสวัสดิการทางด้านสุขภาพหรือทางด้านสังคมต่ำ ดังนั้น การมีมาตรการหรือนโยบายในการคุ้มครองสุขภาพคนต่างด้าวที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งคนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาตทำงานในประเทศไทยจะได้รับสิทธิประกันสุขภาพภายใต้ระบบประกันสังคมเช่นเดียวกับแรงงานไทย อย่างไรก็ตาม พบว่ามีแรงงานต่างด้าวจำนวนน้อยที่เข้าสู่ระบบประกันสังคม เมื่อเทียบกับจำนวนแรงงานต่างด้าวทั้งหมด ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ออกมาตรการและแนวทางการดำเนินงานตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมในปี พ.ศ.2544 เป็นปีแรก อย่างไรก็ตามมาตรการและแนวทางการดำเนินงานตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพคนต่างด้าว/แรงงานต่างด้าวมีการปรับเปลี่ยนเป็นระยะและเปลี่ยนแปลงไปตามมติคณะรัฐมนตรีในแต่ละช่วงเวลา สิ่งที่ปรับเปลี่ยนโดยมาก เป็นเรื่องราคาบัตรประกันสุขภาพ แต่ในส่วนของชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้บัตรประกันสุขภาพมีการปรับเปลี่ยนไม่มากนักตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี ดังนั้น โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) จึงได้มีการศึกษานี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำข้อเสนอชุดสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมสำหรับคนต่างด้าวภายใต้บัตรประกันสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้บัตรประกันสุขภาพให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน มาจากกระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมและมีหลักฐานทางวิชาการรองรับ เพื่อให้คนต่างด้าวในประเทศไทยสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ การศึกษานี้ประกอบด้วย 1) การทบทวนวรรณกรรมและเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยทบทวนแนวทางเวชปฏิบัติและการศึกษาต้นทุนประสิทธิผลของมาตรการด้านสุขภาพต่างๆ รวมถึงเปรียบเทียบการมีอยู่ของมาตรการด้านสุขภาพดังกล่าวระหว่างชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้บัตรประกันสุขภาพคนต่างด้าวและชุดสิทธิประโยชน์ของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อค้นหามาตรการด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาและการพื้นฟู สำหรับประเด็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของคนต่างด้าวที่ได้จากการจัดลำดับความสำคัญ รวมทั้งการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างในการสนทนากลุ่มประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญและผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 13 คน และกลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์เชิงลึกประกอบด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้กำหนดนโยบาย/เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้ให้บริการ และเจ้าหน้าที่องค์การพัฒนาเอกชนจากกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดอีก 4 จังหวัด จำนวนทั้งหมด 33 คนและคนต่างด้าวที่ซื้อบัตรประกันสุขภาพฯ จำนวนทั้งหมด 15 คน และ 3) การประมาณการผลกระทบด้านงบประมาณ ในระยะเวลา 1 ปี โดยคำนวณจากจำนวนคนต่างด้าวที่ควรได้รับมาตรการด้านสุขภาพและต้นทุนของมาตรการด้านสุขภาพในมุมมองของผู้ให้บริการ ทั้งนี้ นอกจากปัญหาที่ส่งผลต่อการให้บริการภายใต้บัตรประกันสุขภาพฯ แล้ว คณะผู้วิจัยยังมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาศักยภาพการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ ซึ่งรายงานฉบับนี้จะเป็นหลักฐานทางวิชาการอันเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงและพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้บัตรประกันสุขภาพคนต่างด้าวของกระทรวงสาธารณสุขต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectคนต่างด้าวth_TH
dc.subjectแรงงานข้ามชาติth_TH
dc.subjectMigrantsth_TH
dc.subjectคนต่างด้าว--สุขภาพและอนามัยth_TH
dc.subjectหลักประกันสุขภาพแห่งชาติth_TH
dc.subjectระบบประกันสุขภาพth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.titleการศึกษาทบทวนชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้บัตรประกันสุขภาพคนต่างด้าวของกระทรวงสาธารณสุขth_TH
dc.title.alternativeReview of health benefits packages under the Health Insurance Card Scheme for migrants in Thailanden_EN
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoW160 ธ151ก 2562
dc.identifier.contactno61-073
.custom.citationธนพร บุษบาวไล, Thanaporn Bussabawalai, ดนัย ชินคำ, Danai Chinnacom, ศรวณีย์ อวนศรี, Sonvanee Uansri, มณีโชติรัตน์ สันธิ, Maneechotirat Santi, ศุภวรรธน์ เพิ่มผลสุข and Suppawat Permpolsuk. "การศึกษาทบทวนชุดสิทธิประโยชน์ภายใต้บัตรประกันสุขภาพคนต่างด้าวของกระทรวงสาธารณสุข." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5104">http://hdl.handle.net/11228/5104</a>.
.custom.total_download194
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year26
.custom.downloaded_fiscal_year9

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2515.pdf
ขนาด: 1.276Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย