Show simple item record

The Geographic Information System for Health Management of District Health Board

dc.contributor.authorจันทิมา นวะมะวัฒน์th_TH
dc.contributor.authorJuntima Nawamawaten_EN
dc.contributor.authorวิภาพร สิทธิสาตร์th_TH
dc.contributor.authorVipaporn Sittisarten_EN
dc.contributor.authorกฤษฎา เหล็กเพชรth_TH
dc.contributor.authorKritsada Lekpheten_EN
dc.contributor.authorไพศาล เธียรถาวรth_TH
dc.contributor.authorPisan Teantawarnen_EN
dc.date.accessioned2019-09-25T06:30:57Z
dc.date.available2019-09-25T06:30:57Z
dc.date.issued2562-03
dc.identifier.isbn9786161140502
dc.identifier.otherhs2512
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5107
dc.descriptionภายใต้โครงการการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อการจัดการสุขภาพของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอth_TH
dc.description.abstractระบบสุขภาพอำเภอ ถือเป็นจุดคานงัดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น โดยมีคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ หรือ คณะกรรมการ พชอ. (District health board) เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่อำเภอ กระบวนการพัฒนาจะสำเร็จอย่างยั่งยืนได้นั้น กระบวนการพัฒนาต้องสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ในการตัดสินใจ การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ: 1) พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อการจัดการสุขภาพของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ และ 2) สังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบาย การใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ใช้รูปแบบการวิจัยชนิดผสมผสานวิธี (Mixed method research) ชนิดการวิจัยเพื่อพัฒนา (Research and Development design) ร่วมกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) กระบวนการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อการจัดการสุขภาพ ระยะที่ 2 การประเมินการนำข้อมูลระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ด้านสุขภาพไปใช้ในการตัดสินใจ และระยะที่ 3 การสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อตัดสินใจในการจัดการสุขภาพของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ โดยศึกษาในพื้นที่ 2 อำเภอของจังหวัดนครสวรรค์ ผลการศึกษา พบว่า 1. การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อการจัดการสุขภาพ มี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาชุดข้อมูลที่จำเป็น ขั้นตอนที่ 2 การแจกแจงแหล่งที่มาของข้อมูลทั้งในฐานข้อมูลเดิมและสำรวจเพิ่มเติม ขั้นตอนที่ 3 การเชื่อมโยงข้อมูลที่จำเป็นจากฐานข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในอำเภอ ขั้นตอนที่ 4 การสร้างเงื่อนไขการวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อนำเสนอข้อมูลตามพิกัดภูมิศาสตร์ของแผนที่จริงหรือเรียกว่า “สารสนเทศทางภูมิศาสตร์” (Geographic information system: GIS) เพื่อนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ (http://118.175.82.80/dhb/web/index.php) ซึ่งประชาชนทั่วไป หรือคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ 2 อย่าง คือผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ โดยมีสิทธิในการเข้าถึงระดับของข้อมูลไม่เท่ากัน และขั้นตอนที่ 5 คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอนำมาใช้ในการตัดสินใจกำหนดประเด็นพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน วางแผนดำเนินการและประเมินผลลัพธ์การดำเนินงาน 2. ผลลัพธ์การนำข้อมูลระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ด้านสุขภาพไปใช้ในการตัดสินใจ พบว่า ผลลัพธ์การดูแลคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจากคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอในประเด็นการดูแลระยะยาวกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ผลการประเมินผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้สูงอายุพบว่า ผู้สูงอายุส่วนมากได้รับการดูแลจากคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างทั่วถึง เข้าถึงการบริการสุขภาพและสวัสดิการของรัฐตามความจำเป็นได้ และมีทักษะการดูแลตัวเองให้สามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนจากโรคที่เป็นอยู่ได้ 3. ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อตัดสินใจในการจัดการสุขภาพของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ได้ 4 ประเด็น คือ 1) การมีฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (District Health Data Center for quality of life improvement) 2) จัดโครงสร้างองค์กรในการจัดการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ 3) การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอในการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจจัดการสุขภาพของประชาชน และ 4) กระบวนการแลกเปลี่ยนการดำเนินงานเพื่อการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ดังนั้น การใช้ข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อการตัดสินใจพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ทำให้คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอใช้ข้อมูล เชิงประจักษ์ที่สอดคล้องกับบริบทเชิงพื้นที่ในสภาพการณ์จริง จึงนำไปสู่การจัดการสุขภาพของประชาชน ให้เกิดสุขภาวะอันเป็นรากฐานแนวคิดของระบบสุขภาพอำเภอที่ว่า “การพัฒนาที่ใช้พื้นที่เป็นฐานประชาชนเป็นศูนย์กลาง” ที่เป็นจริงได้en_EN
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectGeographic Information Systemsth_TH
dc.subjectระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์th_TH
dc.subjectDistrict Health Systemth_TH
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อการจัดการสุขภาพ ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอth_TH
dc.title.alternativeThe Geographic Information System for Health Management of District Health Boarden_EN
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeDistrict health system considered as a lever point to improve the quality of life of people which mechanism of driving in the district area rely on district health board in which the development process would be sustainable successfully, the process must be consistent with the context of the area and the empirical information is needed for the decision. The objectives of this study were to develop the geographic information system for health management of the district health board and to synthesize the purposed policy of using the geographic information system to improve quality of life among population in the area. Mixed method of research and development design integrated with participatory action research (PAR) were applied in the study. The study processes divided into three phases: phase 1: the development of geographic information system to improve quality of life, phase 2: the assessment of the implementation of the system, and phase 3: the synthesis of purposed policy in the development of the system. The study was set in two districts of Nakhonsawan province. The finding showed that: 1. The development of geographic information system to improve quality of life had five steps: 1) the study of essential information, 2) the distribution of data resources both in an original database and new information, 3) the connection of essential information from the database of organizations which related to the improvement of quality of life among population in the area, 4) the creation of conditions for analyzing data and presenting in the program that called Geographic information system: GIS through website (http://118.175.82.80/dhb/web/index.php) in which general population and the district health board can access to by computer and mobile phone but in a different level, and 5) the implementation combines with decision making in determine issues for improving quality of life of people, planning and evaluation 2. The assessment of the implementation of the system revealed that the for the long term care of vulnerable group, especially the elderly is thoroughly taken planning of care, can access to essential services and social welfare, and having skills for self-care that help to reduce the risk of complication from their existing diseases. 3. The synthesis of purposed policy in the development of the system had four issues:1) having district health data center for quality of life improvement, 2) having organizational structure in geographic information system management, 3) having the potential development of the committee in using information for decision making related to public health, and 4) having an exchange process for learning from practice. Therefore, in using geographic information system for the decision making to improve the quality of life of people in the area, the district health board must use the empirical information which consistent with the context of those areas. These will lead to the management of population health which is the true concept base of the district health system as saying that “The development that use community as base and people as center”.th_TH
dc.identifier.callnoW26.5 จ285ก 2562
dc.identifier.contactno61-019
dc.subject.keywordระบบสุขภาพอำเภอth_TH
.custom.citationจันทิมา นวะมะวัฒน์, Juntima Nawamawat, วิภาพร สิทธิสาตร์, Vipaporn Sittisart, กฤษฎา เหล็กเพชร, Kritsada Lekphet, ไพศาล เธียรถาวร and Pisan Teantawarn. "การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อการจัดการสุขภาพ ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5107">http://hdl.handle.net/11228/5107</a>.
.custom.total_download361
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year40
.custom.downloaded_fiscal_year13

Fulltext
Icon
Name: hs2512.pdf
Size: 4.875Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record