dc.contributor.author | พิชเยนทร์ ดวงทองพล | th_TH |
dc.contributor.author | Pichayen Dungthongphon | th_TH |
dc.contributor.author | อำนาจ กิจควรดี | th_TH |
dc.contributor.author | Amnat Kitkhuandee | th_TH |
dc.contributor.author | อรอนงค์ วลีขจรเลิศ | th_TH |
dc.contributor.author | Onanong Waleekhachonloet | th_TH |
dc.date.accessioned | 2019-12-25T03:04:39Z | |
dc.date.available | 2019-12-25T03:04:39Z | |
dc.date.issued | 2562 | |
dc.identifier.other | hs2523 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5126 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองและการเข้าถึงการรักษา และผลลัพธ์ในผู้ป่วยที่ได้รับหัตถการ clipping หรือ coiling รวมทั้ง 2) ศึกษาว่าอุปกรณ์ขดลวดสำหรับ coiling ควรบรรจุอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือไม่ ผลการศึกษาพบว่า ในประเทศไทยจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับ coiling มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระยะหลัง (พ.ศ.2555-2561) สำหรับผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น อัตราการเพิ่มขึ้นของการทำ clipping ยังสูงกว่า coiling มาก แม้ว่าหัตถการ coiling จะได้รับความนิยมในต่างประเทศ การศึกษาครั้งนี้พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับ clipping ในระยะหลังปี พ.ศ. 2555 มีอัตราการรอดชีพที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงปีก่อนหน้า จึงยังไม่สามารถตอบโจทย์สมมติฐานที่ว่า ผู้ป่วยที่ได้รับ clipping น่าจะเป็นผู้ป่วยที่มีอาการหนักและมีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่า coiling หรือเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับ coiling ได้ ผู้ป่วยที่ได้รับหัตถการ clipping จาก รพ.มหาวิทยาลัย จะมีอัตราการรอดชีพสูงกว่าผู้ป่วยที่ได้รับหัตถการจาก รพ.ศูนย์/ รพ.นอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และผู้ป่วยที่ได้รับหัตถการจาก รพ.ที่ทำหัตถการมากกว่า 30 รายต่อปี จะมีอัตราการรอดชีพสูงกว่า รพ. ที่มีการทำหัตถการจำนวนน้อยราย นอกจากนี้การเข้าถึงบริการการรักษา และผลลัพธ์การรักษามีความแตกต่างกันระหว่างเขตสุขภาพ ดังนั้น ควรมีการร่วมมือกันในระดับเขต ในการจัดระบบส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา รวมทั้งต้องเพิ่มการผลิตแพทย์ที่สามารถทำหัตถการ coiling ได้โดยเฉพาะในระดับ รพ.มหาวิทยาลัย ผลการศึกษาในส่วนต้นทุนประสิทธิผลที่อาศัยแบบจำลองมาร์คอฟ พบว่า เมื่อเทียบกับ clipping หัตถการ coiling สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย (cost saving) ได้ ดังนั้นจึงควรพิจารณาบรรจุขดลวด (coil) ในชุดสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Cerebral Aneurysm | th_TH |
dc.subject | โรคหลอดเลือดสมอง | th_TH |
dc.subject | ต้นทุนต่อหน่วย | th_TH |
dc.subject | Unit Cost | th_TH |
dc.subject | หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ | th_TH |
dc.subject | Universal Health Coverage | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | แนวโน้มอุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง อัตราการรอดชีพหลังรับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดหนีบหลอดเลือดโป่งพองและวิธีอุดหลอดเลือดโป่งพองด้วยขดลวดในประเทศไทย และการวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผล | th_TH |
dc.title.alternative | Trends of incidence and survivals of clipping and coiling for cerebral aneurysm in Thailand and their cost-effectiveness analysis | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research had two major objectives: 1) to determine incidence, access to treatment and clinical outcomes of patients with cerebral aneurysm who received clipping or coiling procedures; and 2) to examine whether coiling instrument should be included in the reimbursable list of beneficial package for patients under the Universal Coverage Scheme. Although coiling procedure has been performed worldwide, a slightly increasing rate of patients receiving coiling procedure in Thailand was observed during 2012-2018. In addition, increasing rate of patients under the Universal Coverage Scheme receiving clipping was significantly higher than that of those receiving coiling. Since the year 2012, survival rate among patients undertaking clipping was higher than the rate in 2006-2011. This finding did not support the hypothesis that patients receiving clipping had poorer prognosis than those receiving coiling or clipping was performed only in those who were not candidate to coiling. Survival rate of patients receiving clipping in the university hospitals was higher than those in the Ministry of Public Health (MOPH) hospitals and non-MOPH hospitals. Survival rate in hospitals with high volume of intervention (clipping or coiling >30 cases/year) was higher than the hospitals with low volume of intervention. Access to treatment and clinical outcomes varied across the health regions. Collaboration among the health regions to improve referral system for enhancing the service efficiency and patient outcomes should be addressed. Planning for neurosurgery or radiology manpower who have a specialized training for endovascular coiling should be considered, especially in the university hospitals. Based on the societal perspective, incremental cost effectiveness ratio (ICER) of coiling as compared to clipping was cost saving. Therefore, coiling instrument should be included in the reimbursable list of beneficial package for patients under the Universal Coverage Scheme. | th_TH |
dc.identifier.callno | WL355 พ639น 2562 | |
dc.identifier.contactno | 61-040 | |
dc.subject.keyword | โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง | th_TH |
.custom.citation | พิชเยนทร์ ดวงทองพล, Pichayen Dungthongphon, อำนาจ กิจควรดี, Amnat Kitkhuandee, อรอนงค์ วลีขจรเลิศ and Onanong Waleekhachonloet. "แนวโน้มอุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง อัตราการรอดชีพหลังรับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดหนีบหลอดเลือดโป่งพองและวิธีอุดหลอดเลือดโป่งพองด้วยขดลวดในประเทศไทย และการวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผล." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5126">http://hdl.handle.net/11228/5126</a>. | |
.custom.total_download | 145 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 20 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 | |