dc.contributor.author | สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ | th_TH |
dc.contributor.author | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย | th_TH |
dc.date.accessioned | 2019-12-25T03:24:55Z | |
dc.date.available | 2019-12-25T03:24:55Z | |
dc.date.issued | 2562-09 | |
dc.identifier.other | hs2524 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5127 | |
dc.description.abstract | บทนำ ข้อมูลต้นทุนต่อหน่วยของกิจกรรมบริการทางการแพทย์ เป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญในการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยของชุดการบริการและข้อมูลต่อหน่วยของรายโรค ซึ่งเป็นฐานข้อมูลสำคัญประกอบการคำนวณอัตราจ่ายของกองทุนประกันสุขภาพทุกกองทุน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีข้อมูลต้นทุนบริการผู้ป่วย รายครั้ง/รายโรค/กลุ่มโรคด้วยวิธีมาตรฐานเพื่อนำมาใช้ประกอบในการคำนวณงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่เหมาะสม และมีระบบการวิเคราะห์และคำนวณต้นทุนของโรงพยาบาลให้กองทุนหลักประกันสุขภาพสามารถทราบถึงภาระต้นทุนจริงของโรงพยาบาลในการให้บริการสาธารณสุข โดยการสร้างเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลต้นทุนที่มีมาตรฐาน เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ต้นทุนด้วยวิธีต้นทุนจุลภาคในมุมมองของผู้ให้บริการ ซึ่งดำเนินการศึกษาต่อเนื่อง เริ่มศึกษาในปี 2561 มีโรงพยาบาลเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 6 โรงพยาบาล และในปีที่ 2 (2562) มีโรงพยาบาลสมัครใจเข้าร่วมโครงการเพิ่มอีก 8 แห่ง รวมโรงพยาบาลกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 14 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาลศูนย์ จำนวน 4 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไป จำนวน 1 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน ขนาด M จำนวน 4 แห่ง โรงพยาบาลชุมชนขนาด F1 จำนวน 1 แห่ง โรงพยาบาลชุมชนขนาด F2 จำนวน 2 แห่ง โรงพยาบาลชุมชนขนาด F3 จำนวน 1 แห่ง และโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านจิตเวช จำนวน 1 แห่ง ซึ่งโครงการนี้จะดำเนินการต่อเนื่องไปจนครบเวลา 5 ปี (ระยะที่ 1) เพื่อให้ได้ข้อมูลต้นทุนในจำนวนที่มากขึ้น แม่นยำ และถูกต้องมากขึ้น และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในโรงพยาบาลเพื่อบริหารจัดการต้นทุน และประโยชน์ในระดับนโยบายในการพัฒนาเครื่องมือวิธีจ่ายเงินให้มีความเป็นธรรมต่อผู้จ่ายและโรงพยาบาลมากขึ้น
ผลการศึกษา ในปีที่สองของการวิจัย เป็นการนำเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลต้นทุนที่พัฒนาและทดลองใช้ในการศึกษาปีที่ 1 ไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลต้นทุนในปีงบประมาณ 2561 เต็มปี (ในปีแรก ทดลองเก็บรวมรวบข้อมูล 6 เดือนตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2560 ถึง 31 มีนาคม 2561) ได้แก่ ข้อมูลค่าแรง ข้อมูลค่าวัสดุ ข้อมูลค่าเสื่อมราคาอาคารสถานที่และครุภัณฑ์ ข้อมูลทางคลินิก ข้อมูลการบริการและข้อมูลอื่น ๆ ของโรงพยาบาล ได้ข้อมูลต้นทุนครบถ้วน 13 โรงพยาบาล ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวม โรงพยาบาล 13 แห่ง มีต้นทุนเฉลี่ยในการรักษาผู้ป่วยนอก เท่ากับ 1,077 บาทต่อครั้ง ต้นทุนเฉลี่ยผู้ป่วยในต่อ AdjRW เท่ากับ 13,426 บาท เมื่อวิเคราะห์เป็นรายกลุ่มโรงพยาบาล พบว่า ต้นทุนเฉลี่ยในการรักษาผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลศูนย์ 1,103 บาทต่อครั้ง ต้นทุนเฉลี่ยผู้ป่วยในต่อ AdjRW เท่ากับ 13,125 บาท ต้นทุนเฉลี่ยในการรักษาผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลทั่วไป 1,350 บาทต่อครั้ง ต้นทุนเฉลี่ยผู้ป่วยในต่อ AdjRW เท่ากับ 12,689 บาท โรงพยาบาลชุมชน M2 มีต้นทุนเฉลี่ย 754 บาทต่อครั้งผู้ป่วยนอก และ 17,354 บาทต่อ AdjRW โรงพยาบาลชุมชน F1 มีต้นทุนเฉลี่ย 734 บาทต่อครั้งผู้ป่วยนอก และ 9,970 บาทต่อ AdjRW โรงพยาบาลชุมชน F2 มีต้นทุนเฉลี่ย 1,077 บาทต่อครั้งผู้ป่วยนอก และ 15,377 บาทต่อ AdjRW และโรงพยาบาลชุมชน F3 มีต้นทุนเฉลี่ย 605 บาทต่อ ครั้งผู้ป่วยนอก และ 14,101 บาทต่อ AdjRW สำหรับโรงพยาบาลเฉพาะทางจิตเวช ต้นทุนเฉลี่ย 1,991 บาทต่อครั้งผู้ป่วยนอก และ 27,743 บาทต่อ AdjRW ต้นทุนรายโรคในผู้ป่วยนอก กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานแบบผู้ป่วยนอก ในภาพรวมมีต้นทุนเฉลี่ย เท่ากับ 1,740 บาทต่อครั้ง โดยโรงพยาบาลศูนย์ มีต้นทุนเฉลี่ย 2,065 บาทต่อครั้ง เป็นค่ายาเฉลี่ย 1,625 บาทต่อครั้ง โรงพยาบาลชุมชน F2 มีต้นทุนเฉลี่ย 2,271 บาทต่อครั้ง เป็นค่ายาเฉลี่ย 1,226 บาทต่อครั้ง ผู้ป่วยในกลุ่ม DRG 06570 Infectious gastroenteritis age > 9 wo sig CCC ภาพรวม มีต้นทุนเฉลี่ย 5,703 บาทต่อราย โดย โรงพยาบาลศูนย์ มีต้นทุนเฉลี่ย 5,695 บาทต่อราย โรงพยาบาลทั่วไป 6,963 บาทต่อราย โรงพยาบาลชุมชน F2 5,845 บาทต่อราย และโรงพยาบาลชุมชน F3 มีต้นทุนเฉลี่ย 8,021 บาทต่อราย
ข้อเสนอแนะ: การออกแบบวิธีการให้ได้ข้อมูลต้นทุนมีการเปลี่ยนแปลงจากฐานความคิดแบบเดิมคือการศึกษาเป็นครั้งๆ ที่หน่วยงานเป้าหมายเป็นเพียงผู้เก็บข้อมูล มาเป็นการสร้างระบบมาตรฐานที่ทำให้งานประจำมีการบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบไม่ยุ่งยากและผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลดำเนินการได้เอง ซึ่งการดำเนินการในระยะที่ 1 นอกจากได้ข้อมูลที่นำมาคำนวณต้นทุนบริการได้แล้วยังเป็นการวางระบบให้โรงพยาบาลสามารถดำเนินการต่อเนื่องไปได้ซึ่งจะพัฒนาเป็นหน่วยเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องของระบบข้อมูลข่าวสารด้านต้นทุนที่มีความน่าเชื่อถือ การคำนวณผู้ป่วยรายบุคคลในการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดสรรงบประมาณให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงของโรงพยาบาล และพัฒนาการเก็บข้อมูลต้นทุนบริการของประเทศไทยในอนาคตต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Unit Cost | th_TH |
dc.subject | Cost of Service | th_TH |
dc.subject | ต้นทุนบริการ | th_TH |
dc.subject | ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) | th_TH |
dc.subject | ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | ผลการวิเคราะห์ต้นทุนรายโรค ระยะที่ 1 ปีที่ 2 | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
.custom.citation | สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ and สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย. "ผลการวิเคราะห์ต้นทุนรายโรค ระยะที่ 1 ปีที่ 2." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5127">http://hdl.handle.net/11228/5127</a>. | |
.custom.total_download | 129 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 20 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 3 | |