แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ทัศนคติของบุคลากรสุขภาพต่อการให้บริการสุขภาพแก่คนต่างด้าวและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

dc.contributor.authorอรอนงค์ วิชัยคำth_TH
dc.contributor.authorOrn-Anong Wichaikhumth_TH
dc.contributor.authorกุลวดี อภิชาติบุตรth_TH
dc.contributor.authorKulwadee Abhicharttibutrath_TH
dc.contributor.authorอภิรดี นันท์ศุภวัฒน์th_TH
dc.contributor.authorApiradee Nantsupawatth_TH
dc.date.accessioned2020-01-09T03:36:35Z
dc.date.available2020-01-09T03:36:35Z
dc.date.issued2563-01
dc.identifier.otherhs2514
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5140
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบหาปัจจัยทำนาย (Descriptive Predictive Design) ใช้วิธีรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในเชิงปริมาณเป็นการศึกษาทัศนคติของบุคลากรสุขภาพต่อการให้บริการสุขภาพคนต่างด้าว เปรียบเทียบทัศนคติของบุคลากรสุขภาพต่อการให้บริการสุขภาพคนต่างด้าวระหว่างบุคลากรสายวิชาชีพด้านสุขภาพและสายสนับสนุนด้านสุขภาพ หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงปัจเจกและปัจจัยเชิงระบบต่อทัศนคติของบุคลากรสุขภาพในการให้บริการสุขภาพ ส่วนในเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาทัศนคติและประสบการณ์เกี่ยวกับการให้บริการสุขภาพแก่คนต่างด้าวของบุคลากรสุขภาพ เกี่ยวกับนโยบายและการจัดบริการสุขภาพและปัจจัยสนับสนุนในการดำเนินงานให้บริการกับคนต่างด้าว กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรด้านสุขภาพที่มีประสบการณ์ในการให้บริการกับคนต่างด้าวอย่างน้อย 6 เดือนที่ปฏิบัติงานใน 11จังหวัดชายแดน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,356 ราย จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และมีกลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์ที่เลือกแบบเฉพาะเจาะจงอีก 20 คน ผู้วิจัยพัฒนาเครื่องมือวิจัยจากการทบทวนวรรณกรรมคือ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมและบริบทของคนต่างด้าวและแบบสอบถามทัศนคติของบุคลากรสุขภาพต่อการให้บริการสุขภาพคนต่างด้าว ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ได้ค่า Content Validity Index (CVI) เท่ากับ 0.85 และ 0.81 ตามลำดับ และได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach's Alpha) เท่ากับ 0.81 และ 0.78 ตามลำดับเช่นกัน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ Mann-Whitney U Test และ Spearman's rank-order correlation ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีทัศนคติทางบวกต่อการให้บริการสุขภาพแก่คนต่างด้าวโดยภาพรวม (91.22%) ทัศนคติต่อการให้บริการสุขภาพแก่คนต่างด้าวของบุคลากรด้านสุขภาพระหว่างบุคลากรสายวิชาชีพด้านสุขภาพ และบุคลากรสายสนับสนุนด้านสุขภาพไม่มีความแตกต่างกัน ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมและบริบทของคนต่างด้าวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติของบุคลากรสุขภาพต่อการให้บริการสุขภาพแก่คนต่างด้าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= .152, p value=.000) (โดยควบคุมตัวแปร อายุ เพศ ตำแหน่งงาน ประสบการณ์ในการทำงาน ประสบการณ์การทำงานให้บริการแก่คนต่างด้าว และการได้รับการอบรมเกี่ยวกับการดูแลผู้รับบริการสุขภาพต่างวัฒนธรรม) นอกจากนั้นความเหมาะสมของการจัดบริการสุขภาพโดยเฉพาะแก่คนต่างด้าว จำนวนอาสาสมัครแปลภาษา (ล่าม) ในการให้บริการ จำนวนคู่มือ สื่อการสอน ป้ายต่างๆ ที่ใช้ภาษาที่สื่อสารได้สำหรับคนต่างด้าว และจำนวนของผู้ให้บริการสุขภาพโดยเฉพาะแก่คนต่างด้าว มีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติของบุคลากรสุขภาพต่อการให้บริการสุขภาพแก่คนต่างด้าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.120, p=.000; r=.063, p=.021;r=.060, p=.027;r=.133, p=.000) ปัจจัยทำนาย ได้แก่ ความเหมาะสมของจำนวนของผู้ให้บริการสุขภาพโดยเฉพาะแก่คนต่างด้าวและความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมและบริบทของคนต่างด้าวสามารถร่วมอธิบายความแปรปรวนของทัศนคติของบุคลากรสุขภาพได้ร้อยละ 3.6 (Nagelkerke R2) การเพิ่มขึ้นของความเหมาะสมของจำนวนของผู้ให้บริการสุขภาพโดยเฉพาะแก่คนต่างด้าวความเหมาะสมของการจัดบริการสุขภาพโดยเฉพาะแก่คนต่างด้าว ตามการรับรู้ 1 คะแนน จะมีโอกาสเพิ่มขึ้นของทัศนคติต่อการให้บริการสุขภาพแก่คนต่างด้าวในทางบวก 1.32 เท่า (Exp(B)=1.32, p=.000) และการเพิ่มขึ้นของความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมและบริบทของคนต่างด้าว 1 คะแนน จะมีโอกาสเพิ่มขึ้นทัศนคติต่อการให้บริการสุขภาพแก่คนต่างด้าวในทางบวก 1.02 เท่า (Exp(B)=1.02, p=.000) ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า 1) ทัศนคติต่อทัศนคติต่อการให้บริการสุขภาพแก่คนต่างด้าวทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ทัศนคติเชิงบวก ได้แก่ คนต่างด้าวเป็นมิตร คนต่างด้าวมีความเท่าเทียมกับคนไทย คนต่างด้าวเป็นแรงงานที่ถูกกฎหมาย เป็นการปฏิบัติตามหลักมนุษยธรรม เป็นหน้าที่รับผิดชอบ และเชิงลบคือคนต่างด้าวเป็นภาระทางการเงินของประเทศไทย คนต่างด้าวเป็นภาระในการบริหารจัดการของโรงพยาบาล คนต่างด้าวแย่งโอกาสคนไทย คนต่างด้าวนำโรคร้ายแรงเข้ามาในประเทศไทย คนต่างด้าวเพิ่มภาระงานให้บุคลากรสุขภาพ คนต่างด้าวไม่ให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาล คนต่างด้าวน่ากลัวและไม่เป็นมิตร คนต่างด้าวเป็นชนกลุ่มน้อยที่มาอาศัยในประเทศไทย และ 2) ปัจจัยที่ส่งเสริมการมีทัศนคติเชิงบวกคือ ปัจจัยด้านปัจเจก ได้แก่ การมีความรู้เกี่ยวกับความเชื่อและวัฒนธรรมคนต่างด้าว และปัจจัยเชิงระบบประกอบด้วย มีนโยบายการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว ระบบการบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพโดยมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ สื่อที่ใช้ในการให้บริการสุขภาพ การมีล่ามช่วยในการสื่อสาร ส่วนปัจจัยที่ทำให้เกิดทัศนคติเชิงลบของบุคลากรสุขภาพในการให้บริการสุขภาพแก่คนต่างด้าวสำหรับปัจจัยปัจเจก ได้แก่ พฤติกรรมที่ไม่น่าพึงประสงค์คนต่างด้าว และปัจจัยเชิงระบบ ได้แก่ จำนวนคนต่างด้าวที่มารับบริการเพิ่มมากขึ้น และอุปสรรคในการสื่อสาร ผู้บริหารโรงพยาบาลและกระทรวงสาธารณสุขสามารถใช้ผลการศึกษานี้ในการส่งเสริมให้เกิดทัศนคติที่ดีของบุคลากรสุขภาพต่อการให้บริการสุขภาพในการปรับเปลี่ยนมุมมองหรือทัศนคติของบุคลากรด้านสุขภาพต่อคนต่างด้าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการสุขภาพและแก้ไขปัญหาของคนต่างด้าวได้ในระยะยาวth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectคนต่างด้าวth_TH
dc.subjectMigrantsth_TH
dc.subjectแรงงานต่างด้าวth_TH
dc.subjectMigrant Workersth_TH
dc.subjectทัศนคติของบุคลากรสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบริการทางการแพทย์th_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleทัศนคติของบุคลากรสุขภาพต่อการให้บริการสุขภาพแก่คนต่างด้าวและปัจจัยที่เกี่ยวข้องth_TH
dc.title.alternativeHealth workers’ attitude towards health services for migrants and related factorsth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis descriptive predictive design aimed to employ quantitative and qualitative approaches. The quantitative study was designed to describe health workers’ attitude towards health services for migrants, compare the attitude between professional and supportive health workers, and examine correlation between personal and system factors and health workers’ attitude towards health services for migrants. For qualitative part, it focused on health workers’ attitude towards health services for migrants as well as their experiences regarding policy, health services, and facilitating factors. The sample was health workers with 6 month-experience and practice in 11 border provinces. The sample consisted of 1,356 health workers with additional 20 purposive subjects for the interview. The researchers developed the Knowledge of Migrant’s Culture and Context and the Health Worker’s Attitude towards Health Services for Migrants questionnaires based on the review of literature. The content was validated by 5 experts. The Content Validity Index (CVI) were 0.85 and 0.81, respectively as well as Cronbach's Alpha Coefficient also were 0.85 and 0.81, respectively. The data was analyzed by Mann-Whitney U Test and Spearman's rank-order correlation. Content analysis was done for qualitative data. The quantitative results found that the majority of the health workers (91.22%) had positive attitude towards health services for migrants. There was no difference of attitude towards health services for migrants between professional and supportive health workers. Knowledge of migrant’s culture and context was statistically positively significant correlated to attitude towards health services for migrants among health workers (r= .152, p value=.000) (when controlling for age, sex, work status, work experiences, work experience with migrants, and trans-cultural training programs for health workers). The appropriateness of special health services, number of translators for migrants including handbooks, media, labels used in communication with migrants, and number of health workers for health services for migrants were statistically positively significant correlated to attitude towards health services for migrants among health workers (r=.120, p=.000; r=.063, p=.021; r=.060, p=.027; r=.133, p=.000). The results from Binary Logistics Regression revealed that the subjects have an increasing 1 score of Knowledge of migrant’s culture and context, they have an increased likelihood of positive attitude towards health services for migrants 1.32 times ((Exp(B)=1.32, p=.000).Furthermore, the subjects have an increasing 1 score of perceived number of health workers for health services for migrants, they have an increased likelihood of positive attitude towards health services for migrants 1.02 times ((Exp(B)=1.02, p=.000). The qualitative findings revealed that 1) health workers’ attitude towards health services for migrants were both positive and negative. Positive attitudes were to be friendly, equal treatment like Thai citizens, legal workers, best regards for human rights and being responsible. The negative attitudes were that migrants are financial burden for Thailand, obstacle for hospital management, take the jobs of native workers, bring dangerous communicable disease to Thailand, increase the workload of health workers, not adherent to treatment, scary, and unfriendly and the minority group in Thailand. 2) Facilitating individual factors to improve health workers’ positive attitude towards health services for migrants based on the knowledge related to beliefs and cultures of migrants. Facilitating system factors were having health screening and health insurance policy for migrants and effective health service system. Supportive factors included media in health service and having translators. Facilitating individual factors health workers’ negative attitude towards health services for migrants were undesirable behaviors, increased number of migrants receiving health services and communication obstacle were system factors. Hospitals executives and the ministry of public health can use the results from this study to promote health workers’ positive attitude towards health services for migrants. To alter their negative views or attitudes can lead to health services effectiveness and solve migrant health related services problem in the long run.th_TH
dc.identifier.callnoHB886 อ383ท 2563
dc.identifier.contactno61-047
.custom.citationอรอนงค์ วิชัยคำ, Orn-Anong Wichaikhum, กุลวดี อภิชาติบุตร, Kulwadee Abhicharttibutra, อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์ and Apiradee Nantsupawat. "ทัศนคติของบุคลากรสุขภาพต่อการให้บริการสุขภาพแก่คนต่างด้าวและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5140">http://hdl.handle.net/11228/5140</a>.
.custom.total_download293
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year26
.custom.downloaded_fiscal_year3

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2514.pdf
ขนาด: 2.227Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย