Cochlear Implants Registry in Thailand (CIRT) Project Phase II
dc.contributor.author | ภาธร ภิรมย์ไชย | th_TH |
dc.contributor.author | สุรเดช จารุจินดา | th_TH |
dc.contributor.author | วิราภรณ์ อัจฉริยะเสถียร | th_TH |
dc.contributor.author | ขวัญชนก ยิ้มแต้ | th_TH |
dc.contributor.author | สายสุรีย์ นิวาตวงศ์ | th_TH |
dc.contributor.author | จรินรัตน์ ศิริรัตนพันธ์ | th_TH |
dc.contributor.author | พรเทพ เกษมศิริ | th_TH |
dc.contributor.author | จิตรสุดา วัชรสินธุ์ | th_TH |
dc.contributor.author | สมุทร จงวิศาล | th_TH |
dc.contributor.author | สมชาย ศรีร่มโพธิ์ทอง | th_TH |
dc.contributor.author | มานัส โพธาภรณ์ | th_TH |
dc.contributor.author | สุวัจนา อธิภาส | th_TH |
dc.contributor.author | พนิดา ธนาวิรัตนานิจ | th_TH |
dc.contributor.author | ดาวิน เยาวพลกุล | th_TH |
dc.contributor.author | กัญญ์ทอง ทองใหญ่ | th_TH |
dc.contributor.author | เสาวรส ภทรภักดิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | นภัสถ์ ธนะมัย | th_TH |
dc.contributor.author | ศรัญ ประกายรุ้งทอง | th_TH |
dc.contributor.author | เพิ่มทรัพย์ อิสีประดิฐ | th_TH |
dc.contributor.author | วิชิต ชีวเรืองโรจน์ | th_TH |
dc.contributor.author | ศิริพร ลิมป์วิริยะกุล | th_TH |
dc.contributor.author | ภาณินี จารุศรีพันธุ์ | th_TH |
dc.contributor.author | กฤษณา เลิศสุขประเสริฐ | th_TH |
dc.contributor.author | กนกรัตน์ สุวรรณสิทธิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | จารึก หาญประเสริฐพงษ์ | th_TH |
dc.contributor.author | ศิวะพร เกียรติธนะบำรุง | th_TH |
dc.contributor.author | ตุลกานต์ มักคุ้น | th_TH |
dc.contributor.author | สุวิชา แก้วศิริ | th_TH |
dc.contributor.author | ทศพร อัจฉราเจริญยิ่ง | th_TH |
dc.contributor.author | ศณัฐธร เชาวน์ศิลป์ | th_TH |
dc.contributor.author | วันดี ไข่มุกด์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2020-01-24T02:40:19Z | |
dc.date.available | 2020-01-24T02:40:19Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.other | hs2531 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5145 | |
dc.description.abstract | การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมเป็นการรักษาทางเลือกเดียวในปัจจุบัน ซึ่งมุ่งแก้ไขความพิการทางการได้ยินของผู้ที่มีปัญหาการได้ยินทั้งสองข้างในระดับหูหนวกสนิทได้ แต่เนื่องจากการผ่าตัดชนิดนี้โดยเฉพาะอุปกรณ์ประสาทหูเทียมมีค่าใช้จ่ายสูงถึงเกือบหนึ่งล้านบาทต่อชุดอุปกรณ์ และการผ่าตัดมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงทำให้มีโอกาสถูกฟ้องร้องสูง อีกทั้งความสำเร็จของการผ่าตัดต่อการเพิ่มความสามารถทางการได้ยิน การสื่อสารและคุณภาพชีวิตยังขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ ระดับการได้ยินก่อนผ่าตัด สาเหตุและพยาธิสภาพของหูชั้นใน เส้นประสาทหูและสมองส่วนการได้ยิน ระยะเวลาตั้งแต่สูญเสียการได้ยินจนถึงการผ่าตัด พัฒนาการและการใช้ภาษาพูด ประสบการณ์ในการใช้เครื่องช่วยฟัง หรือการได้รับการฝึกฟังและฝึกพูดมาก่อน ความพร้อมทางร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย ความคาดหวังและความพร้อมในการติดตามการรักษา คุณลักษณะทางเทคนิคของอวัยวะเทียม เช่น จำนวนอิเล็กโทรดและซอฟแวร์ของเครื่องประมวลเสียง ทางราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย ได้จัดทำร่างเกณฑ์มาตรฐานการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมขึ้น และต้องการให้เกิดมีการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบโดยการลงทะเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดจากโรงพยาบาลหลายแห่งทั่วประเทศและการติดตามผลในระยะยาว ทั้งด้านผลตรวจการได้ยิน ความสามารถในการฟังเสียงพูดและการใช้ภาษา รวมถึงค่าใช้จ่ายและผลลัพธ์ที่เป็นคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยก่อนและหลังการผ่าตัด เพื่อจะทำให้ได้ฐานข้อมูลที่มากเพียงพอ ต่อการประเมินประสิทธิภาพความปลอดภัยและปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการผ่าตัดและสามารถใช้สำหรับการวางนโยบายทางสุขภาพระดับประเทศในเรื่องนี้ต่อไป รายงานประจำปีฉบับนี้ได้รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลตั้งแต่ 16 พฤษภาคม 2559 จนถึง 15 กันยายน 25621. รายงานสถานะของทะเบียนประสาทหูเทียมในประเทศไทย ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2562 มีข้อมูลผู้ป่วยในระบบทั้งหมด 357 คน แบ่งเป็นเพศชาย 189 คน (ร้อยละ 52.94) และเพศหญิง 168 คน (ร้อยละ 47.06) อายุเฉลี่ย 38.71 ± 23.32 ปี ส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่ (ร้อยละ 45.21) หากพิจารณาในเด็กส่วนใหญ่จะเป็นเด็กอายุ 2-4 ปี ที่ได้รับการประเมินเพื่อผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม (ร้อยละ 19.14) สาเหตุของความพิการทางหูส่วนใหญ่เกิดภายหลังคลอด (ร้อยละ 60) ที่เหลือเป็นแต่แรกเกิด (ร้อยละ 40) โดยเด็กที่เป็นแต่แรกเกิดส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุ (ร้อยละ 38) สาเหตุของความพิการที่พบบ่อยที่สุด คือ หลังการติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมอง (meningitis) พบร้อยละ 15.77 ระดับการได้ยินของผู้ป่วยเฉลี่ยของผู้ป่วยเท่ากับ 100 เดซิเบล คือ ระดับความพิการชนิดหูหนวก (> 90 เดซิเบล) ระดับความสามารถในการสื่อสาร (CAP Score) ของผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 0 คือ ไม่สามารถรับรู้หรือตอบสนองต่อเสียงในสิ่งแวดล้อมได้เลย 2. วิเคราะห์ผลการใส่ประสาทหูเทียมจากข้อมูลในทะเบียนประสาทหูเทียมในประเทศไทยหลังการผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียม ระดับการได้ยินที่ 500-4000 Hz ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่เดือนแรกหลังผ่าตัดและดีขึ้นถึงระดับประสาทหูเสื่อมเล็กน้อยในเดือนที่ 3 ระดับการได้ยินเสียงพูดดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่เดือนแรกหลังผ่าตัดสู่ระดับประสาทหูเสื่อมเล็กน้อย ระดับการจำแนกคำเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ หลังผ่าตัด โดยเริ่มคงที่อยู่ในระดับสามารถสื่อสารได้ตั้งแต่เดือนที่ 6 หลังการผ่าตัด ส่วนใหญ่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ส่วนน้อยที่มีปัญหาหน้าเบี้ยว วิงเวียน หรือประสาทหูเทียมหลุด 3. การวิเคราะห์เกณฑ์การเบิกจ่ายของกรมบัญชีกลาง เมื่อนำข้อมูลผู้ป่วยมาประเมินตามเกณฑ์การเบิกจ่ายของกรมบัญชีกลาง พบว่าในผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 15 ปี ส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์ของกรมบัญชีกลาง (ร้อยละ 82.35) โดยผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะมีเกณฑ์ที่ต้องพิจารณาเพียงข้อเดียว คือ มีประสาทหูเสื่อมหรือพิการทั้ง 2 ข้าง มีระดับการได้ยินตั้งแต่ 80 เดซิเบลขึ้นไป ส่วนผู้ป่วยจากสาเหตุอื่นๆ ที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 15 ปี ส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์ “ประสาทหูเสื่อมหรือพิการทั้ง 2 ข้าง มีระดับการได้ยินตั้งแต่ 80 เดซิเบลขึ้นไป” (ร้อยละ 85.45) แต่มักไม่ผ่านเกณฑ์ “ใช้เครื่องช่วยฟังไม่ได้ผลหรือได้ผลน้อยและมีค่าคะแนนการแยกคำพูดได้น้อยกว่าร้อยละ 50” มีผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์เพียงร้อยละ 5.45 ทำให้ผู้ป่วยรวมที่ผ่านเกณฑ์ทั้งหมดเหลือเพียง 5 ราย ใน 110 ราย (ร้อยละ 4.54) ในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 ปี ส่วนใหญ่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์ “การตอบสนองของเสียงผ่านก้านสมอง โดยระดับการได้ยินตั้งแต่ 90 เดซิเบลขึ้นไป” เท่ากับร้อยละ 82.91 และไม่ผ่านเกณฑ์ “มีการฟื้นฟูสมรรถภาพการฟังพูดมาก่อนและได้ผลน้อยจากการใช้เครื่องช่วยฟัง” โดยมีผู้ที่ผ่านเกณฑ์เพียงร้อยละ 15.12 ทำให้มีผู้ผ่านเกณฑ์ทั้งสองข้อเพียง 15 รายใน 117 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.82 ในผู้ป่วยอายุมากกว่า 5 ปี แต่น้อยกว่า 15 ปี ส่วนใหญ่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์ “การวัดการได้ยินดูการตอบสนองของเสียงจากการตรวจการได้ยิน ตั้งแต่ 80 เดซิเบลขึ้นไป หรือการตรวจก้านสมอง โดยมีระดับการได้ยินตั้งแต่ 90 เดซิเบลขึ้นไป” เท่ากับร้อยละ 95.59 แต่ทั้งหมดไม่ผ่านเกณฑ์ข้อสอง คือ “ใช้เครื่องช่วยฟังไม่ได้ผลหรือได้ผลน้อยและมีค่าคะแนนการแยกคำพูดได้น้อยกว่าร้อยละ 50” ทำให้ในกลุ่มผู้ป่วยอายุมากกว่า 5 ปี แต่น้อยกว่า 15 ปี ไม่มีใครผ่านเกณฑ์ของกรมบัญชีกลางเลย การประเมินความพร้อมทั่วไปของกรมบัญชีกลางมีจำนวนทั้งหมด 3 ข้อ ส่วนใหญ่จะผ่านเกณฑ์ข้อแรกและข้อที่สาม คือ “มีสุขภาพดี ไม่มีโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการผ่าตัด” และ “สามารถเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินหลังการผ่าตัดและติดตามผลเป็นระยะได้” เท่ากับร้อยละ 86.47 และ 99.06 ตามลำดับ ส่วนเกณฑ์ข้อที่สาม คือ “มีสุขภาพจิตและสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือต่ำกว่าปกติเล็กน้อย” กลับพบว่ามีผู้ที่ผ่านเกณฑ์เพียงร้อยละ 6.60 4. การพิจารณาเกณฑ์การเบิกจ่ายใหม่ของคณะอนุกรรมการหู ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย จากรายงานผลของการใส่ประสาทหูเทียมและผลการวิเคราะห์ผู้ป่วยตามเกณฑ์ของกรมบัญชีกลาง ทางคณะผู้วิจัยได้ร่วมประชุมกับคณะอนุกรรมการหู ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทยและได้แนวทางการปรับเกณฑ์การผ่าตัดใส่ประสาทหูเทียมใหม่ 5. การปรับปรุงฐานข้อมูลทะเบียนฐานข้อมูลได้เพิ่มเติมในส่วนของการติดตามคุณภาพภายใน ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปดูข้อสรุปข้อบ่งชี้ของผู้ป่วยแต่ละรายได้ว่าผ่านเกณฑ์ของกรมบัญชีกลางหรือไม่ โดยหากผ่านเกณฑ์จะมีเครื่องหมายถูกสีเขียวขึ้นในรายงาน ผู้ใช้งานสามารถใส่ email ของแพทย์ผู้รักษาและของผู้ป่วยเข้าไปในระบบ เพื่อให้มี email แจ้งเตือนก่อนถึงวันนัดได้ 1 สัปดาห์ และในแต่ละสถานพยาบาลจะมีตารางแยกเพื่อให้สามารถดูข้อมูลเฉพาะส่วนของตนเอง นอกจากภาพรวม | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | หูเทียม | th_TH |
dc.subject | Cochlear Implant | th_TH |
dc.subject | หู--ศัลยกรรม | th_TH |
dc.subject | ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | ทะเบียนประสาทหูเทียมในประเทศไทย ระยะที่ 2 | th_TH |
dc.title.alternative | Cochlear Implants Registry in Thailand (CIRT) Project Phase II | en_EN |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.identifier.callno | WV168 ภ411ค 2563 | |
dc.identifier.contactno | 61-070 | |
.custom.citation | ภาธร ภิรมย์ไชย, สุรเดช จารุจินดา, วิราภรณ์ อัจฉริยะเสถียร, ขวัญชนก ยิ้มแต้, สายสุรีย์ นิวาตวงศ์, จรินรัตน์ ศิริรัตนพันธ์, พรเทพ เกษมศิริ, จิตรสุดา วัชรสินธุ์, สมุทร จงวิศาล, สมชาย ศรีร่มโพธิ์ทอง, มานัส โพธาภรณ์, สุวัจนา อธิภาส, พนิดา ธนาวิรัตนานิจ, ดาวิน เยาวพลกุล, กัญญ์ทอง ทองใหญ่, เสาวรส ภทรภักดิ์, นภัสถ์ ธนะมัย, ศรัญ ประกายรุ้งทอง, เพิ่มทรัพย์ อิสีประดิฐ, วิชิต ชีวเรืองโรจน์, ศิริพร ลิมป์วิริยะกุล, ภาณินี จารุศรีพันธุ์, กฤษณา เลิศสุขประเสริฐ, กนกรัตน์ สุวรรณสิทธิ์, จารึก หาญประเสริฐพงษ์, ศิวะพร เกียรติธนะบำรุง, ตุลกานต์ มักคุ้น, สุวิชา แก้วศิริ, ทศพร อัจฉราเจริญยิ่ง, ศณัฐธร เชาวน์ศิลป์ and วันดี ไข่มุกด์. "ทะเบียนประสาทหูเทียมในประเทศไทย ระยะที่ 2." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5145">http://hdl.handle.net/11228/5145</a>. | |
.custom.total_download | 32 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 3 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Research Reports [2397]
งานวิจัย