Show simple item record

System management and budget estimation for HIV/AIDS benefit for migrant in Thailand

dc.contributor.authorระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์th_TH
dc.contributor.authorRapeepong Suphanchaimatth_TH
dc.contributor.authorสิรินาฏ นิภาพรth_TH
dc.contributor.authorSirinard Nipaphronth_TH
dc.contributor.authorหทัยรัตน์ โกษียาภรณ์th_TH
dc.contributor.authorHathairat Kosiyapornth_TH
dc.contributor.authorเยาวลักษณ์ แหวนวงษ์th_TH
dc.contributor.authorYaowaluk Wanwongth_TH
dc.contributor.authorสตพร จุลชูth_TH
dc.contributor.authorSataporn Julchooth_TH
dc.contributor.authorพิกุลแก้ว ศรีนามth_TH
dc.contributor.authorPigunkaew Sinamth_TH
dc.contributor.authorวราภรณ์ ปวงกันทาth_TH
dc.contributor.authorWaraporn Poungkanthath_TH
dc.contributor.authorมธุดารา ไพยารมณ์th_TH
dc.contributor.authorMathudara Phaiyaromth_TH
dc.contributor.authorวีระศักดิ์ พุทธาศรีth_TH
dc.contributor.authorWeerasak Putthasrith_TH
dc.date.accessioned2020-02-06T05:55:03Z
dc.date.available2020-02-06T05:55:03Z
dc.date.issued2562-05-31
dc.identifier.otherhs2533
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5162
dc.description.abstractการขยายหลักประกันสุขภาพให้ครอบคลุมบุคคลทุกคนที่อาศัยบนแผ่นดินไทยนั้น มีความพยายามในการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการจัดระบบหลักประกันสุขภาพให้แก่บุคคลต่างด้าวที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินไทย เพื่อเข้าถึงบริการสุขภาพ ทั้งนี้ การติดเชื้อ HIV/AIDS เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของคนต่างด้าวปัญหาหนึ่งและอาจส่งผลกระทบด้านสุขภาพกับประชากรไทย ซึ่งในปี พ.ศ. 2556 กระทรวงสาธารณสุขได้เพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านการป้องกันและรักษาผู้ป่วย HIV/AIDS ในชุดสิทธิประโยชน์ของบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว โดยมีการเพิ่มราคาบัตรประกันสุขภาพและนำส่วนต่างของเบี้ยประกันภัย 300 บาท นำมาใช้สำหรับความคุ้มครองโรค HIV/AIDS และกรณีค่าใช้จ่ายสูง แต่ยังมีกลุ่มผู้ป่วยต่างด้าวที่ติดเชื้อ HIV/AIDS และไม่มีประกันสุขภาพ จึงเป็นที่น่าสนใจว่าประเทศไทยจะพึงมีระบบการจัดการผู้ป่วยต่างด้าวที่เป็นโรค HIV/AIDS อย่างไรในสถานการณ์ปัจจุบัน งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมและมีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาสถานการณ์การให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยต่างด้าวที่ติดเชื้อ ทำการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ เพื่อคำนวณภาระค่าใช้จ่ายและทำการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มผู้กำหนดนโยบาย ผู้ให้บริการและองค์การพัฒนาเอกชนถึงสถานการณ์การให้บริการ 2. เพื่อศึกษาแนวทางการจัดบริการชดเชยค่าบริการทางการแพทย์กรณีดูแลรักษาผู้ที่ติดเชื้อ HIV/AIDS ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มกับผู้กำหนดนโยบาย ผู้ให้บริการและองค์การพัฒนาเอกชน และ 3. ทบทวนอัตราเบี้ยประกันภัย สำหรับสิทธิประโยชน์ด้านการป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรค HIV/AIDS สำหรับแรงงานต่างด้าว โดยใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ประกันภัย ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพบริการในการดูแลรักษาผู้ป่วยต่างด้าว HIV/AIDS ทั้งที่มีประกันสุขภาพและไม่มีประกันสุขภาพ ไม่มีความแตกต่างกัน เนื่องจากโรงพยาบาลใช้แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อ HIV/AIDS ประเทศไทยของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นแนวทางในการดูแลรักษา ภาระค่าใช้จ่ายที่โรงพยาบาลต้องแบกในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อ HIV/AIDS ที่มีบัตรประกันสุขภาพ ได้แก่ กรณีผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจะแบกรับค่าใช้จ่ายสำหรับค่ายา ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ กรณีผู้ป่วยใน โรงพยาบาลจะแบกรับภาระค่าใช้จ่ายจากค่ารักษาจากโรคฉวยโอกาส เนื่องจากได้รับชดเชยน้อยกว่าค่ารักษาที่เกิดขึ้นจริงที่เรียกระบบส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาในประเทศต้นทาง เป็นกลไกสำคัญในการสร้างการเข้าถึงบริการของผู้ป่วย HIV/AIDS ที่ไม่มีประกันสุขภาพและลดภาระการบริการของผู้ป่วยรายใหม่สำหรับแนวทางการจัดบริการกรณีดูแลรักษาผู้ป่วย HIV/AIDS ของประชากรต่างด้าวที่ไม่มีการประกันสุขภาพนั้น มี 2 แนวคิด ได้แก่ 1. ไม่ให้บริการดูแลรักษา แต่จะใช้ระบบส่งต่อผู้ป่วยให้ไปรับการดูแลรักษายังประเทศต้นทางของตน 2. ให้บริการดูแลรักษาโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ภายใต้แนวคิดความเป็นธรรมทางสุขภาพที่เป็นพื้นฐานสำคัญของความมั่นคงทางสุขภาพที่ให้ความสำคัญต่อสุขภาพมากกว่าการเงินการคลัง ผลการทบทวนอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับสิทธิประโยชน์การป้องกันและรักษาผู้ป่วย HIV/AIDS ที่เป็นแรงงานต่างด้าวนั้น จากการคำนวณจะได้เบี้ยประกันสุทธิเพียง 11.9 ถึง 32.5 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งต่ำกว่าอัตราที่กองทุนแรงงานต่างด้าวกำหนด กรณีดูแลและรักษาผู้ป่วย HIV/AIDS ที่ 300 บาทต่อคนต่อปี อย่างไรก็ตามการแปลผลการศึกษาในส่วนนี้พึงทำด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากเบี้ยประกันที่คำนวณได้นี้ยังไม่ได้รวมค่าบริหารจัดการส่วนอื่นร่วมด้วยและคำนวณบนสมมติฐานของการใช้บริการดูแลรักษา HIV/AIDS ที่ค่อนข้างต่ำ ข้อเสนอเชิงนโยบาย ได้แก่ 1. กองทุนผู้ประกันตนคนต่างด้าว ควรพิจารณานำเงินคงเหลือจากเบี้ยประกันกรณีค่าใช้จ่ายสูงและการรักษา HIV/AIDS ที่บริหารจัดการที่ส่วนกลางไปสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่สถานพยาบาลแบกรับอยู่ จากการดูแลผู้ป่วยต่างด้าวที่ตกหล่นจากการประกันสุขภาพ 2. กองทุนผู้ประกันตนคนต่างด้าว ควรปรับอัตราค่าบริการทางการแพทย์ที่กองทุนกำหนดไว้ให้สอดคล้องและเป็นไปตามต้นทุนของหน่วยบริการ และ 3.ควรมุ่งเน้นให้เกิดการดำเนินการจัดการ HIV/AIDS ในแรงงานต่างด้าวอย่างครบวงจร ทั้งนี้นอกจากกระบวนค้นหา ติดเชื้อรายใหม่และการรักษาแล้ว ควรต้องมีการป้องกันในการแพร่กระจายเชื้อจนเกิดผู้ติดเชื้อรายใหม่th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectหลักประกันสุขภาพแห่งชาติth_TH
dc.subjectUniversal Health Coverageth_TH
dc.subjectประชากรข้ามชาติth_TH
dc.subjectMigrantsth_TH
dc.subjectแรงงานข้ามชาติth_TH
dc.subjectโรคเอดส์th_TH
dc.subjectเอชไอวีth_TH
dc.subjectHIV/AIDSth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการจัดระบบชดเชยค่าบริการการแพทย์ กรณีสิทธิประโยชน์การป้องกันและรักษาโรคเอชไอวี/เอดส์ สำหรับประชากรต่างด้าวในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeSystem management and budget estimation for HIV/AIDS benefit for migrant in Thailandth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeAn attempt to expand health insurance coverage to ‘everybody’ on the Thai soil has been implemented for years, including the provision of a health insurance scheme for migrants living in the Thailand. HIV/AIDS is one of the major health problems of migrants that can cause public health threats to the wider Thai populations. In 2013, the Ministry of Public Health (MOPH) expanded the benefits of HIV/AIDS prevention and treatment for migrant patients in the national health insurance for migrants; however, this caused the mark up in the insurance premium. To date, part of the migrant insurance premium (300 Baht of the total 1,600 Baht) is earmarked for high cost treatment including HIV/AIDS benefit. Besides, there are still migrants who are not enrolled in the insurance. Therefore, it is imperative to explore how Thailand will cope with the HIV/AIDS problems among migrants. This study employed mixed-methods design. The study was comprised of three objectives. The first objective aimed to explore the situation of HIV/AIDS treatment among migrants through in-depth interviews with local healthcare staff and policy makers and review of the second objective used qualitative approach (in-depth interviews and focus group discussion) to investigate the viewpoints of various stakeholders on the way forward about HIV / AIDS management for migrants. The third objective employed actuarial method to estimate the premium for the HIV/AIDS benefits for migrants based on the current use and prevalence of migrants under the migrant insurance scheme. The results show that the practice of treatment for insured migrant patients with HIV/AIDS and the uninsured migrants did not show any significant difference. The However some hospitals still shouldered unpaid debt from providing care for the uninsured migrants and the reimbursement from the MOPH was not always sufficient to recoup the cost of care. A sound referral system is considered an effective mechanism to address this issue as migrants would be able to access service from the country of origin and there would be less cost burden on the Thai side. Concerning the viewpoints of the interviewees, there were a couple of ideas for the management of uninsured HIV/AIDS migrant patients. First, the uninsured migrants should not have rights to enjoy the services in Thailand. All of them need to be referred back to receive treatment in the country of origin. Second, the second idea is that the Thai healthcare providers should continue providing services for the uninsured without overly causing financial burden on the users. This idea was based on health security maxim that health status should be considered the prime concern while financing should be placed at lower priority. The results of premium estimate for HIV/AIDS benefit for migrants showed that the premium earmarked for HIV/AIDS treatment amounted to only 11.9 to 32.5 Baht per person per year—much lower than the existing premium which was set at 300 Baht per annum per capita. However, interpretation of this figure should be made with caution as the calculation did not include management cost and was based on an assumption that the migrants’ utilization rate of the care for HIV/AIDS was still low. Key policy recommendations were suggested. Firstly, the MOPH should consider using part of the left-over fund of the national migrant insurance scheme, which was initially earmarked for HIV/AIDS, to recoup the unpaid debt of the hospitals which was originated from the providing care for uninsured migrants. Secondly, the migrant insurance scheme should adjust its premium to better reflect the actual unit cost at the hospitals. Lastly, the whole course of care for HIV/AIDS management in migrants should be strengthened. This includes strengthening measures to prevent new cases alongside the treatment for existing patients.th_TH
dc.identifier.callnoW160 ร243ก 2562
dc.identifier.contactno61-030
.custom.citationระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์, Rapeepong Suphanchaimat, สิรินาฏ นิภาพร, Sirinard Nipaphron, หทัยรัตน์ โกษียาภรณ์, Hathairat Kosiyaporn, เยาวลักษณ์ แหวนวงษ์, Yaowaluk Wanwong, สตพร จุลชู, Sataporn Julchoo, พิกุลแก้ว ศรีนาม, Pigunkaew Sinam, วราภรณ์ ปวงกันทา, Waraporn Poungkantha, มธุดารา ไพยารมณ์, Mathudara Phaiyarom, วีระศักดิ์ พุทธาศรี and Weerasak Putthasri. "การจัดระบบชดเชยค่าบริการการแพทย์ กรณีสิทธิประโยชน์การป้องกันและรักษาโรคเอชไอวี/เอดส์ สำหรับประชากรต่างด้าวในประเทศไทย." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5162">http://hdl.handle.net/11228/5162</a>.
.custom.total_download91
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year7

Fulltext
Icon
Name: hs2533-ฉบับวิจัย.pdf
Size: 1.099Mb
Format: PDF
Icon
Name: hs2533-ฉบับพิมพ์.pdf
Size: 27.78Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record