The Evaluation of the implementation of 10th Participatory Health Region
dc.contributor.author | เมรีรัตน์ มั่นวงศ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Mereerat Manwong | th_TH |
dc.contributor.author | วีรวัฒน์ พันธ์ครุฑ | th_TH |
dc.contributor.author | Weerawat Phancrut | th_TH |
dc.contributor.author | กิตติ เหลาสุภาพ | th_TH |
dc.contributor.author | Kitti Laosupap | th_TH |
dc.contributor.author | ฐิติรัช งานฉมัง | th_TH |
dc.contributor.author | Thitirat Ngamchamung | th_TH |
dc.contributor.author | ปวีณา ลิมปิทีปราการ | th_TH |
dc.contributor.author | Pawena Limpiteeprakan | th_TH |
dc.contributor.author | ทักษิณ พิมพ์ภักดิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Taksin Pimpak | th_TH |
dc.date.accessioned | 2020-03-03T04:55:46Z | |
dc.date.available | 2020-03-03T04:55:46Z | |
dc.date.issued | 2562-07 | |
dc.identifier.other | hs2541 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5176 | |
dc.description.abstract | การวิจัยการประเมินผลการดำเนินงานเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) เขตสุขภาพที่ 10 เป็นการวิจัยเพื่อประเมินผล (Evaluation research) โดยใช้หลักการของ CIPP model ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต 10 ผู้เกี่ยวข้องที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้ง 5 จังหวัด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การตอบแบบสอบถาม การสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน ซึ่งข้อมูลที่ได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อ สถิติเชิงพรรณนาและสังเคราะห์เชิงแก่นสาระ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ การประเมินผลการอภิบาลในพื้นที่ การประเมินผลการดำเนินงานเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตสุขภาพที่ 10 โดยมุ่งเน้นประเด็นคานงัด 4 ประเด็น ได้แก่ การจัดการขยะและสิ่งปฏิกูล การลดอุบัติเหตุจากการจราจรทางถนน เกษตรอินทรีย์และระบบอาหารปลอดภัย และการพัฒนาเด็กปฐมวัย ประเมินคุณค่าของการดำเนินงานของคณะกรรมการเขตสุขภาพใน 5 ประเด็น คือ ร่วมประสาน ร่วมแลกเปลี่ยน ร่วมชี้ทิศทาง ร่วมบูรณาการ ร่วมระดับสรรพกำลังและทรัพยากรขับเคลื่อนและการสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายในการดำเนินการเขตสุขภาพต่อพื้นที่เขต 10 และส่วนกลางผล การศึกษาพบว่า การดำเนินงานของ กขป. คณะกรรมการทุกคนเข้าใจบริบท บทบาทหน้าที่ และเป้าหมายในการดำเนินงานของ กขป. แต่ใช้ระยะเวลาในการปรับจูนความเข้าใจเป็นเวลา 1-2 ปี จึงสามารถเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง คณะกรรมการ กขป. ได้มาโดยวิธีการสรรหาและการเลือกตาม 3 องค์กร คือหน่วยราชการ เอกชนและประชาสังคม ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 44 คน ซึ่งจัดเป็นคณะกรรมการที่มีจำนวนมาก แต่จำนวนผู้ที่สามารถดำเนินงานตามภารกิจของ กขป. โดยการเข้าร่วมประชุมสม่ำเสมอและปฏิบัติงานได้ตามบทบาทหน้าที่มีประมาณ 20 คน เท่านั้นและสัดส่วนของคณะกรรมการส่วนใหญ่จะได้มาจากจังหวัดอุบลราชธานีมากกว่าครึ่งหนึ่ง ไม่กระจายตามจังหวัดต่างๆ ที่เป็นจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบของเขต 10 หน่วยงานต้นสังกัดของคณะกรรมการทุกคนโดยเฉพาะในส่วนของภาครัฐให้การสนับสนุนด้วยดีเกี่ยวกับเรื่องการอนุมัติให้บุคลากรในสังกัดเข้าร่วมประชุม และร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงานประเด็นคานงัดและสถานที่ในการจัดประชุม ส่วนการสนับสนุนในเรื่องงบประมาณและทรัพยากรมีน้อยมากและเนื่องจาก กขป. มีหน้าที่ในการเชื่อมประสานการทำงานของเครือข่ายต่างๆ งบประมาณจึงไม่ได้มีเพื่อทำโครงการหรือดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับการทำงาน แต่เป็นงบประมาณเพื่อใช้ประกอบการดำเนินงานเชื่อมประสาน ซึ่งได้รับปีละหนึ่งล้านบาท ยังไม่เพียงพอสำหรับการดำเนินงานในพื้นที่เมื่อต้องมีการลงพื้นที่ในการดำเนินงานในประเด็นคานงัด การประเมินผลงานของ กขป. ผ่านตามเป้าหมายที่วางไว้ แต่ยังไม่บรรลุตามผลลัพธ์ที่ต้องการ เนื่องจากไม่มีเป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนงานที่ชัดเจน ผลผลิตที่ชัดเจนที่สุดของการดำเนินงานของ กขป. เขต 10 คือ ประเด็นคานงัด 4 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นอุบัติเหตุจราจรทางบก ประเด็นการจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ประเด็นการพัฒนาการเด็กปฐมวัยและประเด็นเกษตรอินทรีย์และอาหารปลอดภัย ซึ่งทุกประเด็นบรรลุตามแผนที่กำหนดคือ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานของประเด็นนี้ในแต่ละจังหวัด มีการกำหนดทิศทาง และการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่ มีการถอดบทเรียนในแต่ละประเด็น เพื่อนำไปสู่การขยายผลต่อยอดในพื้นที่อื่นๆ และมีการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงานเพื่อขยายผลในแต่ละประเด็นต่อไป การประเมินคุณค่าการดำเนินงานของคณะกรรมการ กขป. พบว่า มีภารกิจในการร่วมประสานและร่วมบูรณาการมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.6 คะแนน ส่วนภารกิจในการร่วมระดมสรรพ/ขับเคลื่อนเป็นภารกิจที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 3.1 คะแนน การประเมินผลการดำเนินงานของคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 10 โดยใช้หลักการของ CIPP Model พบว่าแม้มีความพยายามจะใช้หลักการประสาน 5 องค์ประกอบในการทำงาน แต่ยังขาดการวางน้ำหนักและจัดระบบ (Alignment and focusing) ที่จะขับเคลื่อนการทำงานให้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงรูปธรรมโดยเฉพาะในแง่ของการติดตามประเมินผล ซึ่งหากต้องมีการดำเนินงานของ กขป. ต่อไป ควรมีการสร้างความเชื่อมั่นในอุดมการณ์แห่งความต่อเนื่องและยั่งยืนของความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายสุขภาพในระดับเขตในประเด็นต่อไปนี้ คือ 1) การสร้างความมุ่งมั่นและเอาจริงเอาจังจากทุกระดับ โดยเฉพาะจากส่วนกลางที่ให้คณะกรรมการ กขป. มีลักษณะเป็นกลไกที่หลวมรู้สึกขาดความรู้สึกร่วม Common Goal และความภาคภูมิในองค์การ Organization 2) การพัฒนากลไกที่จะช่วยชี้แนะหรือนำทางและทดลองการทำงานเชิงระบบในเขตพื้นที่ 3) เพิ่มความชัดเจนในการสนับสนุนระบบบริหารจัดการทั้งในแง่กลไกการสร้างความเข้มแข็งแก่ทีมเลขานุการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการบริหารจัดการให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน 4) ควรมีการเรียนรู้รูปแบบและกลไกระบบการบริหารจัดการปัญหาระดับเขต reasonable management จากต่างประเทศหรือบางหน่วยงานในประเทศไทย เช่น คณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพเขตพื้นที่ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ดำเนินการมามากกว่า 15 ปีก็จะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารของ กขป. ในอนาคต 5). ในเชิงโครงสร้าง ควรมีสถานที่ในการทำงานของคณะกรรมการเขตสุขภาพที่ชัดเจน เพื่อการติดต่อประสานงานที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น 6) ในเชิงนโยบาย คณะกรรมการเขตสุขภาพ มีความจำเป็นต้องทำงานร่วมกับกลไกต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ เช่น คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) คณะกรรมการผู้สูงอายุจังหวัด เป็นต้น การสร้างกลไกห่วงโซ่การขับเคลื่อนทั้งในเชิงแผนปฏิบัติการ (operation plan) และตัวชี้วัด (Indicators) รวมทั้งกลไกด้านการจัดการความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge sharing) จะช่วยให้ปัญหาต่างๆ ตามภารกิจ 5 องค์ประกอบหลักของ กขป. ได้รับการพัฒนาและแก้ไขดีกว่าที่ผ่านมา การศึกษามีข้อจำกัดบางประการ กล่าวคือ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียหลักของเขตสุขภาพ รองลงมาคือข้อมูลจากทีมเลขานุการ ซึ่งมีความโน้มเอียงที่จะให้ข้อมูลเชิงบวกแก่ทีมวิจัย ข้อมูลจากผู้ที่มิได้เป็นกรรมการและคณะทำงานในเขตสุขภาพที่ 10 โดยเฉพาะจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ประชาชนที่เกี่ยวข้องในกลุ่มพื้นที่เป้าหมายของการดำเนินงานในแต่ละประเด็นคานงัดยังมีค่อนข้างน้อย จึงเป็นข้อจำกัดของข้อมูลดังกล่าว | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การประเมินผล | th_TH |
dc.subject | Evaluation | th_TH |
dc.subject | Evaluation Research | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Services System | th_TH |
dc.subject | การบริหารสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Public health administration | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การประเมินผลการดำเนินงานเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตสุขภาพที่ 10 | th_TH |
dc.title.alternative | The Evaluation of the implementation of 10th Participatory Health Region | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research is an evaluation of the 10th Participatory Health Region implementation using the principles of the CIPP model for collecting data from the Committee for Public Health Region 10 and stakeholders from 5 provinces. Data were collected by analyzing secondary data, in-depth interviews, focus groups, self-administered questionnaires, and practice observations. The obtained data were analyzed using content analysis together with descriptive statistics and synthesis content. This study has 4 objectives which are: 1) To assess the governance care in the area, 2) To evaluate the implementation of the 10th Participatory Health Region on issues related to governance results in health region 10, 3) To evaluate the performance of the health region committee, according to their mission by focusing on a leverage for reform issue, including solid waste problem, road traffic accident, food safety (organic farming) and early childhood development problems, 4) To assess the value of the health region committee's operations in 5 areas: co-ordinate, co-sharing, co-direction, co-integration, co-power and resource and synthesize policy proposals for implementation of the Health Region and the central government. The study indicated that every committee understands the context, roles, duties, and goals of Public Health Region 10, but it takes 1-2 years to adjust to the concept before being able to understand the roles and responsibilities. The board has a total of 44 people and is acquired through the recruitment method and selection is from 3 organizations which are government agencies, private organizations, and civil society. The number of the board who can carry out the tasks by attending the meeting regularly and able to work according to their roles and responsibilities, approximately 20 people only. More than half of the board came from Ubon Ratchathani province, which was not distributed in other provinces in the area of public health region 10. All agencies of the committee - especially the government sector - provide good support regarding the approval of personnel to attend meetings and become a part of the working committee on the local reform agenda. And also for support meeting places for the board. As for the budget and resources, there is very little support. Since this committee is responsible for the coordination of various networks, a budget is not available for operating projects or activities but only for coordination purposes. The budget received is one million baht per year which is not enough when there must be site visits in the area to support the leverage for reform issue. The performance evaluation of the board passed as planned but still did not reach the desired outcome as there is no clear goal and indicator of the success of the plan. The most obvious output was the leverage for reform issue of 4 issues, namely road traffic accidents, solid waste management, early childhood development and food safety/organic farming. All issues were met according to the plan, namely the operational committee for these issues is appointed in each province. There is a direction and working with other agencies in the area. Lessons are learned for each issue and lead to setting a target group for further expansion in other areas. Assessment of the operational value of the board found that coordinated and co-integration tasks had an average of 3.6 points, while the co-power and resource missions were of lower average value at 3.1 points. The performance evaluation of the health region 10 committees using the principles of the CIPP model found that despite efforts to use the 5 principles for coordination, it still had a lack of alignment and focus on driving work to lead to concrete changes, especially in terms of monitoring and evaluation. If it is necessary to continue this board, there should be confidence in the ideology of continuity and sustainability of cooperation from partners in the regional health network in the following areas: 1) Creating commitment and seriousness at every level - particularly from the central part - since the board has a loose mechanism and lack of common goal and pride in the organization. 2) Developing mechanisms to guide and experiment with systematic operations in area 3) Increase clarity in supporting management systems, both in terms of strengthening the secretarial team and the exchange of knowledge management to be continuous and sustainable. 4) There should be a form of learning for systematic management from foreign countries or agencies in Thailand. For example, the Sub-district Health Insurance Subcommittee of the National Health Security Office that has been in operation for over 15 years would benefit the administration of the board in the future. 5) In terms of structure, there should be a clear workplace in the health district committee for more concrete coordination. 6) In terms of the policy, the district health region committee is necessary to work with various mechanisms that existing in the areas such as the District Quality of Life Development Committee, the Provincial Elderly Committee, etc. It should create a chain of driving mechanisms in both operational planning and indicators including the knowledge management and sharing mechanisms. This will help to support solving various problems under the 5 key components of the board and will be a big improvement. The study has some limitations. The main informant is the health region 10 committee which is the main stakeholder of the area. Second is data from the secretarial team tends to give positive information to the research team. Information from non-committee members and working groups in the 10th health committee, in particular from relevant government agencies and people involved in the target areas in each agenda are small in number and therefore availability of some information is limited. | th_TH |
dc.identifier.callno | WA540.JT3 ม758ก 2562 | |
dc.identifier.contactno | 61-045 | |
.custom.citation | เมรีรัตน์ มั่นวงศ์, Mereerat Manwong, วีรวัฒน์ พันธ์ครุฑ, Weerawat Phancrut, กิตติ เหลาสุภาพ, Kitti Laosupap, ฐิติรัช งานฉมัง, Thitirat Ngamchamung, ปวีณา ลิมปิทีปราการ, Pawena Limpiteeprakan, ทักษิณ พิมพ์ภักดิ์ and Taksin Pimpak. "การประเมินผลการดำเนินงานเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตสุขภาพที่ 10." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5176">http://hdl.handle.net/11228/5176</a>. | |
.custom.total_download | 134 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 16 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Research Reports [2419]
งานวิจัย