dc.contributor.author | โกศล จึงเสถียรทรัพย์ | th_TH |
dc.contributor.author | Kosol Chungsatiansup | th_TH |
dc.contributor.author | พุทธชาติ แผนสมบุญ | th_TH |
dc.contributor.author | Phutthachat Phaensomboon | th_TH |
dc.contributor.author | ธนวรรณ สาระรัมย์ | th_TH |
dc.contributor.author | Thanawan Sararum | th_TH |
dc.contributor.author | นิรัชรา ลิลละฮ์กุล | th_TH |
dc.contributor.author | Niratchara Lillahkul | th_TH |
dc.contributor.author | หทัยกร กิตติมานนท์ | th_TH |
dc.contributor.author | Hataikorn Kittimanont | th_TH |
dc.date.accessioned | 2020-03-13T04:26:09Z | |
dc.date.available | 2020-03-13T04:26:09Z | |
dc.date.issued | 2562-12 | |
dc.identifier.other | hs2544 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5178 | |
dc.description.abstract | โครงการวิจัยเรื่องการออกแบบสภาพแวดล้อมสถานพยาบาลให้เอื้อต่อการเยียวยา มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสำรวจสภาพของสิ่งแวดล้อมและศึกษารูปแบบการออกแบบโครงสร้าง/ภูมิสถาปัตยกรรมที่ส่งเสริมคุณภาพและความปลอดภัยของผู้รับบริการ โดยออกแบบชุดรูปแบบการประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Assessment Tool) และพัฒนาต้นแบบ (model) สถานพยาบาลตามแนวคิดสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา ซึ่งเป็นโครงการวิจัยต่อเนื่อง 3 ปี การวิจัยปีที่ 1 ได้ออกแบบและพัฒนาเครื่องมือประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา ผ่านการเก็บข้อมูลในโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการปีแรก 8 แห่ง และนำเครื่องมือประเมินที่ได้ลงพื้นที่ใช้งานในปีที่สอง โดยให้โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ในหน่วยงานที่มีศักยภาพและเก็บข้อมูลทำรายงานผลการวิจัย เพื่อเป็นพื้นที่ต้นแบบในปีที่ 3 โดยผ่านกระบวนการประเมินผลจากงานวิจัยดำเนินการวิจัยโดยการบูรณาการ 3 แนวคิด คือ แนวคิดด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย (Environmental Sanitation and Safety) แนวคิดการออกแบบสถานพยาบาลแบบอิงหลักฐาน (Evidence-based Healthcare Design) และแนวคิดการออกแบบกับมิติทางสุนทรียภาพและจิตวิญญาณ (Aesthetics and Spirituality) สู่แนวคิดการออกแบบสภาพแวดล้อมสถานพยาบาลให้เอื้อต่อการเยียวยา (Healthcare Healing Environmental Design) ผ่านกระบวนการการลงพื้นที่เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา ผสานกับแบบประเมินประสบการณ์ของผู้รับบริการในการทำงานวิจัย จากผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในสถานพยาบาล ต้องพิจารณาผ่านการประเมิน 5 ด้าน คือ ด้านที่ 1 หน้าที่การใช้งานและความปลอดภัย (Function and Safety) ด้านที่ 2 สุนทรียะและความสุขสบาย (Sense and Comfort) ด้านที่ 3 ปฏิสัมพันธ์และการสนับสนุนทางสังคม (Interaction and Support) ด้านที่ 4 การเสริมพลังและอำนาจการตัดสินใจ (Empowerment and Informed Choice) และด้านที่ 5 คุณค่าและจิตวิญญาณ (Value and spirituality) โดยเมื่อพิจารณาพื้นที่แผนกผู้ป่วยนอก พบการประเมินค่าน้ำหนักองค์ประกอบด้านที่ 1 อยู่ระหว่าง 0.835-0.793 ด้านที่ 2 อยู่ระหว่าง 0.707-0.692 ด้านที่ 3 อยู่ระหว่าง 0.829-0.743 ด้านที่ 4 อยู่ระหว่าง 0.778-0.753 และด้านที่ 5 พบค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ที่ 0.541 ทั้งนี้ มีงานวิจัยของโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการที่สอดคล้องกับผลที่ได้ เช่น ด้านหน้าที่การใช้งานและความปลอดภัยของโรงพยาบาลแม่สาย เรื่องการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในพื้นที่ผู้ป่วยนอก ผลการวิจัยจากการจัดสิ่งแวดล้อมในแผนกผู้ป่วยนอกเพื่อลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ พบว่ามีความแตกต่างของระดับความเข้มข้นของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในทุกๆ จุดที่วัด อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมในหลายประเด็นของ โรงพยาบาลแม่สาย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชหล่มเก่า โรงพยาบาลหนองสองห้องและโรงพยาบาลห้วยพลู โดยประเมินจากค่าคะแนนเฉลี่ยจากประสบการณ์ของผู้รับบริการพบว่าหลังการปรับสภาพแวดล้อมมีค่าสูงกว่าก่อนการปรับสภาพแวดล้อมเพื่อการเยียวยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สำหรับการพัฒนาพื้นที่หอผู้ป่วยใน พบการประเมินค่าน้ำหนักองค์ประกอบด้านที่ 1 อยู่ระหว่าง 0.825-0.736 ด้านที่ 2 อยู่ระหว่าง 0.696-0.631 ด้านที่ 3 อยู่ระหว่าง 0.709-0.691 ด้านที่ 4 อยู่ระหว่าง 0.708-0.633 และด้านที่ 5 พบค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.888-0.782 โดยมีงานวิจัยที่สอดคล้องกับผลที่ได้ เช่น งานวิจัยด้านหน้าที่การใช้งานและความปลอดภัย โรงพยาบาลรัตนบุรีได้ทำการวิจัยเรื่อง ผลของการปรับสิ่งแวดล้อมต่อการลดความร้อนและการรับรู้ประสบการณ์ของผู้รับบริการ : กรณีศึกษาตึกเวชกรรมฟื้นฟู โดยทำการศึกษาผลกระทบของความร้อนและเปรียบเทียบผลของการปรับสิ่งแวดล้อมต่อการรับรู้ประสบการณ์ของผู้รับบริการ ตึกเวชกรรมฟื้นฟู เปรียบเทียบความแตกต่างรายด้านระหว่างก่อนและหลังการปรับปรุงตึกเวชกรรมฟื้นฟูตามแนวคิดสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา พบว่ามีค่าต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ งานวิจัยด้านสุนทรียะและความสุขสบาย มีการศึกษาการสัมผัสระดับเสียงและการรับรู้ภาวะเสี่ยงจากการสัมผัสเสียงมีผลกระทบต่อหน่วยบริการผู้ป่วยในชาย โรงพยาบาลชุมพลบุรี ผลการวิจัยพบว่า การปรับเปลี่ยนล้อรถเข็นผู้ป่วยนอนและรถเข็นเครื่องมือบริการทางการแพทย์สามารถลดระดับความดังเสียงลงมากที่สุด ในขณะที่ การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษาระดับเสียงของหน่วยบริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแม่สาย เชียงราย โดยศึกษาค่าระดับเสียงของโถงพักคอยแผนกผู้ป่วยนอกหลังการปรับปรุง พบว่า มีค่าระดับเสียงระหว่าง 57.6-84.5 เดซิเบลเอ (dBA) โดยพบแหล่งกำเนิดเสียงจากการสนทนาและเครื่องขยายเสียง ซึ่งเมื่อเทียบค่าระดับเสียงภายในหอผู้ป่วยกับค่าระดับเสียงที่เหมาะสมตามมาตรฐานของ NIOSH และมาตรฐานของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ที่ให้ระดับเสียงเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงาน (Time Weighted Average-TWA) ไม่เกิน 85 เดซิเบลเอ (dBA) ในระยะเวลาการทำงานที่ได้รับเสียงต่อวันไม่เกิน 8 ชั่วโมง พบว่ามีค่าไม่เกินมาตรฐาน ในขณะที่โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวี ได้ทำการศึกษาอุณหภูมิของอากาศในหอผู้ป่วยใน พบว่าก่อนและหลังการจัดการระบายอากาศมีอุณหภูมิแตกต่างกันโดยมีอุณหภูมิภายในหอผู้ป่วยต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญ การประมวลผลการวิจัยตลอดระยะเวลา 3 ปี นับเป็นการยืนยันแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยาในสถานพยาบาล 3 แนวคิด ผ่านการประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อม 5 ด้าน โดยโรงพยาบาลสามารถประยุกต์รูปแบบตามบริบทของพื้นที่ที่มีข้อจำจัดไม่เท่ากัน เพื่อให้ตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยาตามทฤษฎี 3 แนวคิด 5 ด้าน ของการวิจัยนี้ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | โรงพยาบาล, การให้บริการ | th_TH |
dc.subject | โรงพยาบาล, การออกแบบและการสร้าง | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | การออกแบบสภาพแวดล้อมสถานพยาบาลให้เอื้อต่อการเยียวยา ปีที่ 3 | th_TH |
dc.title.alternative | Healthcare Healing Environment Design (year 3) | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The main objective of The Healthcare Healing Environment Design research project is to explore the healthcare environment and to study the design/ landscape architecture that promotes the quality and safety of service users by designing the Healing Environment Assessment Tool and developing a model hospital based on the healing environmental concept, which is a 3 years continuous research project. The first-year research had designed and developed a healthcare environmental quality assessment tool through the collection of data in 8 hospitals that participated the program and implemented the assessment tools in the second year by allowing the participating hospitals to develop the potential area and collecting research data to be a prototype model area in the Third year through the evaluation process of research. Conducting the research by integrating 3 concepts, namely the concept of Environmental Sanitation and Safety, the concept of Evidence-based Healthcare Design and the concept of Aesthetics and Spirituality towards the Healthcare Healing Environmental Design Concept through the onsite data collecting process by implementing the healing environmental quality assessment tools combined with the evaluation form of the service users' experience in research works. From the research results, it was found that development of healthcare healing environmental quality must be considered through 5 aspects of assessment, which are: 1 Function and Safety, 2 Sense and Comfort, 3 Interaction and Support, 4 Empowerment and Informed Choice and 5 Value and spirituality When considering the outpatient department, the weight of the first aspect was found between 0.835-0.793. The second aspect was between 0.707-0.692. The third aspect was between 0.829-0.743. The forth aspect was between 0.778-0.753 and the fifth aspect was 0.541. There are researches of participating hospitals that are consistent with the results, such as the Function and Safety aspect of the Maesai Hospital’s research on the reduction of carbon dioxide in the outpatient. The research found that there was a significant difference in the amount of carbon dioxide concentration at every point measured at the level of 0.05. There were also some environmental researches on many issues of Mae Sai Hospital, Pua Crown Prince Hospital, Saiburi Crown Prince Hospital, Lom Kao Crown Prince Hospital, Nong Song Hong Hospital and Huaiplu Hospital By evaluating from the average score from the experience of service recipients, it was found that after adjusting the environment, the value was higher than before adjusting the environment for healing significantly at the level of 0.01. For the development of the inpatient ward area, the evaluation of the weight of the first aspect was found between 0.825-0.736. The second aspect was between 0.696-0.631. The third aspect was between 0.709-0.691. The fourth aspect was between 0.708-0.633 and the fifth aspect was found between 0.888-0.782, with researches that is consistent with the results of function and safety aspect, Rattanaburi Hospital has conducted a research on The effect of environmental adjustment on heat reduction and perception of service users experience: case study of rehabilitation building, by studying the effects of heat and comparing the effects of environmental improvement on the perceptions of service users' experiences in Rehabilitation Building. Comparing the differences between before and after the improvement of the rehabilitation building according to the healing environmental concept and found that there were significant differences at the level of 0.05. In addition, research on aesthetic and comfort aspect, there is a study of noise exposure level and perception of risk from noise exposure affecting in male wards of Chumphonburi Hospital, the research found that changing wheel of patient bed and wheelchair, medical service tools can reduce the volume of noise to the maximum, while the survey research is to study the volume of outpatient service units in Mae Sai Hospital, Chiang Rai, by studying the noise level of the waiting area for the outpatient department, it was found that the noise level was between 57.6-84.5 dBA. By discovering the sound source from the conversation and the amplifier Which compared the noise level within the ward and the appropriate noise level according to NIOSH standards and standards of the Department of Labor Protection and Welfare which allows the average volume of Time Weighted Average-TWA not more than 85 dBA in not more than 8 hours working period per day, found that the value does not exceed the standard. While Somdejpraboromrachineenart Natawee Hospital has studied the air temperature in the ward, it was found that before and after the ventilation management had different temperatures with significantly lower temperature in the ward. Research processing throughout the 3-year period is an affirmation of the 3-concepts of the theory of healthcare healing environmental quality development through the 5 aspects of healing environmental quality assessment. The hospital can apply the model according to the difference context of each hospital in order to answer the healthcare healing environmental problems according to the 3 concepts, 5 aspects of this research. | th_TH |
dc.identifier.callno | WX140 ก961ก 2562 | |
dc.identifier.contactno | 60-098 | |
.custom.citation | โกศล จึงเสถียรทรัพย์, Kosol Chungsatiansup, พุทธชาติ แผนสมบุญ, Phutthachat Phaensomboon, ธนวรรณ สาระรัมย์, Thanawan Sararum, นิรัชรา ลิลละฮ์กุล, Niratchara Lillahkul, หทัยกร กิตติมานนท์ and Hataikorn Kittimanont. "การออกแบบสภาพแวดล้อมสถานพยาบาลให้เอื้อต่อการเยียวยา ปีที่ 3." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5178">http://hdl.handle.net/11228/5178</a>. | |
.custom.total_download | 125 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 6 | |
.custom.downloaded_this_year | 15 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 8 | |