Show simple item record

Policy Options to Develop Model of Primary Care Services for Caring Patients with Stroke: Bangkok Metropolitan Administration

dc.contributor.authorศิริอร สินธุth_TH
dc.contributor.authorSiriorn Sindhuth_TH
dc.contributor.authorปทุมทิพย์ อดุลวัฒนศิริth_TH
dc.contributor.authorPatoomthip Adunwatanasirith_TH
dc.contributor.authorเกศรินทร์ อุทริยะประสิทธิ์th_TH
dc.contributor.authorKetsarin Utriyaprasitth_TH
dc.contributor.authorรวมพร คงกำเนิดth_TH
dc.contributor.authorRoumporn Konggumnerdth_TH
dc.contributor.authorวรรณวลี คชสวัสดิ์th_TH
dc.contributor.authorWanwalee Kochasawasth_TH
dc.date.accessioned2020-03-16T08:48:46Z
dc.date.available2020-03-16T08:48:46Z
dc.date.issued2563-03
dc.identifier.otherhs2542
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5180
dc.description.abstractการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน ถือเป็นกิจกรรมการให้บริการที่สำคัญในการส่งเสริมสุขภาพ ลดความบกพร่องและความพิการส่งเสริมให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี ปัจจุบันยังไม่พบการศึกษาหรือข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับรูปแบบการจัดบริการและปัจจัยที่มีผลต่อการจัดบริการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตซึ่งแตกต่างจากปัจจัยในสังคมชนบทและยังไม่เคยมีการประเมินผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ชัดเจนเกี่ยวกับการจัดบริการปฐมภูมิรูปแบบใดที่มีประสิทธิภาพต่อการเพิ่มระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านรูปแบบบริการ ปัจจัยระดับบุคคล เครือข่ายทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิต ทดสอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของรูปแบบการจัดบริการต่อคุณภาพชีวิตและค้นหาปัญหา ความต้องของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนารูปแบบการจัดบริการ ก่อนนำไปทดลองใช้เป็นกรณีศึกษาในกรุงเทพมหานครต่อการลดความพิการและคุณภาพชีวิต กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยภายหลังรอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองแตก ตีบหรืออุดตันไม่เกิน 2 ปี ที่จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลกลับสู่ชุมชน จำนวน 450 คน และผู้ให้บริการสุขภาพหน่วยปฐมภูมิ โดยใช้การศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถาม การสนทนากลุ่มและการนำรูปแบบบริการปฐมภูมิที่เหมาะสมไปทดลองใช้ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในกรุงเทพมหานครยังมีความพิการหลงเหลืออยู่หลังจำหน่ายกลับบ้าน ร้อยละ 68.2 คุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง ผู้ป่วยเข้าถึงการดูแลที่บ้านโดยพยาบาลวิชาชีพ (Registered nurses) ร้อยละ 100 รองลงมา ได้แก่ นักกายภาพบำบัด ร้อยละ 75.7 และพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน (Community nurse practitioner) ร้อยละ 64.3 ได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายทางสังคมจาก อาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.)/ ผู้ดูแลจิตอาสา (CG: Care Giver) ที่ผ่านการอบรมการดูแลผู้ป่วยติดเตียง โดยกองการพยาบาลสาธารณสุข สำนักอนามัย มากที่สุด ร้อยละ 39.6 ปัจจัยในระดับบุคคลที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตมากที่สุด ได้แก่ มีความพิการมาก ภาวะซึมเศร้า การรู้คิดบกพร่อง มีความพิการจนกลับมาทำงานไม่ได้ และจำนวนชั่วโมงของผู้ดูแลในการดูแล ตามลำดับ พบการดูแล 4 รูปแบบ รูปแบบ Continuing care from hospital to home by nurse expert มีผลทำให้ลดความพิการและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีที่สุด รองลงมา ได้แก่ Bangkok Metropolitan Administration (BMA) Home ward เป็นบริการปฐมภูมิที่สามารถให้บริการผู้ป่วยกลุ่มใหญ่ได้ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด Continuing care from hospital to home เกิดจากการจัดการดูแลในครอบครัว ได้รับอุปกรณ์จำเป็นสนับสนุนจากโรงพยาบาล ขณะที่ Family care ผู้ป่วยได้รับการดูแล ไม่ถูกทอดทิ้งจากครอบครัว แต่ระดับมีคุณภาพชีวิตน้อยที่สุด แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้รับอิทธิพลโดยรวมสูงสุดจากความพิการหลงเหลืออยู่มาก รองลงมาคือ รูปแบบบริการ Continuing care with nurse expert และ Home ward ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลจากครอบครัวเพียงอย่างเดียวไม่ทำให้ลดความพิการและเพิ่มระดับคุณภาพชีวิตได้ ความต้องการและอุปสรรคของบริการสุขภาพ พบว่า เป้าหมายในการฟื้นตัวจากโรคของผู้ป่วยกับผู้ให้บริการสุขภาพไม่ตรงกัน ผู้ป่วยมองปลายทางและโอกาสรอด ขณะที่ผู้ให้บริการมองกระบวนการระหว่างทางให้ผู้ป่วยสามารถจัดการตนเอง ควบคุมภาวะแทรกซ้อนและโรคร่วมให้คงที่ การจัดบริการสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุนชนจึงเป็นการดูแลแบบผู้ป่วยติดเตียงทั่วไปมากกว่าการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีความบกพร่องทางระบบประสาทหลงเหลืออยู่ให้สามารถกลับคืนสู่สภาพใกล้เคียงก่อนการเจ็บป่วย จำเป็นต้องเพิ่มพูนความรู้และทักษะที่มีอยู่เดิมในการดูแลผู้ป่วย นำไปสู่การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนให้แก่พยาบาลเยี่ยมบ้าน นำไปทดลองใช้ร่วมกับโมเดลต้นแบบการสังเคราะห์รูปแบบใหม่ Home ward for stroke care เป็นการนำข้อดีและข้อจำกัดจากรูปแบบทั้ง 4 มาพัฒนาเป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดในการดูแลผู้ป่วยในเมืองใหญ่ ต้องการพยาบาลเยี่ยมบ้านที่มีความชำนาญเฉพาะ (มีความรู้ทักษะประเมินปัญหาเฉพาะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง) จึงได้พัฒนา 1) แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน 2) การพยาบาลเพื่อการฟื้นฟูสภาพสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน 3) อาการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการเยี่ยมบ้านด้วยรูปแบบใหม่ พบว่า ผู้ป่วยมีความพิการลดลงและคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับระดับดีมากการจัดบริการปฐมภูมิสำหรับกรุงเทพมหานครในอนาคต ที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ปัจจัยกำหนดทางสังคมที่แตกต่างจากสังคมชนบท บทบาทการดูแลของครอบครัวมีน้อย เครือข่ายทางสังคมไม่แน่นแฟ้น พยาบาล คือ บุคลากรสุขภาพที่สำคัญในการเป็นที่ปรึกษา เข้าไปให้ความช่วยเหลือ ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดที่บ้าน ขณะเดียวกันกรุงเทพมหานครไม่สามารถจัดอัตรากำลังพยาบาลรองรับผู้ป่วยในชุมชนได้ แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ จะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน การจ้างงานพยาบาลฟรีแลนซ์ เสริมกำลังคนให้เพียงพอกับความต้องการ มีเครื่องมือสนับสนุนการตัดสินใจที่ถูกต้อง และสามารถดูแลผู้ป่วยที่มีความเฉพาะเจาะจงกับโรคมากขึ้น นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครควรสนับสนุนการสร้างผู้ดูแลจิตอาสาดูแลผู้ป่วยที่ญาติไม่มีเวลาหรือไม่พร้อมดูแล ทำหน้าที่เปรียบเสมือนครอบครัวของผู้ป่วยร่วมกับพยาบาล ด้วยความคุ้นเคยและไว้วางใจ มีความต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วยมีความพิการลดลงและคุณภาพชีวิตที่ดีth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิth_TH
dc.subjectโรคหลอดเลือดสมองth_TH
dc.subjectStroketh_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Services Systemth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPublic Health Administrationth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนารูปแบบบริการปฐมภูมิเพื่อดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง : กรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativePolicy Options to Develop Model of Primary Care Services for Caring Patients with Stroke: Bangkok Metropolitan Administrationth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativePrimary care service development to improve quality of life for stroke patients in the community is considered a major service activity for promoting health, reducing body impairment and disability along with promoting good quality of life. Several models for providing primary care services and care for patients are used in Bangkok communities where the factors promoting quality of life differ from rural societies. Furthermore, no clear assessments have been conducted to assess the effects of primary care service models on quality of life in Bangkok. This study was aimed at studying model of care, personal factors, social networks influencing quality of life, test causal correlations of service provision models with quality of life and discover problems and needs of associated persons in order to modify and improve the service provision model before testing model as a pilot study in Bangkok for functional recovery and quality of life. The sample was 450 patients who had survived ischemic or hemorrhagic stroke for no more than two years and were discharged from the hospital to return to the community along with primary care unit service providers. This study used quantitative and qualitative research methods. Data were collected by using questionnaires, focus groups and implementation of appropriate primary care service models. According to the findings, stroke patients in Bangkok (68.2%) were found to have not recovered after being discharged and returning home with medium-level quality of life (Mean + SD = 3.40 + 0.93). Most of the patients had access to care at home provided by Registered nurses (RN), followed by physical therapists and community nurses with social network support from village health volunteers or Care Givers (CGs) trained care of bedridden patients by Nursing Division Public Health BMA Department at 3 9 .6 percent. Patient’s factors most an effect on quality of life (QOL) was high functional disability score (ß = .57, p = .000), followed by depressive (ß = -.22, p = .000) cognitive impairment (ß = .20, p = .000) unable return to work after stroke (ß = -.12, p = .000) and hours to care for stroke patients (ß = -.07, p = .000), respectively. The results showed that 4 model of care such as Continuing care with nurse expert model provides the best recovery and quality of life for patients, followed by the Bangkok Metropolitan Administration (BMA) Home ward was a primary care service that can serve a large group of patients in community and use the most of community's resources for benefit of care. Continuing care from hospital to home was occurred by family management, and received necessary equipment of care which supported from the hospital. While family care has family supported and provided care to patient. The causal relationship model of the factors influencing functional recovery and quality of life among stroke patients was consistent with the evidence-based data (χ2 = 4.688, df = 6, p value = .584, χ2/df = .78, GFI = .997, RMR = .014, RMSEA = .025). Stroke patients’ quality of life was most influenced by functional impairment (ß = -.79, p = .000), followed by the continuing care model with nurse experts (ß = .13, p = .000) and the BMA home ward model (ß = .10, p = .008). Patients who received care support from only family members and community members were unable to reduce disability and improve quality of life. Concerning healthcare service needs and barriers, the recovery goals of patients and healthcare providers were found to be inconsistent. Patients looked at the destination and chances of survival, while healthcare providers looked at the process on the way toward self-management, stabilization of control over complications and comorbidities. Therefore, the services provided for stroke patients in the community were care for bedridden patients rather than care to stroke patients with neurological impairments return to a condition similar to before illness. Accurate recovery processes are needed for the development of clinical nursing practice guidelines for stroke patient in community and trial implementation with selective models. Synthesis new model of care by nurses and health personnel involved in trial implementation of the home ward for stroke care which has clinical nursing practice guidelines for stroke patient in community, patients were found to have less physical impairment and higher quality of life with statistical significance. Therefore, community nurses can implement service provision models and care guidelines for stroke patients in the community to improve quality of life among patients in the community for positive health outcomes. In the future, primary care services for Bangkok will be faced with population structure changes, different social determining factors from rural societies, few family care roles and distant social networks. Nurses are the crucial health personnel as consultants, help and take role play closely of nursing care at home. Meanwhile Bangkok Metropolitan Administration is unable to resolve shortage of nurses to support patients in hospitals and communities. Freelance nurses can provide solutions in promoting health among patients in communities to meet needs by developing freelance nurses and implementing good practice guidelines in communities to create quality care practices and support correct decision-making with stroke patients. Moreover, supported by volunteers in place of patients with family caregiver whose relatives have no time or readiness to provide care and volunteers who serve as patients’ family members with nurses while maintaining close relationships and care consistency can help reduce disability and improve quality of life. Therefore, policy-makers need to develop volunteer with knowledge and readiness to care for patients with complex conditions disease in the community in addition to creating new volunteers to replace old volunteers.th_TH
dc.identifier.callnoWL355 ศ499ก 2563
dc.identifier.contactno62-007
.custom.citationศิริอร สินธุ, Siriorn Sindhu, ปทุมทิพย์ อดุลวัฒนศิริ, Patoomthip Adunwatanasiri, เกศรินทร์ อุทริยะประสิทธิ์, Ketsarin Utriyaprasit, รวมพร คงกำเนิด, Roumporn Konggumnerd, วรรณวลี คชสวัสดิ์ and Wanwalee Kochasawas. "การสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนารูปแบบบริการปฐมภูมิเพื่อดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง : กรุงเทพมหานคร." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5180">http://hdl.handle.net/11228/5180</a>.
.custom.total_download305
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year35
.custom.downloaded_fiscal_year3

Fulltext
Icon
Name: hs2542.pdf
Size: 5.310Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record