dc.contributor.author | สุรชัย ไวยวรรณจิตร | th_TH |
dc.contributor.author | Surachai Vaivanjit | th_TH |
dc.contributor.author | ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ | th_TH |
dc.contributor.author | Prapaporn Langputeh | th_TH |
dc.contributor.author | มูฮำหมัดราพีร์ มะเก็ง | th_TH |
dc.contributor.author | Muhummudrapee Makeng | th_TH |
dc.contributor.author | คอลัฟ ต่วนบูละ | th_TH |
dc.contributor.author | Khalaf Tuanbula | th_TH |
dc.contributor.author | แวนีซะ สุหลง | th_TH |
dc.contributor.author | Vanisah Sulong | th_TH |
dc.date.accessioned | 2020-03-19T04:42:03Z | |
dc.date.available | 2020-03-19T04:42:03Z | |
dc.date.issued | 2562 | |
dc.identifier.other | hs2549 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5183 | |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่อง การมีพื้นที่ของสตรีมุสลิม (สตรีหม้าย) กับการสร้างเสริมสุขภาพผ่านการมีกิจกรรมทางกายภายใต้บริบทสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ ศึกษาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมุมมองต่อการมีพื้นที่สร้างเสริมกิจกรรมทางกายของสตรีมุสลิม (สตรีหม้าย) ภายใต้บริบทสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเสนอแนะแนวทางการสร้างเสริมกิจกรรมทางกายของสตรีมุสลิม (สตรีหม้าย) ภายใต้บริบทสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้เป็นกลุ่มสตรีมุสลิม (สตรีหม้าย) จำนวน 348 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ ประมวลผลวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ (SPSS) โดยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลทางสังคมศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมของหน่วยงานรัฐและเอกชนต่อมุมมองการมีพื้นที่สร้างเสริมกิจกรรมทางกายของสตรีมุสลิม (สตรีหม้าย) ส่วนใหญ่ เปิดโอกาสให้สตรีหม้ายได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 30.5) รองลงมาคืออยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 30.2) การสนับสนุนให้สตรีมุสลิมมีกิจกรรมทางกายผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การฟังบรรยาย ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 39.1) รองลงมาคือระดับปานกลาง (ร้อยละ 31.6) ขณะที่การมีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้สตรีมุสลิมมีส่วนร่วมในการมีกิจกรรมทางกาย ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 33.3) ทั้งในรูปแบบของการประชาสัมพันธ์ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายของสตรีมุสลิมและการจัดรูปแบบกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมกับวัยและความเป็นสตรีมุสลิม และการจัดให้มีอุปกรณ์ช่วยส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายของสตรีมุสลิม ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นในเรื่องของการจัดสถานที่เฉพาะ/ไม่ปะปนหญิงชายสำหรับสตรีมุสลิมในการทำกิจกรรมทางกาย ส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อยที่สุด (ร้อยละ 41.1) ส่วนแนวทางการสร้างเสริมกิจกรรมทางกายของสตรีมุสลิม (สตรีหม้าย) พบว่า 1) การสร้างพื้นที่เฉพาะในกลุ่มสตรีมุสลิมในการมีกิจกรรมทางกาย เพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมสุขภาพของสตรีมุสลิมให้มีสุขภาพแข็งแรง ผ่อนคลายความกังวลในเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของความเป็นสตรีหม้าย 2) มีนโยบายโดยตรงต่อกลุ่มสตรีในการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในเรื่องสุขภาพกายและใจ การส่งเสริมและพัฒนาในด้านวิถีชีวิต สร้างพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับสตรีในทุกกลุ่มวัยต่อการมีกิจกรรมทางกายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3) หาช่องทางช่วยเหลือไม่เพียงเฉพาะกลุ่มสตรีหม้าย แต่ต้องเข้ามาช่วยเหลือเยียวยาในกลุ่มบรรดาลูกๆ ของสตรีหม้ายด้วยเช่นกัน ทั้งในรูปแบบของการส่งเสริมและการพัฒนา 4) การเยียวยาจิตใจอย่างต่อเนื่อง โดยผ่านการจัดกิจกรรมในรูปแบบของสาธารณสุขที่ต้องดำเนินการอยู่แล้วในการทำงานในพื้นที่ เพราะสิ่งสำคัญของการเยียวยาในกลุ่มสตรีหม้ายคือ ความต่อเนื่อง และ5) สร้างกิจกรรมและส่งเสริมการมีกิจกรรมในกลุ่มสตรีมุสลิมมากขึ้น ทั้งในส่วนกิจกรรมที่เป็นจิตอาสา หรือกิจกรรมส่วนร่วม เพื่อให้สตรีดังกล่าวไม่รู้สึกโดดเดี่ยวในการมีพื้นที่ทางสังคม ประกอบกับยังเป็นการเยียวยาจิตใจในกลุ่มสตรีหม้ายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเรื่องกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนของสตรีมุสลิมอาศัยอยู่ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การส่งเสริมสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Promotion | th_TH |
dc.subject | สตรีมุสลิม--ไทย | th_TH |
dc.subject | Muslim women--Thailand | th_TH |
dc.subject | กิจกรรมทางกาย | th_TH |
dc.subject | การสร้างเสริมสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | การมีพื้นที่ของสตรีมุสลิม (สตรีหม้าย) กับการสร้างเสริมสุขภาพผ่านการมีกิจกรรมทางกายภายใต้บริบทสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ระยะที่ 2) | th_TH |
dc.title.alternative | Muslim Women’s Social Space and Health Empowerment through Physical Activities amid Unrest Situation in Southernmost Provinces (Phase II) | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This quantitative study on “Muslim Widows and Physical Activity Spaces: Health Promotion in the Deep South Unrest” aimed to investigate collaborations of the Provincial Islamic Councils, the Mental Health Center 12, and other relevant authorities on Muslim widows’ physical activity spaces in the unrest context through the views of 348 sample Muslim widows. Their suggestions for their health promotion activity were also to be proposed. The obtained data were analyzed by using the SPSS program. The findings indicated the following. Collaborations of public authorities and private sectors were most found at a moderate degree on giving an opportunity to widows to join community activities (30.5%), followed by a high degree (30.2%). The collaboration on support of Muslim widows’ physical activities, such as attending religious lectures, were most found at a high degree (39.1%), followed by a moderate one (31.6%). A majority of views on collaborations in building Muslim widows’ awareness of physical activity engagement was at a high degree (33.3%). The collaborations covered public relations forms and provision of physical activities suitable to their ages and Muslim femininity. Collaboration in provision of physical activity tools was the most reported at a moderate degree. Provision of single sex spaces for physical activity were mostly found at the lowest degree (41.1%). Below are suggestions for promotion of Muslim widows’ physical activity. 1) Provision of a specific space for Muslim widows’ physical activity is needed to promote both their physical and mental health. 2) A policy should be specifically made for improvement in Muslim widows’ life quality focusing on their physical and mental health, promotion and development their living, and providing female physical activity spaces suitable to all ages in the Deep South. 3) Assistance covering promotion and development should be provided for both widows and their children. 4) Continuous mental health rehabilitation is required by integrating into usual public health services. Continuation is essential for healing them. 5) More activities and greater promotion of doing both voluntary and collaboration activities among Muslim women are required. | th_TH |
dc.identifier.callno | W84.1 ส847ก 2562 | |
dc.identifier.contactno | 61-071 | |
.custom.citation | สุรชัย ไวยวรรณจิตร, Surachai Vaivanjit, ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ, Prapaporn Langputeh, มูฮำหมัดราพีร์ มะเก็ง, Muhummudrapee Makeng, คอลัฟ ต่วนบูละ, Khalaf Tuanbula, แวนีซะ สุหลง and Vanisah Sulong. "การมีพื้นที่ของสตรีมุสลิม (สตรีหม้าย) กับการสร้างเสริมสุขภาพผ่านการมีกิจกรรมทางกายภายใต้บริบทสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ระยะที่ 2)." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5183">http://hdl.handle.net/11228/5183</a>. | |
.custom.total_download | 31 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 1 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 1 | |