dc.contributor.author | อรพันธ์ อันติมานนท์ | th_TH |
dc.contributor.author | Orrapan Untimanon | en_US |
dc.contributor.author | โกวิทย์ บุญมีพงศ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Kowit Boonmephong | en_US |
dc.contributor.author | จุไรวรรณ ศิริรัตน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Churaiwan Sirirat | en_US |
dc.contributor.author | ภัทรินทร์ คณะมี | th_TH |
dc.contributor.author | Pattarin Kanamee | en_US |
dc.contributor.author | อมราภรณ์ ลาภเหลือ | th_TH |
dc.contributor.author | Ammaraporn Laplue | en_US |
dc.contributor.author | ธิติรัตน์ สายแปง | th_TH |
dc.contributor.author | Titirut Saipang | en_US |
dc.contributor.author | กมลชนก สุขอนันต์ | th_TH |
dc.contributor.author | Kamonchanok Sukanun | en_US |
dc.contributor.author | ธนาพร ทองสิม | th_TH |
dc.contributor.author | Tanaporn Thongsim | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-04-13T07:17:39Z | |
dc.date.available | 2020-04-13T07:17:39Z | |
dc.date.issued | 2563-04-03 | |
dc.identifier.other | hs2551 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5196 | |
dc.description.abstract | ในปี 2562 มีแรงงานต่างด้าวมากกว่า 3 ล้านคนที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ประมาณ 2 ล้านคน มาจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ เมียนมา กัมพูชาและลาว ปัญหาทางด้านอาชีวอนามัยที่เป็นผลกระทบทางสุขภาพจากการทำงาน เนื่องมาจากความแตกต่างของภาษาและวัฒนธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพ รวมทั้งการเข้ามาทำงานอย่างผิดกฎหมาย การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดบริการอาชีวอนามัยที่เป็นมิตรสำหรับดูแลสุขภาพแรงงานต่างด้าวในสถานประกอบการ การศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะวิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นในสถานประกอบการ 48 แห่ง ลูกจ้างต่างด้าว จำนวน 52 คน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งระดับผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหาร 2) ระยะพัฒนารูปแบบการจัดบริการอาชีวอนามัยของหน่วยบริการสุขภาพและสถานประกอบการ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ Delphi technique มีผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 21 คน จากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้ความเห็น และ 3) ระยะดำเนินงานโดยเลือกกิจกรรมตามรูปแบบที่เสนอแนะมาดำเนินการในสถานประกอบการ 4 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรที่เกี่ยวข้องด้วยสถิติ Chi-square test และ Fisher Exact test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธี Thematic analysis พบว่า สถานประกอบการประเภทอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม เข้าร่วมโครงการสูงสุด ร้อยละ 37.5 ส่วนใหญ่มีลูกจ้าง 100 - 499 คน ร้อยละ 37.5 ในสถานประกอบการขนาดใหญ่ที่มีลูกจ้างมากกว่า 1,000 คน สัดส่วนลูกจ้างต่างด้าวจะมากกว่าลูกจ้างไทย มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพ ร้อยละ 97.6 และมีล่ามในสถานประกอบการ 32 แห่ง (ร้อยละ 66.7) โดยพบว่า 10 แห่ง (ร้อยละ 20.8) มีล่ามเป็นอาสาสมัครทางด้านสุขภาพ พบการบาดเจ็บจากการทำงานและโรคจากการทำงานในสถานประกอบการ 35 แห่ง (ร้อยละ 72.9) และ 3 แห่ง (ร้อยละ 6.2) ตามลำดับ และพบว่าจำนวนลูกจ้างต่างด้าวกับการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) เช่นเดียวกับขนาดสถานประกอบการกับการจ้างล่ามและขนาดสถานประกอบการกับการแต่งตั้งผู้แทน/อาสาสมัครแรงงานต่างด้าวสุขภาพมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P=0.040 และ P=0.017 ตามลำดับ ผลการสัมภาษณ์ลูกจ้างต่างด้าว จำนวน 52 คน เป็นผู้หญิง ร้อยละ 57.7 และมีช่วงอายุ 20-29 ปี ร้อยละ 53.8 ส่วนใหญ่เป็นชาวเมียนมา ร้อยละ 92.3 และมีระยะเวลาการทำงานในสถานประกอบการแห่งนี้ 1 - 5 ปี ร้อยละ 53.8 ลูกจ้างมากกว่าร้อยละ 70 ได้รับการอบรมด้านความปลอดภัยจากการทำงาน สำหรับโรคจากการทำงาน โรคติดต่อ หรือการวางแผนครอบครัวลูกจ้างยังได้รับการอบรมน้อย ส่วนใหญ่ลูกจ้าง ร้อยละ 67.3 มีความสนใจและยินดีจะเข้าอบรมเป็นอาสาสมัครทางด้านอาชีวอนามัยถ้าจัดในสถานประกอบการ ส่วนสื่อทางด้านอาชีวอนามัยที่ต้องการควรเป็นวีดิทัศน์ที่สามารถเข้าถึงได้ทางอินเทอร์เน็ต สถานการณ์การดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้กระทรวงแรงงาน พบว่าทุกหน่วยงานดำเนินงานโดยยึดกฎหมายฉบับที่เกี่ยวข้องเป็นหลักและหน่วยบริการสุขภาพในจังหวัดสมุทรสาคร สามารถจัดบริการอาชีวอนามัยทั้งเชิงรุกและเชิงรับและมีการจัดคลินิกเพื่อให้บริการแรงงานต่างด้าวโดยเฉพาะ โดยมีล่ามอำนวยความสะดวกในการสื่อสาร ในขณะที่จังหวัดสมุทรปราการ หน่วยบริการสุขภาพมีการจัดบริการสำหรับโรคติดต่อและการตรวจสุขภาพเพื่อขึ้นทะเบียน หรือซื้อบัตรประกันสุขภาพ โดยจะมีล่ามจากองค์กรนอกภาครัฐมาช่วยในวันที่มีคลินิกวัณโรค สำหรับการจัดบริการอาชีวอนามัยเชิงรุกและเชิงรับแก่แรงงานต่างด้าวกลุ่มนี้ยังไม่ชัดเจน จากข้อมูลในระยะที่ 1 พบว่าสิ่งที่ยังเป็นข้อจำกัดของการจัดบริการอาชีวอนามัย คือ ภาษาเพื่อการสื่อสารองค์ความรู้ทางด้านสุขภาพและกิจกรรมการจัดบริการอาชีวอนามัยบางอย่างที่หน่วยบริการยังดำเนินการไม่ครอบคลุมแรงงานต่างด้าว ในระยะที่ 2 จึงได้พัฒนารูปแบบการจัดบริการอาชีวอนามัยอย่างเป็นมิตรของหน่วยบริการสุขภาพและสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก ประเด็นหลักของรูปแบบฯ จะเน้นการสื่อสารความเสี่ยงทางด้านสุขภาพ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย การวินิจฉัยโรคจากการทำงานและการบันทึกข้อมูลการบริหารจัดการประเมินและดูแลผู้ป่วยก่อนกลับเข้าทำงาน และการจัดทำฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จากนั้นในระยะที่ 3 ภายใต้ระยะเวลาจำกัดของการศึกษานี้ จึงได้คัดเลือกกิจกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารความเสี่ยงทางด้านสุขภาพฯ ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรและจัดอบรมอาสาสมัครแรงงานต่างด้าวด้านอาชีวอนามัยในสถานประกอบการ 4 แห่ง ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญ คือ ด้านการป้องกันโรคและการบาดเจ็บจากการทำงาน รวมทั้งการพัฒนาสื่ออาชีวอนามัยต้นแบบ 3 ภาษา การจัดมุมประเมินสุขภาพตนเองอย่างง่ายในสถานประกอบการ ผลการประเมินลูกจ้างที่เข้ารับการอบรม พบว่า ลูกจ้างมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด ร้อยละ 60 ขึ้นไป และเมื่อติดตาม 3 เดือนหลังการอบรม พบว่า ผู้เข้าอบรมในสถานประกอบการ 2 แห่ง ได้ร่วมกับแผนกที่เกี่ยวข้องจัดกิจกรรมทางด้านสุขภาพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ข้อจำกัดในการศึกษาครั้งนี้ 1) บางส่วนของการศึกษาใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพและศึกษาในพื้นที่ 2 จังหวัด ดังนั้นไม่สามารถนำข้อค้นพบไปใช้ในวงกว้าง (Generalization) ได้ 2) รูปแบบการจัดบริการอาชีวอนามัยอย่างเป็นมิตรที่พัฒนาครั้งนี้ ยังไม่สามารถนำกิจกรรมภายใต้รูปแบบทั้งหมดไปดำเนินงานและประเมินผล 3) หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอาสาสมัครลูกจ้างต่างด้าวเป็นหลัก แต่หลังจากอบรมลูกจ้างส่วนน้อยที่ได้ดำเนินการตามบทบาทเนื่องจากมีข้อจำกัดหลายอย่างในการดำเนินงาน ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา 1) ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ให้หน่วยบริการสุขภาพนำรูปแบบที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานจัดบริการอาชีวอนามัย โดยเฉพาะใน 7 จังหวัดที่มีแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก 2) เสนอหลักสูตรให้กับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเพื่อนำเนื้อหาส่วนของการป้องกันควบคุมโรคและการบาดเจ็บจากการทำงานบูรณาการกับหลักสูตรที่มีอยู่ 3) จัดทำเป็นข้อเสนอแนะให้กับกระทรวงแรงงาน เช่น การพัฒนาคุณภาพแรงงาน ณ ประเทศต้นทาง การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามอนุสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น 4) ศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในประเด็นต่างๆ เช่น ศึกษาการเข้าถึง หรือการดำเนินงานอาชีวอนามัยเพื่อดูแลสุขภาพกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่เป็นแรงงานนอกระบบ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Migrants | th_TH |
dc.subject | Migrant Workers | th_TH |
dc.subject | ประชากรข้ามชาติ | th_TH |
dc.subject | คนต่างด้าว | th_TH |
dc.subject | แรงงานต่างด้าว | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการจัดบริการอาชีวอนามัยที่เป็นมิตรสำหรับการดูแลสุขภาพแรงงานต่างด้าว | th_TH |
dc.title.alternative | Friendly Occupational Health Services Model Development for Protecting Migrant Workers’ Health | en_US |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | In 2019, approximately more than 3 million migrants were working in Thailand. Major labor source countries (2,816,241 migrants) were the neighbouring countries including Myanmar, Cambodia and Laos. Occupational health (OH) problems among migrants were often found as a result of language and cultural barriers to health care access, and documentation status. This study was conducted to develop the occupational health services model (OHS) for migrant employees. This action research consisted of three stages including the situation analysis, formation and institutionalization. In the first stage, existing OHS situations were explored among participated agencies using both quantitative and qualitative methods. Data were collected from safety officers or human resources personal among 48 factories in Samut Prakan and Samut Sakhon using the structured questionnaire. Among them, 52 migrant employees were selected to participate. Then, qualitative data were collected from stakeholders using in-depth interviews and focus groups methods. In the second stage, Delphi technique was used to develop a friendly-migrant OHS model following the data from 21 experts who worked in occupational health field. In the institutionalization stage, some OHS activities of such model were chosen to launch in 4 pilot factories. Quantitative data were analyzed using frequency, percentage, Chi-square test and Fisher Exact test. In addition, qualitative data were analyzed using Thematic analysis. Results showed that among participated factories, most of them were food, beverages and drinking water factories (37.5%) which had 100 – 499 employees (37.5%). Only the large factories (employees >1,000) which had the number of migrants higher than Thais. Most of factories (97.9%) had safety officers (professional level). The interpreters were employed in 32 (66.7%) factories. Only 10 (20.8%) factories had migrant health volunteers who were interpreters as well. Occupational injuries and occupational diseases (OD) were found in 35 (72.9%) and 3 (6.2%) factories, respectively. The study found the association between number of migrant employees and accident statistics (P<0.001). The size of factories also associated with interpreter employment (P=0.017) and existing OH volunteers (P=0.040). Of 52 migrant employees, they were female (57.7%) aged 20-29 years old (53.8%). Myanmar was the most proportion (92.3%) who had worked for 1-5 years (53.8%). Most of such employees (70%) were trained on the topic influencing safety at work. Few of them had been trained to prevent OD, communicable diseases or family planning. Animated media which could access through internet were most preferred among participated employees. For the government side, related agencies which are under Ministry of Labor provided the services for employers and employees following the own legislations. In Samut Sakhon province, the provincial hospital could provide both passive and pro-active OHS to migrant employees. To be the effective services, hospital had a specific migrant clinic where had the interpreters whom employed to facilitate during services provision. In the same time, the provincial hospital in Samut Prakan provided services mostly for communicable diseases and health examination indicated for health insurance. Interpreters were available in Tuberculosis clinic offered by nongovernmental organization. According to the gap found from information in the first phase, OHS model was established to address on activities related to OH risk communication, coverage of some OHS services to migrant workers such as OD diagnosis and record, return to work management and health database development. Based on time constraint, this study selected some activities to perform addressed on the OH risk communication. OH migrant volunteer curriculum and training, 3 languages OH media, and self-health evaluation corner were launched in 4 factories. The core content of such curriculum was the OD and injuries protection. Immediately after the training, more than 60% of participants were very satisfied. However, after 3 months follow up, only trainees in 2 factories could partly organize OH and safety activities with related staff. The limitations of this study revealed as follow; 1) the generalization of the results was limited because of qualitative oriented data collection 2) the OHS model was developed based on the context of only formal migrant workers and 3) the curriculum was developed to train the migrant employees to be the OH volunteers but only few employees could perform the activities following their roles. This study recommended that the Ministry of Public Health should bring the OHS model to implement especially in the abundant migrants provinces. Additionally, the developed curriculum should be integrated with the existing one and details of OD protection should be addressed. The Ministry of labor should consider the quality of employed migrants and more enforce the factories to comply related conventions for improvement the occupational health and safety among such employees. The OHS model in the present study were addressed on formal migrant workers. Therefore, OHS for informal sector should be considered in further study. | en_US |
dc.identifier.callno | HB886 อ333ก 2563 | |
dc.identifier.contactno | 61-053 | |
.custom.citation | อรพันธ์ อันติมานนท์, Orrapan Untimanon, โกวิทย์ บุญมีพงศ์, Kowit Boonmephong, จุไรวรรณ ศิริรัตน์, Churaiwan Sirirat, ภัทรินทร์ คณะมี, Pattarin Kanamee, อมราภรณ์ ลาภเหลือ, Ammaraporn Laplue, ธิติรัตน์ สายแปง, Titirut Saipang, กมลชนก สุขอนันต์, Kamonchanok Sukanun, ธนาพร ทองสิม and Tanaporn Thongsim. "การพัฒนารูปแบบการจัดบริการอาชีวอนามัยที่เป็นมิตรสำหรับการดูแลสุขภาพแรงงานต่างด้าว." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5196">http://hdl.handle.net/11228/5196</a>. | |
.custom.total_download | 135 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 19 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 5 | |