แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การสังเคราะห์ช่องว่างทางความรู้ด้านเชื้อดื้อยาในคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

dc.contributor.authorวสันต์ กาติ๊บth_TH
dc.contributor.authorWasan Katipth_TH
dc.contributor.authorเพ็ญกาญจน์ กาญจนรัตน์th_TH
dc.contributor.authorPenkarn Kanjanaratth_TH
dc.contributor.authorดวงพร พิชผลth_TH
dc.contributor.authorDuangporn Pichpolth_TH
dc.contributor.authorทองกร มีแย้มth_TH
dc.contributor.authorTongkorn Meeyamth_TH
dc.contributor.authorอุษณีย์ อนุกูลth_TH
dc.contributor.authorUsanee Anukoolth_TH
dc.date.accessioned2020-04-24T02:30:37Z
dc.date.available2020-04-24T02:30:37Z
dc.date.issued2562-12
dc.identifier.otherhs2554
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5200
dc.description.abstractยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial Medicines) โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาต้านจุลชีพที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแพทย์และการสาธารณสุข เนื่องจากใช้เพื่อป้องกันและรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย จึงทำให้การเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อเหล่านี้ลดลงและมีความสำคัญอย่างมากต่อการแพทย์แผนปัจจุบัน เช่น การผ่าตัดทั่วไป การผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนหรือเพื่อปลูกถ่ายอวัยวะและการรักษาด้วยเคมีบำบัด เนื่องจากการทำหัตถการทางการแพทย์เหล่านี้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อจึงจำเป็นต้องพึ่งพายาต้านจุลชีพที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันและรักษาการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ยาต้านจุลชีพยังจำเป็นเพื่อใช้ป้องกันและรักษาโรคในทางสัตวแพทย์และการเกษตร เช่น การปศุสัตว์ การประมงและการเพาะปลูก จึงมีความสำคัญต่อสุขภาพสัตว์และพืช ห่วงโซ่การผลิตอาหารและเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาการดื้อยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial Resistance, AMR) ของเชื้อแบคทีเรียได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ยาต้านจุลชีพที่ในอดีตเคยใช้ได้ผลกลับกลายเป็นใช้ไม่ได้ผลแล้วในปัจจุบัน ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมยาทั่วโลกไม่มีการวิจัยและพัฒนาหรือค้นคิดยาต้านจุลชีพชนิดใหม่เพื่อต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรียดื้อยา สถานการณ์เช่นนี้ทำให้ทุกประเทศทั่วโลกกำลังเข้าสู่ ‘ยุคหลังยาปฏิชีวนะ (Post-Antibiotic Era)’ ที่การเจ็บป่วยจากการติดเชื้อแบคทีเรียเพียงเล็กน้อยอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้และที่สำคัญ คือ อาจนำไปสู่ ‘การล่มสลาย ทางการแพทย์แผนปัจจุบัน (Collapse of Modern Medicine)’ ที่หัตถการทางการแพทย์ที่สำคัญ เช่น การผ่าตัดทั่วไป การผ่าตัดเพื่อการเปลี่ยนหรือปลูกถ่ายอวัยวะหรือการรักษาด้วยเคมีบำบัด ไม่สามารถทำได้อีกต่อไป ทั่วโลกมีการเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาประมาณปีละ 700,000 คน และหากไม่เร่งแก้ไขปัญหา คาดว่าใน พ.ศ. 2593 (หรือ 34 ปีข้างหน้า) การเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาจะสูงถึง 10 ล้านคน ประเทศในทวีปเอเชียจะมีคนเสียชีวิตมากที่สุด คือ 4.7 ล้านคน คิดเป็นผลกระทบทางเศรษฐกิจสูงถึงประมาณ 3.5 พันล้านล้านบาท (100 Trillion USD) (O’Neill J., (2016) สำหรับประเทศไทย การศึกษาเบื้องต้น พบว่า มีการเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาประมาณปีละ 38,000 คน คิดเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจโดยรวมสูง ถึง 4.2 หมื่นล้านบาท (ภาณุมาศ ภูมาศ และคณะ, (2555)) รายงานเชื้อดื้อยาล่าสุดเดือนมกราคม 2018 โดยองค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO) ประกาศพบอัตราการเกิดเชื้อดื้อยาสูงขึ้นทั้งประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เชื้อดื้อยาที่พบบ่อย คือ Escherichia Coli, Klebsiella Pneumoniae, Staphylococcus Aureus, Streptococcus Pneumoniae และ Salmonella Spp. และพบอัตราการติดเชื้อดื้อยาสูงขึ้น (WHO, (2018)) WHO ได้จัดทำ Global Action Plan on AMR ขึ้นในปี ค.ศ. 2015 ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการที่ประเทศสมาชิกทั่วโลกสามารถนำไปดำเนินการเพื่อลดปัญหาเชื้อดื้อยาของประเทศได้ Global Action Plan on AMR แนะนำให้แต่ละประเทศพัฒนาแผนปฏิบัติการระดับประเทศด้านเชื้อดื้อยา ให้เกิดการทำงานร่วมกันหลายภาคส่วนและดำเนินการในประเด็นสำคัญเพื่อจัดการปัญหาเชื้อดื้อยา (WHO, (2015)) สำหรับประเทศไทย แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 (กระทรวงสาธารณสุข, 2560) ได้ถูกประกาศใช้ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2016 และเข้าร่วมเป็นสมาชิกในโครงการ GLASS ของ WHO ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สำหรับแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 มีการกำหนดวิสัยทัศน์ คือ การป่วย การตายและผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากเชื้อดื้อยาลดลง กำหนดเป้าประสงค์ที่ต้องการบรรลุภายในปี 2564 ไว้ 5 ประการ คือ 1) การป่วยจากเชื้อดื้อยาลดลงร้อยละ 50 2) การใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับมนุษย์ลดลงร้อยละ 20 3) การใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับสัตว์ลดลงร้อยละ 30 4) ประชาชนมีความรู้เรื่องเชื้อดื้อยาและตระหนักในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 และ 5) ประเทศไทยมีระบบจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพที่มีสมรรถนะตามเกณฑ์สากล แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 ตั้งอยู่บนหลักการ 3 ข้อ คือ (1) เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่เน้นลงมือทำ (Action-Oriented Strategy) และวัดผลได้ (2) เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่เน้นการทำงานร่วมของหน่วยงานและภาคส่วนต่างๆ อย่างบูรณาการและเสริมพลัง (Synergized and Orchestrated Strategy) และ (3) เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่กระตุ้นให้เกิดความมุ่งมั่นทางการเมือง (Political Commitment) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการนำไปสู่การจัดการปัญหาและการจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสม เพื่อให้การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพของประเทศมีประสิทธิภาพและยั่งยืน แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว ยุทธศาสตร์ที่ 2 การควบคุมการกระจายยาต้านจุลชีพในภาพรวมของประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในสถานพยาบาลและควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม ยุทธศาสตร์ที่ 4 การป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยาและควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในภาคการเกษตรและสัตว์เลี้ยง ยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมความรู้ด้านเชื้อดื้อยาและความตระหนักด้านการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมแก่ประชาชน และยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารและพัฒนากลไกระดับนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานด้านการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างยั่งยืน โดยยุทธศาสตร์ที่ 1-5 เป็นยุทธศาสตร์เพื่อจัดการปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างบูรณาการในด้านต่างๆ ส่วนยุทธศาสตร์ที่ 6 เป็นยุทธศาสตร์เพื่อการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 ในภาพรวม เพื่อให้ประสบผลสำเร็จตามที่วางไว้ จากการที่ประเทศไทยได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพระดับประเทศ เกิดโครงสร้างและความร่วมมือระหว่างหลายภาคส่วนในการดำเนินการเฝ้าระวังและลดปัญหาเชื้อดื้อยาและเกิดงานวิจัยเรื่องเชื้อดื้อยาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องขึ้นจำนวนมาก ได้มีการรวบรวมสถานการณ์เชิงนโยบาย วิธีการขับเคลื่อน การดำเนินการ และผลที่เกิดขึ้นในการลดปัญหาเชื้อดื้อยา รวมถึงการวิจัยที่เกี่ยวข้องไว้แล้วล่าสุดในโครงการวิจัยและพัฒนาการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย พ.ศ. 2558 โดยศาสตราจารย์ นพ.วิษณุ ธรรมลิขิตกุล และมีรายงานและการขับเคลื่อนหรือส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพหลายโครงการ ซึ่งรายงานส่วนใหญ่มุ่งเน้นการทบทวนสถานการณ์เชื้อดื้อยาในมนุษย์โดยเฉพาะในผู้ป่วยใน อย่างไรก็ตามยังมีข้อมูลการวิจัยที่รวบรวมไว้จำกัด โดยเฉพาะในภาคปศุสัตว์ สัตว์น้ำ เกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องรวมรวมข้อค้นพบจากการวิจัยที่มีรายงานในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทั้งปัญหาเชื้อดื้อยาในมนุษย์ ปศุสัตว์ สัตว์น้ำ เกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการทบทวนสถานการณ์เชื้อดื้อยา ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง แบบแผนการกระจายการใช้ยาปฏิชีวนะและเชื้อดื้อยา การดำเนินการเพื่อควบคุมและลดปัญหาเชื้อดื้อยาของประเทศไทย การทบทวนการวิจัยด้านเชื้อดื้อยาอย่างเป็นระบบและสังเคราะห์ช่องว่างทางความรู้ด้านเชื้อดื้อยาของประเทศไทย ซึ่งจะนำไปสู่การสนับสนุนการวิจัยที่จำเป็น เพื่อขับเคลื่อนนโยบายและการดำเนินการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นในการลดปัญหาปัญหาเชื้อดื้อยาในมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อมต่อไป วัตถุประสงค์ 1) ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเพื่อรองรับการขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ทั้ง 5+1 2) ทบทวนสถานการณ์การจัดการ เรื่องนโยบาย การเฝ้าระวัง การป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยาที่มีอยู่ในประเทศไทย และ 3) สังเคราะห์ช่องว่างทางความรู้และจัดลำดับความสำคัญของการวิจัยด้านเชื้อดื้อยาของประเทศไทยth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectAntimicrobialth_TH
dc.subjectAntimicrobial Resistanceth_TH
dc.subjectAntibioticth_TH
dc.subjectยาต้านจุลชีพth_TH
dc.subjectเชื้อดื้อยาth_TH
dc.subjectยาปฏิชีวนะth_TH
dc.subjectระบบติดตามเฝ้าระวังth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการสังเคราะห์ช่องว่างทางความรู้ด้านเชื้อดื้อยาในคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeSynthesis of Knowledge Gaps on Antimicrobial Resistance in Human, Animals, and Environment in Thailandth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoQV350 ว358ก 2562
dc.identifier.contactno61-081
dc.subject.keywordAntimicrobial Medicineth_TH
.custom.citationวสันต์ กาติ๊บ, Wasan Katip, เพ็ญกาญจน์ กาญจนรัตน์, Penkarn Kanjanarat, ดวงพร พิชผล, Duangporn Pichpol, ทองกร มีแย้ม, Tongkorn Meeyam, อุษณีย์ อนุกูล and Usanee Anukool. "การสังเคราะห์ช่องว่างทางความรู้ด้านเชื้อดื้อยาในคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5200">http://hdl.handle.net/11228/5200</a>.
.custom.total_download182
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year30
.custom.downloaded_fiscal_year3

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2554.pdf
ขนาด: 2.429Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย