แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การประเมินความคุ้มค่าการผ่าตัดปลูกถ่ายตับในผู้ป่วยโรคตับแข็งระยะกลางและระยะท้าย ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

dc.contributor.authorภูษิต ประคองสายth_TH
dc.contributor.authorPhusit Prakongsaith_TH
dc.contributor.authorกุมารี พัชนีth_TH
dc.contributor.authorKumaree Pachaneeth_TH
dc.contributor.authorธนะวัฒน์ วงศ์ผันth_TH
dc.contributor.authorThanawat Wongphanth_TH
dc.contributor.authorประเวชย์ มหาวิฑิตวงศ์th_TH
dc.contributor.authorPrawej Mahawithitwongth_TH
dc.contributor.authorประวัฒน์ โฆสิตะมงคลth_TH
dc.contributor.authorPrawat Kositamongkolth_TH
dc.contributor.authorสัญหวิชญ์ จันทร์รังสีth_TH
dc.contributor.authorSanhawit Janrungseeth_TH
dc.contributor.authorบัณฑูร นนทสูติth_TH
dc.contributor.authorBunthoon Nonthasootth_TH
dc.contributor.authorกรกช เกษประเสริฐth_TH
dc.contributor.authorGoragoch Gesprasertth_TH
dc.contributor.authorกิตติพงศ์ ชัยบุตรth_TH
dc.contributor.authorKittipong Chaiyabutrth_TH
dc.contributor.authorธราธิป ศรีสุขth_TH
dc.contributor.authorTharatip Srisukth_TH
dc.date.accessioned2020-05-08T07:02:00Z
dc.date.available2020-05-08T07:02:00Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.otherhs2559
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5204
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาข้อเสนอชุดสิทธิประโยชน์สำหรับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับในผู้ป่วยโรคตับแข็งระยะกลางและระยะท้าย โดยรูปแบบของการศึกษาประกอบด้วยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การเก็บข้อมูลปฐมภูมิจากผู้ป่วยโรคตับแข็งระยะกลางและระยะท้าย จำนวน 231 ราย จากโรงพยาบาลรัฐ 6 แห่งทั่วประเทศ การประชุมระดมความคิดเห็นจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์โดยการวัดค่า Incremental Cost-Effectiveness Ratio (ICER) โดยมุมมองของผู้ให้บริการหรือโรงพยาบาลและการประเมินผลกระทบด้านภาระงบประมาณที่จะเกิดขึ้น ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคตับแข็งระยะกลางและระยะท้าย จำนวน 190 ราย ที่ได้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายตับ จำนวน 137 ราย (ร้อยละ 72) และไม่ได้รับการปลูกถ่ายตับ จำนวน 53 ราย (ร้อยละ 28) จากข้อมูลด้านสิทธิการรักษาของผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายตับ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้สิทธิสวัสดิการข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 51.5 รองลงมา คือ สิทธิบัตรทอง ร้อยละ 31.6 และสิทธิประกันสังคม ร้อยละ 11.8 ตามลำดับ สำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการปลูกถ่ายตับ ส่วนใหญ่ใช้สิทธิสวัสดิการข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจเช่นเดียวกัน ร้อยละ 41.5 รองลงมาเป็นสิทธิบัตรทอง ร้อยละ 35.8 และสิทธิประกันสังคม ร้อยละ 20.8 และด้านรายได้ต่อครัวเรือนของผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายตับ ส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนระหว่าง 50,001-100,000 บาท รองลงมาคือรายได้ระหว่าง 20,001-30,000 บาท และ 10,001-20,000 บาท และรายได้น้อยกว่า 10,000 บาท ส่วนผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการปลูกถ่ายตับส่วนใหญ่ ส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนที่ต่ำกว่าคือระหว่าง 10,001-20,000 บาท รองลงมา คือ ระหว่าง 20,001-30,000 บาท และ 50,001-100,000 บาทตามลำดับ ซึ่งจากข้อมูลพบว่า รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนมีผลต่อการเข้าถึงการรักษาโรคตับแข็งระยะกลางและระยะท้ายด้วยการปลูกถ่ายตับ เนื่องจากเป็นการรักษาที่มีราคาแพงทำให้ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ข้อมูลรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้รับการปลูกถ่ายตับจึงต่ำกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการปลูกถ่ายตับอย่างชัดเจน จากการประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ป่วยโรคตับแข็งที่ได้รับการปลูกถ่ายตับจะมีค่าคุณภาพชีวิตสูงกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการปลูกถ่ายตับ เมื่อนำข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตที่ได้จากการประเมินผ่านเครื่องมือ EQ-5D-3L มาคำนวณเป็น Utility Score ของผู้ป่วยที่ได้รับและไม่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ ณ วันที่ตอบแบบสัมภาษณ์พบว่า ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ (N=137) มีค่ากลาง (Median) ของ Utility Score เท่ากับ 0.726 ในขณะที่กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ เมื่อประเมินคุณภาพชีวิตผ่านเครื่องมือ EQ-5D-3L พบว่ามีค่ากลางของ Utility Score เท่ากับ 0.635 ในการคำนวณความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ โดยมีสมมติฐานให้ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับจะมีชีวิตรอดประมาณ 3 ปี และอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ ปีที่ 1, 5, 10 และ 20 จะมีค่าเท่ากับร้อยละ 88, 79, 69 และ 59 ตามลำดับ ดังนั้น ค่า ICER ของการผ่าตัดปลูกถ่ายตับจะมีค่า 197,857.19 บาท ต่อ QALY Gained ซึ่งจะสูงกว่าค่า Threshold ของประเทศไทยที่กำหนดไว้ 160,000 บาทต่อ 1 QALY Gained และจากสมมุติฐานนี้สามารถประมาณการผลกระทบด้านภาระงบประมาณสำหรับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตั้งแต่ปีที่ 1 ที่เริ่มการให้สิทธิประโยชน์ไปจนถึงปีที่ 20 โดยในปีแรกจะมีภาระด้านงบประมาณ 35.0 ล้านบาทและเพิ่มเป็น 71.7, 100.6 และ 147 ล้านบาท ในปีที่ 5, 10 และ 20 ตามลำดับ ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยคือ การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการผ่าตัดปลูกถ่ายตับซ้ำหากมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต้นทุน โดยเฉพาะค่ายากดภูมิคุ้มกันหรือยาต้านไวรัสที่มีการใช้ยาที่เป็น Generic Name มากขึ้น การสนับสนุนให้มีการเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่เป็น Longitudinal หรือ Cohort Data ในสถานพยาบาลต่างๆ เพิ่มมากขึ้นและเก็บข้อมูลที่เป็นตัวแทนของผู้ป่วยโรคตับแข็งที่ไม่สามารถเข้าถึงการผ่าตัดปลูกถ่ายตับให้มากขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectตับ, โรคth_TH
dc.subjectLiver--Cirrhosisth_TH
dc.subjectหลักประกันสุขภาพแห่งชาติth_TH
dc.subjectUniversal Coverage--Thailandth_TH
dc.subjectUniversal Health Coverageth_TH
dc.subjectMedical Careth_TH
dc.subjectบริการทางการแพทย์th_TH
dc.subjectต้นทุนต่อหน่วยth_TH
dc.subjectUnit Costth_TH
dc.subjectบริการทางการแพทย์--การวิเคราะห์ต้นทุนth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการประเมินความคุ้มค่าการผ่าตัดปลูกถ่ายตับในผู้ป่วยโรคตับแข็งระยะกลางและระยะท้าย ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าth_TH
dc.title.alternativeEconomic evaluation of liver transplantation for moderate to severe liver cirrhosis patients in universal health coverageth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoW160 ภ698ก 2563
dc.identifier.contactno61-069
.custom.citationภูษิต ประคองสาย, Phusit Prakongsai, กุมารี พัชนี, Kumaree Pachanee, ธนะวัฒน์ วงศ์ผัน, Thanawat Wongphan, ประเวชย์ มหาวิฑิตวงศ์, Prawej Mahawithitwong, ประวัฒน์ โฆสิตะมงคล, Prawat Kositamongkol, สัญหวิชญ์ จันทร์รังสี, Sanhawit Janrungsee, บัณฑูร นนทสูติ, Bunthoon Nonthasoot, กรกช เกษประเสริฐ, Goragoch Gesprasert, กิตติพงศ์ ชัยบุตร, Kittipong Chaiyabutr, ธราธิป ศรีสุข and Tharatip Srisuk. "การประเมินความคุ้มค่าการผ่าตัดปลูกถ่ายตับในผู้ป่วยโรคตับแข็งระยะกลางและระยะท้าย ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5204">http://hdl.handle.net/11228/5204</a>.
.custom.total_download87
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year19
.custom.downloaded_fiscal_year3

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2559.pdf
ขนาด: 2.259Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย