แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการสร้างแรงจูงใจของกำลังคนด้านสุขภาพต่อการทำงานในพื้นที่ห่างไกล

dc.contributor.authorพุดตาน พันธุเณรth_TH
dc.contributor.authorPudtan Phanthunaneth_TH
dc.contributor.authorอติพันธ์ สุวัฒน์เมฆินทร์th_TH
dc.contributor.authorAtipan Suwatmakinth_TH
dc.contributor.authorศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัยth_TH
dc.contributor.authorSupasit Pannarunothaith_TH
dc.date.accessioned2020-05-14T03:55:00Z
dc.date.available2020-05-14T03:55:00Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.otherhs2560
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5205
dc.description.abstractปัญหาความขาดแคลนกำลังคนทางด้านสุขภาพในเขตพื้นที่ชนบทหรือพื้นที่ห่างไกล เป็นปัญหาที่เรื้อรังเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ทางแก้ปัญหาทางหนึ่งคือการใช้แรงจูงใจที่เหมาะสมและสามารถจูงใจให้บุคลากรทางการแพทย์เต็มใจทำงานในพื้นที่ห่างไกล การศึกษาครั้งนี้จัดทำขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจและคุณภาพชีวิตของกำลังคนด้านสุขภาพที่ทำงานในพื้นที่ห่างไกลหรือพื้นที่ชายแดน และ (2) เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการสร้างแรงจูงใจของกำลังคนด้านสุขภาพต่อการทำงานในพื้นที่ห่างไกล การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ประกอบไปด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบกัน โดยผลของการวิจัยเชิงคุณภาพจะนำไปพัฒนาคุณลักษณะและระดับของแต่ละระดับของทางเลือกที่ระบุในแบบสอบถามตามแนวทางของแบบจำลองพฤติกรรมทางเลือก (Discrete Choice Experiment หรือ DCE) ต่อไป โดยแบบจำลอง DCE วิเคราะห์ข้อมูลเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มแรก ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกร อีกกลุ่มคือ พยาบาลและทีมสหวิชาชีพ การวิเคราะห์การวิจัยเชิงคุณภาพใช้ Thematic Analysis ต่อไป ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้ Conditional Logit Regression Model ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า คุณลักษณะที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ ได้แก่ รายได้ประจำ ภาระงาน การได้รับโอกาสในการพัฒนาตนเอง การจัดการเรื่องการร้องเรียน การได้ทำงานในจังหวัดบ้านเกิด ความสัมพันธ์ในการทำงานโดยเฉพาะในส่วนความสัมพันธ์เชิงราบ การมีสิ่งอำนวยความสะดวกและระบบสาธารณูปโภคที่ดี เช่น ไฟฟ้า ประปา โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตที่สำคัญทั้งกับการทำงาน กิจกรรมสันทนาการ การมีบ้านพักที่สะดวกและปลอดภัย การได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ ภูมิอากาศหรือคุณภาพของสิ่งแวดล้อมและปัจจัยเรื่องครอบครัว จากการวิเคราะห์ด้วย Conditional Logit Regression Model พบว่า ในกลุ่มแพทย์ ทันตแพทย์และเภสัชกร ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ จำนวนภาระงาน การมีร้านสะดวกซื้อ การมีบ้านพักในลักษณะบ้าน ส่วนปัจจัยรายได้เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกมากที่สุด กล่าวคือ ถ้ารายได้มากขึ้นกว่าเพื่อนที่ทำงานในโรงพยาบาลรัฐในเขตเมือง 40% ทำให้เลือกมากขึ้น 4.2 เท่า ถ้ามากขึ้น 60% ทำให้เลือกมากขึ้น 8.3 เท่า ในมุมมองของวิชาชีพพยาบาลและทีมสหวิชาชีพ พบว่า ภาระงาน การมีโอกาสได้ไปเรียนต่อ การได้ทำงานในจังหวัดบ้านเกิด การที่ผู้บริหารเห็นคุณค่าของงานที่ทำ การมีที่พักที่ได้อยู่คนเดียวเมื่อเทียบกับการอยู่กับคนอื่น การมีโอกาสได้รับการบรรจุมากขึ้นหรือเร็วขึ้นในเขตชนบทและรายได้ มีผลต่อการตัดสินใจทำงานในพื้นที่เขตชนบท โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกมากที่สุด คือ รายได้และการได้ทำงานในจังหวัดบ้านเกิด รายได้เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเลือกทำงานของบุคลากรในพื้นที่ห่างไกลมากที่สุด การมีเงินอุดหนุนสำหรับบุคลากรในพื้นที่ห่างไกลดังนโยบายค่าตอบแทนที่มีในปัจจุบันช่วยลดความขาดแคลนลงได้ การให้ทุนการศึกษาต่อแก่เด็กนักเรียนในพื้นที่เพื่อทำงานในจังหวัดบ้านเกิดและการจัดการเรื่องบ้านพักให้ตรงตามความต้องการของบุคลากรเป็นนโยบายที่จัดการในระดับจังหวัดหรือเขตสุขภาพได้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสาธารณสุขth_TH
dc.subjectความพึงพอใจในการทำงานth_TH
dc.subjectPrimary Health Careth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการสร้างแรงจูงใจของกำลังคนด้านสุขภาพต่อการทำงานในพื้นที่ห่างไกลth_TH
dc.title.alternativePolicy development for enhancing incentives for human resources for health to work in the rural and remote areas to support primary care servicesth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe problem of shortage of human resource for health (HRH) in remote areas has been concerned for decades. Providing financial and non-financial incentives is one of the effective solutions. The objectives of this study include (1) to indicate incentives and quality of life of HRH working on remote areas and (2) to develop policies for motivating HRH to be willing to working in remote areas. The quantitative and qualitative research has been used. We used qualitative method for development of attributes and response level for an analysis of Discrete Choice Experiment (DCE). The DCE was conducted into two groups: group 1 - physicians, dentists and pharmacists; and group 2 - nurses and multidisciplinary team. The thematic analysis and conditional logit regression model were used for qualitative research and DCE, respectively. Regarding results from qualitative analysis, the attributes influencing decision making of HRH working in remote areas include income, workload, self development, working in hometown, horizontal relationship, good facilities (e.g. electricity, water supply, especially the internet that is important for work and recreational activities), having a safe and convenient house, being instilled as government official, clean environment and family issues. The results from conditional logit regression model determine that workload, convenient stores, and private accommodation are important incentives, however, the most important attribute was income. It was found that if they got income a 40% higher than friends working in urban areas, they had 4.2 times more chance to work in remote areas; If a 60% higher, 8.3 times more chance to work in remote areas. For Nurses and multidisciplinary team, workload, self development, working in hometown, living in private accommodation, being instilled as government official, especially income are important incentives. It was confirmed that income is the most important incentive to motivate HRH working in remote areas. The current incentive policy of providing subsidy for HRH working remote areas should be remained. Another policy to be considered is providing scholarship to local students to work in their hometown as well as providing private accommodation to meet requirement of workers. This policy can be managed at the level of provinces and regions.th_TH
dc.identifier.callnoW76 พ826ก 2563
dc.identifier.contactno62-011
.custom.citationพุดตาน พันธุเณร, Pudtan Phanthunane, อติพันธ์ สุวัฒน์เมฆินทร์, Atipan Suwatmakin, ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย and Supasit Pannarunothai. "การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการสร้างแรงจูงใจของกำลังคนด้านสุขภาพต่อการทำงานในพื้นที่ห่างไกล." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5205">http://hdl.handle.net/11228/5205</a>.
.custom.total_download192
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year17
.custom.downloaded_fiscal_year2

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2560.pdf
ขนาด: 6.142Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย