แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปี ขึ้นไป พ.ศ. 2562

dc.contributor.authorวิมล โรมาth_TH
dc.contributor.authorWimon Romath_TH
dc.contributor.authorสายชล คล้อยเอี่ยมth_TH
dc.contributor.authorSaichon Kloyiamth_TH
dc.contributor.authorวรัญญา สุขวงศ์th_TH
dc.contributor.authorWarunya Sookawongth_TH
dc.contributor.authorฐิติวัฒน์ แก้วอำดีth_TH
dc.contributor.authorThitiwat Kaew-Amdeeth_TH
dc.contributor.authorอัจฉรา ตันหนึ่งth_TH
dc.contributor.authorAtchara Tunnungth_TH
dc.contributor.authorรุ่งนภา คำผางth_TH
dc.contributor.authorRoongnapa Khampangth_TH
dc.contributor.authorรักมณี บุตรชนth_TH
dc.contributor.authorRukmanee Butchonth_TH
dc.date.accessioned2020-06-04T03:34:22Z
dc.date.available2020-06-04T03:34:22Z
dc.date.issued2562-11
dc.identifier.isbn9786161142353
dc.identifier.otherhs2570
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5216
dc.description.abstractการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปี ขึ้นไป มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับเขตสุขภาพและประเทศตามทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพและบริบทที่จำเป็นต่อการมีสุขภาพที่ดีตลอดช่วงวัย 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อระบุกลุ่มประชากรกลุ่มเสี่ยง 3. สร้างความตระหนักแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเรื่องอิทธิพลของความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความสำเร็จของการดำเนินงานสาธารณสุขในประเทศ 4. สร้างองค์ความรู้บนหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อการตัดสินใจเชิงนโยบายและการวางแผนและการปฏิบัติที่ถูกต้องและแม่นยำ ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมถึงสิงหาคม 2562 โดยสำนักงานโครงการขับเคลื่อนกรมอนามัย 4.0 เพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน กรมอนามัย ร่วมด้วยศูนย์อนามัยที่ 1 – 12 และสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง ด้วยงบประมาณสนับสนุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ได้ตัวอย่างของประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป จำนวน 17,530 คน เป็นชาย 6,779 คน (ร้อยละ 38.67) และหญิง 10,751 คน (ร้อยละ 61.33) ข้อเสนอแนะจากผลการสำรวจ หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาคการศึกษา สังคมและสุขภาพควรสร้างความตระหนักและความเข้าใจเรื่องผลกระทบของความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากบริการต่างๆ ของกลุ่มผู้ใช้บริการที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอแก่บุคลากรในหน่วยงาน ผู้กำหนดนโยบายและผู้ที่ทำงานด้านความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ การสำรวจฯ นี้แสดงให้เห็นว่า คนไทยร้อยละ 19.09 มีความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอที่จะมีส่วนร่วมหรือใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพและบริการสุขภาพในบริบทการบริการสุขภาพ การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพและผลิตภัณฑ์ยาและสุขภาพ เพื่อดูแลสุขภาพของตนเองและสมาชิกในครอบครัวได้ การส่งเสริมให้คนไทยมีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เพียงพอหรือสามารถมีส่วนร่วมและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารและความรู้สุขภาพและบริการต่างๆ ได้อย่างง่ายเพื่อดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัวตลอดช่วงชีวิตนั้น ควรพิจารณายุทธศาสตร์ 2 ลักษณะ อันได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่มุ่งสร้างความรู้ แรงจูงใจและทักษะที่จำเป็นต่อการเข้าถึง เข้าใจ ซักถามและตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่น่าเชื่อถือและเพียงพอด้วยตนเอง โดยเฉพาะทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการต่างๆ และการซักถาม และยุทธศาสตร์มุ่งลดความซับซ้อนของระบบบริการต่างๆ ที่มีอยู่ในสังคม โดยเฉพาะในมิติผลิตภัณฑ์ยาและสุขภาพและการบริการสุขภาพและออกแบบให้ระบบช่วยเกื้อหนุน อำนวยความสะดวกและเพิ่มอำนาจให้กับพลเมืองในการพึ่งตนเองให้มากที่สุดหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ระบบบริการต่างๆ ควรเป็นมิตรต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ หน่วยงานด้านการศึกษาควรฝึกทักษะการอ่านและเขียนข้อมูลความรู้สุขภาพให้แก่นักเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมและเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในการเข้าถึงและเข้าใจข้อมูลข่าวสารและความรู้สุขภาพ โดยเฉพาะในข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่เผยแพร่ในอินเตอร์เน็ต/ไลน์/เฟซบุ๊ก เนื่องจากการสำรวจฯ นี้แสดงให้เห็นว่า คนที่อ่านไม่ได้และเขียนไม่คล่องมีโอกาสที่จะมีความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอมากกว่าคนที่อ่านหรือเขียนได้คล่องและการไม่ได้รับข้อมูลด้านสุขภาพจากอินเตอร์เน็ต/ไลน์/เฟซบุ๊กมีอิทธิพลต่อระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพมากที่สุด รองจากการไม่ได้เรียนหนังสือ หน่วยงานด้านการศึกษา สังคมและสุขภาพควรออกแบบระบบการบริการให้มีความซับซ้อนน้อยลง โดยคำนึงถึงผู้ใช้บริการที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอ อย่างน้อยให้ผู้ที่อายุ 60 ปี ขึ้นไป ที่มีการศึกษาตั้งแต่ประถมศึกษาลงมาสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลและบริการได้อย่างง่าย เนื่องจากการสำรวจฯ แสดงให้เห็นว่า สัดส่วนของผู้ที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอพบมากที่สุดในกลุ่มผู้ที่อายุ 60 ปี ขึ้นไป และมีการศึกษาตั้งแต่ประถมศึกษาลงมา ควรกระตุ้น ส่งเสริมและสนับสนุนให้คนในชุมชนมีบทบาทหรือเป็นสมาชิกของกลุ่มชมรมในชุมชน เนื่องจากการสำรวจฯ นี้พบว่า ผู้ที่มีบทบาทในชุมชนมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพสูงกว่าคนที่ไม่มีบทบาท ขณะที่การไม่มีบทบาทในชุมชนสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอ หน่วยงานทุกระดับควรพัฒนาช่องทางการเข้าถึงข้อมูลและบริการที่น่าเชื่อถือและเหมาะสมกับผู้ที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอ ประชาสัมพันธ์ช่องทาง อธิบายขั้นตอนการเข้าถึงข้อมูลและบริการ และกระตุ้นให้ผู้ใช้บริการที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและความรู้สุขภาพจากแหล่งความรู้ที่หลากหลายและมีความน่าเชื่อถือใกล้ชุมชนของตนเอง ควรปรับหลักสูตรและรูปแบบการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในภาคการศึกษา สังคมและสุขภาพเพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอและทำหน้าที่เปรียบเสมือนผู้ช่วยหรือสนับสนุนในกระบวนการตัดสินใจมากกว่าที่จะเป็นผู้ตัดสินใจแทน เช่น การสื่อสารด้วยภาษาที่เรียบง่าย การให้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจอย่างรอบด้านและเพียงพอ การสอบทานความเข้าใจ การกระตุ้นให้ซักถามคลายความสงสัยอย่างเป็นมิตร เป็นต้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Literacyth_TH
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.titleการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปี ขึ้นไป พ.ศ. 2562th_TH
dc.title.alternativeThai Health Literacy Survey (THL-S) of Thais aged 15 years and above, 2019th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.publicationภายใต้โครงการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปี ขึ้นไป พ.ศ. 2560 (ระยะที่ 2)th_TH
dc.description.abstractalternativeThe Thai Health Literacy Survey (THL-S) of Thais aged 15 years and above has four objectives as follows: 1. to study the current situation of health literacy among Thais aged 15 years and above at the health regional and national level across health literacy competences and health domains. 2. to explore relationships between relevant factors and health literacy for identifying populations at risk. 3. to raise awareness among health professionals and relevant professionals on the impact of limited health literacy on national public health. 4. to produce evidence – based knowledge for better policy making, planning and implementation. The survey took place between March – August 2019. The Office of DoH 4.0 and Health Literacy led the project in collaborations with the 12 health promoting centers and Metropolitan Health and Wellness Institute. The project was financially supported by the Health System Research Institute. The valid sample size was 17,530 people. 38.67 percent were male and 61.33 percent were female. Key Recommendations Relevant organizations in health, educational, and social sectors should raise awareness and improve understanding among their personnel about the impact of limited health literacy on access to and utilization of their services. Effective health literacy related interventions should emphasize two approaches; one is to motivate and build individual capacity needed for finding, understanding, communicating and making health related decisions. The other one is to reduce the system demand and complexity and empower the people to become self-reliant so that the systems and services are health literacy friendly for all. Relevant educational organizations should build a strong literacy among students for finding, understanding, communicating about health information and making health related decisions. They might emphasize e-health literacy skills. The people in communities should be encouraged to take part in community based activities and assigned a role. All organizations should develop reliable and accessible channels for disseminating and searching for information. They also should announce and explain how to make use of the channels in appropriate manners. Curricula for health professionals, educators and social workers should address knowledge, skills, and technologies that can be used to facilitate and assist those who have limited health literacy.th_TH
dc.identifier.callnoW84.1 ว663ก 2562
dc.identifier.contactno61-085
dc.subject.keywordความรอบรู้ด้านสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordHealth Literacy Surveyth_TH
.custom.citationวิมล โรมา, Wimon Roma, สายชล คล้อยเอี่ยม, Saichon Kloyiam, วรัญญา สุขวงศ์, Warunya Sookawong, ฐิติวัฒน์ แก้วอำดี, Thitiwat Kaew-Amdee, อัจฉรา ตันหนึ่ง, Atchara Tunnung, รุ่งนภา คำผาง, Roongnapa Khampang, รักมณี บุตรชน and Rukmanee Butchon. "การสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปี ขึ้นไป พ.ศ. 2562." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5216">http://hdl.handle.net/11228/5216</a>.
.custom.total_download2072
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month8
.custom.downloaded_this_year233
.custom.downloaded_fiscal_year54

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2570.pdf
ขนาด: 25.18Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย