Show simple item record

Policy Proposals Synthesis on the Implementation Development of the Participatory Health Region 3

dc.contributor.authorชมนาด วรรณพรศิริth_TH
dc.contributor.authorChommanard Wannapornsirith_TH
dc.contributor.authorสมศักดิ์ โทจำปาth_TH
dc.contributor.authorSomsak Thojampath_TH
dc.contributor.authorธนัช กนกเทศth_TH
dc.contributor.authorThanach Kanokthetth_TH
dc.date.accessioned2020-07-20T08:33:21Z
dc.date.available2020-07-20T08:33:21Z
dc.date.issued2563-06
dc.identifier.otherhs2578
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5235
dc.description.abstractการวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและประเมินผลการนำนโยบายเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตที่ 3 ไปดำเนินงานและสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายในการดำเนินงานเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตที่ 3 แหล่งข้อมูลเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตที่ 3 และผู้ให้ข้อมูลที่ประกอบด้วยคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน 24 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับยุทธศาสตร์ของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตที่ 3 จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแนวคำถามในการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและสนทนากลุ่ม แบบบันทึกข้อมูลภาคสนาม แบบบันทึกเอกสารการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Thematic Analysis ผลการศึกษาพบว่า 1. การติดตามและประเมินผลการนำนโยบายเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตที่ 3 ไปดำเนินงาน 1.1 ผู้มีบทบาทการทำงาน พบว่าคุณภาพและประสบการณ์ของคณะกรรมการมีความสำคัญต่อการทำงานของเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเป็นอย่างมากและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ค่อนข้างน้อย แต่เข้ามามีบทบาทมากในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 1.2 กระบวนการทำงานมีการปรับความคิดและวิธีการทำงานร่วมกันในระยะเริ่มต้น มีการทำงานแบบระบบเครือข่ายความร่วมมือ มีการทำงานโดยการจัดเวทีแลกเปลี่ยน มีการทำงานโดยการเรียนรู้เชื่อมประสานกับองค์กรอื่นๆ 1.3 นโยบายในการขับเคลื่อนของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตที่ 3 เป็นการขับเคลื่อน 5 ประเด็น คือ ระบบฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ระบบความมั่นคงทางอาหาร ระบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและศิลปวัฒนธรรม ระบบบริการสุขภาพระดับชุมชนและระบบบริการสาธารณสุข การนำนโยบายเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตที่ 3 ไปดำเนินงานมีการบรรลุผลในระดับการมีนโยบาย มีการขับเคลื่อนโดยการเชื่อมเครือข่ายเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนและมีการกำหนดจุดคานงัด คือ วนเกษตร ส่วนการติดตามประเมินผลมีความเป็นรูปธรรมน้อย ส่วนตัวชี้วัด 9 ลด 5 เพิ่ม ยังไม่เห็นภาพที่ชัดเจนในการเก็บข้อมูลเพื่อการประเมิน แต่กรรมการมั่นใจว่ามาถูกทาง 1.4 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ ความมุ่งมั่นของผู้นำ การทำงานเป็นทีม ความเชี่ยวชาญรอบรู้ของคีย์แมน การมีจุดร่วมเดียวกันและการมีเครือข่ายความร่วมมือ ส่วนปัญหาอุปสรรคประกอบด้วยหลายภาคส่วนยังไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่และการทำงานของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน ความไม่ต่อเนื่องของกรรมการและเวลาทำกิจกรรมและข้อจำกัดเรื่องข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศ 2. การสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายในการดำเนินงานเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตที่ 3 2.1 ข้อเสนอเชิงนโยบายระดับชาติ ประกอบด้วยการสร้างช่องทางสื่อสารข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับเขตสุขภาพเพื่อประชาชนให้หลากหลาย การเลือกกรรมการโดยพิจารณาประสบการณ์และความมุ่งมั่นในการร่วมขับเคลื่อนนโยบาย การเตรียมวิธีการทำงานร่วมกันของคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน การจัดเวทีแลกเปลี่ยนร่วมกันสำหรับเขตสุขภาพเพื่อประชาชนทุกเขต การจัดให้มีทีมวิชาการของส่วนกลางในการสนับสนุนและเลขานุการของคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนควรปฏิบัติงานแบบเต็มเวลา 2.2 ข้อเสนอเชิงนโยบายระดับเขตประกอบด้วย การประชาสัมพันธ์ในภาพรวมการทำงานของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน การจัดทำฐานข้อมูลของเขตและ/หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจควรให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาร่วมกำหนดนโยบายในการขับเคลื่อนตั้งแต่เริ่มแรก การสนับสนุนให้มีการประสานกับหน่วยงานหรือองค์กรอื่นๆ เพื่อการขับเคลื่อนประเด็นต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การกำหนดให้มีจุดคานงัดการทบทวนตัวชี้วัดหากมีการปรับกระบวนการทำงานและประเด็นการขับเคลื่อน และการจัดเวทีวิชาการของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตที่ 3 2.3 ข้อเสนอเชิงนโยบายระดับพื้นที่ประกอบด้วย การผลักดันนโยบายตามความเข้มแข็งของแต่ละพื้นที่ การจัดทำฐานข้อมูลของจังหวัดและ/หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจการสนับสนุนให้เกิดการทำงานเป็นทีม การมีจุดร่วมเดียวกันและการทำงานแบบระบบเครือข่ายความร่วมมือth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาการดำเนินงานของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตที่ 3th_TH
dc.title.alternativePolicy Proposals Synthesis on the Implementation Development of the Participatory Health Region 3th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research was a qualitative research with the purposes to monitor and evaluate the policy implementation, and to review the policy recommendation of the Participatory Health Region 3. Data sources were documents related to the Participatory Health Region 3, and informants which consist of 24 committees of the Participatory Health Region 3, and 50 stakeholders of the Participatory Heath Region 3. Research tools composed of the in-depth interview question, focus group interview question, field record form, and data record forms. Data were analyzed as a descriptive statistic: frequency distribution, percent, mean, and standard deviation. Thematic analysis was used to analyze a qualitative data. Research results showed that: 1. Monitoring and evaluation of the policy implementation for the Participatory Health Region 3 1.1 Personnel: qualification and experience of the committees played a major role in the operation of the Participatory Health Region. Stakeholders were involved in effectively as a role in national. 1.2 Working process composed of though adjustment and cooperation noticeable in the starting phase, network cooperative system, conferences, and cross-organizational collaboration. 1.3 Policy of the Participatory Health Region 3 operation consisted of five topics: resources and environment system, nutritional stabilization system, ecological and cultural traveling system, local health service system, and public health system. The policy in this level implementation for Participatory Health Region 3 was successful in a policy level. The operation was done by network cooperation and designation of the Level point "Agroforestry". On the other hand, monitoring and evaluation remained unclear for most part, and the results of the performances indices (minus 9 plus 5) remain unclear for evaluation. However, the committees were maintained that the operation was on the right track. 1.4 Keys to success were commitment of the leader, teamwork, expertise of the key persons, common ground/objectives, and network cooperation. Weaknesses composed of lack of understanding in one's role for many departments, discontinuity in the committees and time for activities, and restriction on news and information. 2. Review of policy recommendation for the operation of Participatory Health Region 3 2.1 National policy recommendation: creation of information sources related to the Participatory Health Region, electing committee by considering the experience and determination to operate the policy, preparation of the teamwork for the committee of Health Region, seminars for all Participatory Health Regions, forming a central academic team to support the regions, and appointing a secretary of the committee of the Participatory Health Region who should be a full-time employee. 2.2 Regional policy recommendation: public relation on the operation of the Participatory Health Region, database of each region and/or information for decision, permission for the stakeholders to formulate the operating policy from the beginning, encouragement of collaboration between organizations in order to operate each topic effectively, designation of the leverage point, review of the performance indices in the event of the change in working process and topics, and academic conference by the Participatory Health Region 3. 2.3 Local policy recommendation: policy enforcement according to the capability of each area, database of each province and/or information for decision, teamwork encouragement, common objective, and network cooperative working.th_TH
dc.identifier.callnoWA540.JT3 ช166ก 2563
dc.identifier.contactno62-012
dc.subject.keywordParticipatory Health Regionth_TH
dc.subject.keywordเขตสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordเขตสุขภาพเพื่อประชาชนth_TH
.custom.citationชมนาด วรรณพรศิริ, Chommanard Wannapornsiri, สมศักดิ์ โทจำปา, Somsak Thojampa, ธนัช กนกเทศ and Thanach Kanokthet. "การสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาการดำเนินงานของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตที่ 3." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5235">http://hdl.handle.net/11228/5235</a>.
.custom.total_download74
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year6

Fulltext
Icon
Name: hs2578.pdf
Size: 8.568Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record