dc.contributor.author | สุรัชดา ชนโสภณ | th_TH |
dc.contributor.author | Suratchada Chanasopon | th_TH |
dc.contributor.author | ธนะวัฒน์ วงศ์ผัน | th_TH |
dc.contributor.author | Thanawat Wongphan | th_TH |
dc.contributor.author | กุมารี พัชนี | th_TH |
dc.contributor.author | Kumaree Pachanee | th_TH |
dc.contributor.author | ภูษิต ประคองสาย | th_TH |
dc.contributor.author | Phusit Prakongsai | th_TH |
dc.contributor.author | ธนวรรณ ปรีพูล | th_TH |
dc.contributor.author | Tanawan Preepul | th_TH |
dc.contributor.author | ศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย | th_TH |
dc.contributor.author | Sirirat Anutrakulchai | th_TH |
dc.contributor.author | จารุพร พรหมวงศ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Jaruporn phromwong | th_TH |
dc.contributor.author | เกษราพร วงษ์บา | th_TH |
dc.contributor.author | Ketsaraporn Wongba | th_TH |
dc.contributor.author | มนธรี สวโรจน์ | th_TH |
dc.contributor.author | Montaree Sawarojh | th_TH |
dc.contributor.author | จิราวดี น้อยวัฒนกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Jirawadee Noiwattanakul | th_TH |
dc.contributor.author | สหรัฐ อังศุมาศ | th_TH |
dc.contributor.author | Saharat Aungsumart | th_TH |
dc.contributor.author | เมธา อภิวัฒนากุล | th_TH |
dc.contributor.author | Metha Apiwattanakul | th_TH |
dc.date.accessioned | 2020-08-07T04:23:35Z | |
dc.date.available | 2020-08-07T04:23:35Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.other | hs2584 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5240 | |
dc.description.abstract | Therapeutic Apheresis คือ การรักษาผู้ป่วยด้วยการแยกเอาส่วนประกอบที่อยู่ในเลือด เช่น เม็ดเลือดขาว น้ำเหลือง สารที่อยู่ในน้ำเหลืองซึ่งเป็นสาเหตุของโรคออกจากตัวผู้ป่วย จากการทบทวนวรรณกรรมอย่างรอบด้าน พบว่าข้อบ่งชี้ของการทำ Plasmapheresis ที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย ได้แก่ Systemic Lupus Erythematosus (SLE), การปลูกถ่ายไต, Myasthenia Gravis (MG) และ Guillain-Barre Syndrome (GBS) การรักษาด้วย Plasmapheresis เป็นการรักษาที่มีความซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์เฉพาะทาง จึงเป็นการรักษาที่พบในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิเท่านั้น สำหรับค่าใช้จ่ายของ Plasmapheresis ประกอบด้วย ค่าตัวกรอง ประมาณ 11,000 บาทต่อครั้ง (ซึ่งยังไม่สามารถเบิกได้จากกองทุนประกันสุขภาพต่างๆ) มีเพียงค่า Fresh Frozen Plasma (FFP), Albumin และค่าทำหัตถการ Plasmapheresis สามารถเบิกได้ 2,000 บาท ในกรณีสิทธิประกันสังคมและสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และ 7,000 บาท สำหรับสิทธิสวัสดิการข้าราชการ ดังนั้น ภาระค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งจึงเป็นความรับผิดชอบของโรงพยาบาลและผู้ป่วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาข้อเสนอชุดสิทธิประโยชน์สำหรับการให้บริการ Plasmapheresis สำหรับผู้ป่วย 13 โรคที่มีอาการรุนแรงเปรียบเทียบกับการรักษาแบบปกติ (Conventional Treatment) ทำการศึกษาในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี โรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลกและโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างการรักษาด้วย Plasmapheresis และ Intravenous Immunoglobulin (IVIG) แม้ว่าค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตของการรักษาทั้ง 2 แบบแตกต่างกันไม่มากนัก Plasmapheresis มีค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตต่ำกว่าการรักษาด้วย IVIG เท่ากับ 0.01 แต่ในด้านของต้นทุน พบว่าการรักษาด้วย Plasmapheresis สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายได้เฉลี่ย 27,165.7 บาทต่อผู้ป่วย 1 ราย เมื่อเปรียบเทียบกับ IVIG ดังนั้น การรักษาด้วย Plasmapheresis เป็นระบบบริการที่สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายได้เฉลี่ย 27,165.7 บาทต่อผู้ป่วย 1 ราย (เมื่อเปรียบเทียบกับ IVIG) จึงควรบรรจุอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เนื่องจากทำให้โรงพยาบาลและผู้ป่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อเทียบกับการรักษาด้วย IVIG และมีคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกัน โดยไม่มีความแตกต่างของผลการรักษา คือ Readmission Rate และ Recurrent Rate รวมถึงอัตราการเสียชีวิต แต่เนื่องจากการรักษาด้วย Plasmapheresis โรงพยาบาลไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้จากกองทุนประกันสุขภาพต่างๆ ทั้งหมด และโรงพยาบาลบางแห่งไม่ได้เรียกเก็บส่วนเกินจากผู้ป่วย ดังนั้น โรงพยาบาลส่วนใหญ่จึงรับภาระค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินที่ค่อนข้างมาก ดังนั้น กองทุนประกันสุขภาพต่างๆ ควรมีการสนับสนุนและชดเชยให้กับการรักษาด้วย Plasmapheresis อย่างเหมาะสม สำหรับการประเมินผลกระทบด้านงบประมาณ เนื่องจากการรักษาด้วย Plasmapheresis สามารถทำได้ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีเครื่อง Plasmapheresis และการจะเลือกการรักษาด้วย IVIG หรือ Plasmapheresis ขึ้นกับ Indication, Contraindication, Severity, กำลังคน, ความเชี่ยวชาญของบุคลากร หรือผลการรักษา ดังนั้น อาจไม่สามารถประมาณผลกระทบด้านงบประมาณได้ว่าหากทำ Plasmapheresis แทน IVIG ทั้งหมดจะมีภาระค่าใช้จ่ายเท่าใด อย่างไรก็ตาม จากการศึกษานี้หากผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วย IVIG ทุกสิทธิ์จำนวน 108 ราย สามารถรักษาด้วย Plasmapheresis ทั้งหมด เปลี่ยนมารักษาด้วย Plasmapheresis ทั้งหมด ทั้ง 6 โรงพยาบาลนี้จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 2,933,895.6 บาท หากเป็นมุมมองของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่มีผู้ป่วยที่ใช้ IVIG จำนวน 77 คน กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะสามารถประหยัดเงินได้ 2,091,758.9 บาท อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดบางประการที่ทำให้การจัดบริการในโรงพยาบาลต่างๆ ทำได้ค่อนข้างลำบาก ได้แก่ เครื่องมือราคาแพง ความจำกัดของบุคลากรทางการแพทย์และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่รับผิดชอบการรักษาด้วย Plasmapheresis ดังนั้น แพทยสภาและหน่วยงานที่รับผิดชอบในการผลิตกำลังคน ควรวางแผนกำลังคนในด้านนี้อย่างเหมาะสมต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การวิเคราะห์ความคุ้มทุน | th_TH |
dc.subject | Medical Care | th_TH |
dc.subject | บริการทางการแพทย์ | th_TH |
dc.subject | ต้นทุนต่อหน่วย | th_TH |
dc.subject | Unit Cost | th_TH |
dc.subject | บริการทางการแพทย์--การวิเคราะห์ต้นทุน | th_TH |
dc.subject | ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การศึกษาประสิทธิผลและการประเมินความคุ้มค่าการรักษาด้วยเครื่องพลาสมาเฟเรซิส | th_TH |
dc.title.alternative | Efficacy and cost-effectiveness analysis of plasma-exchange therapy | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.identifier.callno | W74 ส856ก 2563 | |
dc.identifier.contactno | 62-021 | |
dc.subject.keyword | Therapeutic Apheresis | th_TH |
.custom.citation | สุรัชดา ชนโสภณ, Suratchada Chanasopon, ธนะวัฒน์ วงศ์ผัน, Thanawat Wongphan, กุมารี พัชนี, Kumaree Pachanee, ภูษิต ประคองสาย, Phusit Prakongsai, ธนวรรณ ปรีพูล, Tanawan Preepul, ศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย, Sirirat Anutrakulchai, จารุพร พรหมวงศ์, Jaruporn phromwong, เกษราพร วงษ์บา, Ketsaraporn Wongba, มนธรี สวโรจน์, Montaree Sawarojh, จิราวดี น้อยวัฒนกุล, Jirawadee Noiwattanakul, สหรัฐ อังศุมาศ, Saharat Aungsumart, เมธา อภิวัฒนากุล and Metha Apiwattanakul. "การศึกษาประสิทธิผลและการประเมินความคุ้มค่าการรักษาด้วยเครื่องพลาสมาเฟเรซิส." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5240">http://hdl.handle.net/11228/5240</a>. | |
.custom.total_download | 111 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 22 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 3 | |