dc.contributor.author | เจตทะนง แกล้วสงคราม | th_TH |
dc.contributor.author | Jettanong Klaewsongkram | th_TH |
dc.date.accessioned | 2020-08-07T09:32:37Z | |
dc.date.available | 2020-08-07T09:32:37Z | |
dc.date.issued | 2563-06 | |
dc.identifier.other | hs2585 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5241 | |
dc.description.abstract | โครงการวิจัยในปีที่ 1 นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำระบบทะเบียนผู้ป่วยผื่นแพ้ยาชนิดรุนแรงแบบสหสถาบันในประเทศไทยและประเมินความสามารถในการวินิจฉัยยืนยันชนิดของยาที่เป็นสาเหตุด้วยการใช้ Interferon-Gamma ELISpot Assay (IFN-γ ELISpot) เปรียบเทียบกับผลการทดสอบผิวหนัง (Skin Patch Test) ในผู้ป่วยบางราย วิธีวิจัย ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผื่นแพ้ยาชนิดรุนแรงในระยะเวลา 1 ปี จาก 6 สถาบัน ระดับตติยภูมิ ถูกรวบรวมและวิเคราะห์ด้านข้อมูลพื้นฐานผู้ป่วย ลักษณะของผื่นแพ้ยาและชนิดของยาที่เป็นสาเหตุ ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งได้รับการทดสอบผิวหนังและตรวจ IFN-γ ELISpot เพื่อยืนยันชนิดของยาที่เป็นสาเหตุ ผลการวิจัย ผู้ป่วยผื่นแพ้ยารุนแรง จำนวน 113 ราย เป็นชาย 42 ราย หญิง 71 ราย อายุเฉลี่ย 51.7±1.8 ปี เป็นผื่นแพ้ยาชนิด Stevens-Johnson/Toxic Epidermal Necrolysis (SJS/TEN), Drug Rash with Eosinophilia and Systemic Symptoms (DRESS), และ Acute Generalized Exanthematous Pustulosis (AGEP) จำนวน 50, 46, และ 17 ราย ตามลำดับ โดยตรวจพบเซลล์ที่หลั่ง IFN-γ หลังกระตุ้นด้วยยาใน 38.9% (44/113) ของผู้ป่วยทั้งหมด และมีจำนวนเซลล์ดังกล่าวในผู้ป่วยที่ตรวจพบโดยเฉลี่ย 214.8±52.5 เซลล์/เม็ดเลือดขาวจำนวนหนึ่งล้านเซลล์ ผู้ป่วยจำนวน 30 ราย ได้รับการทดสอบผิวหนังด้วยวิธี Patch Test พบว่ามีผลการทดสอบผิวหนังเป็นบวกจำนวน 6 ราย (20%) โดยที่ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวมีผลการตรวจ ELISpot เป็นบวกจำนวน 16 ราย (53.3%) สรุปผลการวิจัย ผู้ป่วยผื่นแพ้ยารุนแรงในประเทศไทยเกือบครึ่งหนึ่งเป็นการแพ้ยาประเภท SJS/TEN การตรวจ IFN-γ ELISpot ช่วยยืนยันชนิดของยาที่เป็นสาเหตุได้เกือบ 40% ของผู้ป่วยทั้งหมดและมีความไวสูงกว่าการทดสอบผิวหนังด้วยวิธี Patch Test | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การแพ้ยา | th_TH |
dc.subject | ผื่นแพ้ยา | th_TH |
dc.subject | Drug Allergy | th_TH |
dc.subject | Drug Hypersensitivity | th_TH |
dc.subject | ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | การจัดทำระบบทะเบียนผู้ป่วยผื่นแพ้ยาชนิดรุนแรงแบบสหสถาบันแบบครบวงจร (ปีที่ 1) | th_TH |
dc.title.alternative | Multicenter registry of patients with severe cutaneous adverse reactions (SCARs) to drugs in Thailand (Year 1) | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | OBJECTIVES: The purpose in the first year project was to set up the multicenter registry of patients diagnosed with SCARs in Thailand and to evaluate the diagnostic values of interferon-gamma ELISpot assay (IFN-γ ELISpot) for culprit drug identification compared to skin patch test in selected cases METHODS Patients diagnosed with drug-induced SCAR over a one-year period from 6 university hospitals were analyzed for demographic data, drug allergy phenotypes, and the causative drugs. Skin patch test and IFN-γ ELISpot assay were examined in selected cases for culprit drug identification. RESULTS There were 113 SCAR patients (42 males, 71 females) with the average age of 51.7±1.8 years, comprising of 50 Stevens-Johnson/toxic epidermal necrolysis (SJS/TEN), 46 drug rash with eosinophilia and systemic symptoms (DRESS), and 17 acute generalized exanthematous pustulosis (AGEP), respectively. Drug-specific IFN- γ releasing cells were detectable in 38.9% (44/113) of SCAR cases with the average frequencies of 214.8±52.5 cells/106 peripheral blood mononuclear cells. Among 30 SCAR patients, 6 cases (20% of them) had positive skin patch test while 16 cases (53.3% of them) had positive IFN-γ ELISpot assay. CONCLUSIONS SJS/TEN contributed to almost half of patients with severe cutaneous adverse reaction in Thailand. IFN-γ ELISpot assay helped to identify the culprit drugs in nearly 40% of the cases and yielded higher sensitivity than skin patch testing. | th_TH |
dc.identifier.callno | QV55 จ690ก 2563 | |
dc.identifier.contactno | 62-043 | |
.custom.citation | เจตทะนง แกล้วสงคราม and Jettanong Klaewsongkram. "การจัดทำระบบทะเบียนผู้ป่วยผื่นแพ้ยาชนิดรุนแรงแบบสหสถาบันแบบครบวงจร (ปีที่ 1)." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5241">http://hdl.handle.net/11228/5241</a>. | |
.custom.total_download | 57 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 13 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 1 | |