แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การจัดตั้งระบบเฝ้าระวังกลุ่มโรคพิการแต่กำเนิดชนิดหลอดประสาทไม่ปิด

dc.contributor.authorภาสุรี แสงศุภวานิชth_TH
dc.contributor.authorPasuree Sangsupawanichth_TH
dc.contributor.authorธรรมสินธ์ อิงวิยะth_TH
dc.contributor.authorThammasin Ingviyath_TH
dc.contributor.authorบัณฑิต ถิ่นคำรพth_TH
dc.contributor.authorBandit Thinkhamropth_TH
dc.date.accessioned2020-09-15T04:31:03Z
dc.date.available2020-09-15T04:31:03Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.otherhs2587
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5244
dc.description.abstractกลุ่มโรคพิการแต่กำเนิดชนิดหลอดประสาทไม่ปิด (Neural Tube Defects, NTDs) เป็นกลุ่มพิการแต่กำเนิดซึ่งมีความรุนแรงมากและทำให้เกิดการพิการตลอดชีวิตได้ การเสริมกรดโฟลิกในอาหารเป็นวิธีการหนึ่งซึ่งอาจป้องกันโรคนี้ได้ จึงเกิดคำถามว่าประเทศไทยจำเป็นต้องมีนโยบายการเสริมกรดโฟลิกในอาหารหรือไม่ เนื่องจากการตัดสินใจการเสริมกรดโฟลิกในอาหารขึ้นกับข้อมูลอุบัติการณ์ของโรค ดังนั้นจึงควรมีข้อมูลการสำรวจที่มีความละเอียดมากกว่างานวิจัยที่เคยทำในอดีต ทางผู้วิจัยจึงศึกษาวิเคราะห์การกระจายตัวของผู้ป่วย NTDs ตามพื้นที่และเวลา และทำการจัดตั้งระบบเฝ้าระวังกลุ่มโรค NTDs เพื่อติดตามแนวโน้มของอุบัติการณ์ในประเทศไทย วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อวิเคราะห์การกระจายตัวของประชากรผู้ป่วยกลุ่มโรค NTDs ตามพื้นที่และเวลา และเพื่อจัดตั้งระบบติดตามอุบัติการณ์ผู้ป่วยกลุ่มโรค NTDs โดยดำเนินการวิจัยในรูปแบบ Retrospective Reviews อาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ คือ ข้อมูลการรายงานโรคในระบบฐานข้อมูล 43 แฟ้มของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และนำข้อมูลการวินิจฉัยโรคด้วย ICD-10 เกี่ยวข้องกับกลุ่มโรค NTDs มาใช้วิเคราะห์เชิงพื้นที่ในระดับอำเภอและรายปี และแสดงผลในรูปแบบของแผนที่ และวิเคราะห์การกระจุกตัวด้วยสถิติ Moran’s I ผลการวิจัยจากข้อมูลผู้ป่วยใน พบว่า กลุ่มโรคพิการแต่กำเนิดชนิดหลอดประสาทไม่ปิด (Neural Tube Defects, NTDs) ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2557 - 2561 มีผู้ป่วยในจำนวนทั้งสิ้นรวม 11,296 ราย พบมากที่สุดคือ Congenital Hydrocephalus จำนวน 4,531 ราย รองลงมาคือ Spina Bifida จำนวน 2,655 ราย Microcephaly จำนวน 2,638 ราย Encephalocele จำนวน 979 ราย Other Congenital Malformations of Spinal Cord จำนวน 269 ราย และ Anencephaly and Similar Malformations จำนวน 224 ราย จังหวัดที่พบผู้ป่วยเป็นอันดับแรก คือ กรุงเทพมหานครในเขตราษฎร์บูรณะ และจากการวิเคราะห์รายปี พบว่าจำนวนผู้ป่วยกลุ่ม NTDs ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างมีนัยสำคัญ หากคิดเป็นจำนวนเฉลี่ยต่อปี จะมีผู้ป่วยทั้งสิ้น 2,259 คนต่อปี และเมื่อเทียบกับจำนวนการเกิดมีชีวิตจากสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี พ.ศ. 2558 คือ 736,352 ราย จะคิดเป็นอุบัติการณ์ 30.67 คนต่อประชากร 10,000 คน จากการวิเคราะห์ด้วยสัมประสิทธิ์ Spatial Autocorrelation ไม่พบการกระจุกตัวของผู้ป่วย นอกจากกลุ่ม Other Congenital Malformation of Spinal Cord ในปี พ.ศ. 2557 ที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ที่กรุงเทพและปริมณฑล สำหรับส่วนของการสร้างโปรแกรมมีผลสำเร็จดังแสดงตามคู่มือที่แนบ ข้อเสนอแนะ จากการวิเคราะห์พบว่า จำนวนผู้ป่วยรายปีกลุ่มโรค NTDs ของประเทศไทย มีจำนวนมากกว่าค่ามัธยฐานของประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นการจัดทำทะเบียนโรคและติดตามโรคกลุ่มนี้จึงมีความจำเป็นและนโยบายรณรงค์ให้ฝากครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์น้อยอาจช่วยลดจำนวนผู้ป่วยเหล่านี้ได้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectNeural Tube Defectsth_TH
dc.subjectความผิดปกติแต่กำเนิดth_TH
dc.subjectDisabledth_TH
dc.subjectDisabled Personsth_TH
dc.subjectคนพิการth_TH
dc.subjectผู้พิการth_TH
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการจัดตั้งระบบเฝ้าระวังกลุ่มโรคพิการแต่กำเนิดชนิดหลอดประสาทไม่ปิดth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of Surveillance System for Neural Tube Defectsth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeNeural tube defects (NTDs) is a congenital syndrome which might result in severe disabilities or deaths. Folic fortification in food including rice has been proposed as a prevention of the syndrome. However, the efficacy of the intervention have to be judged based on the baseline incident of the NTDs cases. Thorough analysis of the incident of NTDs cases is needed. Therefore, we proposed an analysis on the spatio - temporal distribution of the NTDs cases in Thailand using 43 folder database and develop a software needed for NTDs surveillance. Objectives: To assess the spatio - temporal distribution of NTDs cases in Thailand and to develop NTDs surveillance system for Thailand Material and Methods: In this study, the 43 folder database of Thai National Health Security Office was retrieved. The inpatient data were filtered with ICD-10 correlated with the diagnosis of NTDs. The hospital codes were then linked to the patient data to identify the probable district that the NTDs cases lived in. The choropleth maps were generated to describe the distribution of the NTDs cases by districts and year. The clustering of cases was assessed using Moran’s I. Results: The total numbers of NTDs cases from year 2014 - 2018 was 11,296 cases, including 4,531 congenital hydrocephalus cases, 2,655 Spina bifida cases, 2,638 Microcephaly cases, 979 Encephalocele cases, 224 Anencephaly and similar malformations cases, and 269 other congenital malformations of spinal cord cases. The district with the most numbers of NTDs cases was Ratchaburana district of Bangkok. There is no temporal trend observed. The average number of cases per year was 2,259 cases per year. The calculated incidence per 10,000 livebirths was 30.67 cases. The spatial autocorrelation by Moran’ s I does not shown any statistically significant clusters except for Bangkok and neighboring area in year 2014. The prototype of the NTDs surveillance program were developed. Conclusion: The incident of NTDs cases in Thailand is relatively high comparing to the incidents in Asian countries. Therefore, continuous NTDs surveillance might be needed. The folic fortification policy did not show a promising result. Therefore, the policy to improve the rate of antenatal care visits should be a better choice to reduce numbers of the NTDs cases in Thailand.th_TH
dc.identifier.callnoHV1568 ภ515ก 2563
dc.identifier.contactno62-051
.custom.citationภาสุรี แสงศุภวานิช, Pasuree Sangsupawanich, ธรรมสินธ์ อิงวิยะ, Thammasin Ingviya, บัณฑิต ถิ่นคำรพ and Bandit Thinkhamrop. "การจัดตั้งระบบเฝ้าระวังกลุ่มโรคพิการแต่กำเนิดชนิดหลอดประสาทไม่ปิด." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5244">http://hdl.handle.net/11228/5244</a>.
.custom.total_download60
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year15
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2587.pdf
ขนาด: 1.676Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย