แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม และการค้นหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพเชิงเมตาบอลอมิคส์ของโรคมะเร็งปอดในคนไทย (ปีที่ 3)

dc.contributor.authorธัญนันท์ เรืองเวทย์วัฒนาth_TH
dc.contributor.authorThanyanan Reungwetwattanath_TH
dc.date.accessioned2020-10-01T09:19:41Z
dc.date.available2020-10-01T09:19:41Z
dc.date.issued2563-03
dc.identifier.otherhs2590
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5256
dc.description.abstractเนื่องจากปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งปอดนั้นได้มีวิวัฒนาการหลายๆ วิธี ไม่ว่าจะเป็นการให้ยาเคมีบำบัดแบบดั้งเดิม หรือการรักษาแบบมุ่งเป้า ซึ่งเป็นวิธีการรักษาแบบใหม่และได้ผลดีมาก โดยเพิ่มอัตราการรอดชีวิต รวมถึงเพิ่มอัตราตอบสนองต่อการรักษาและผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า เมื่อเทียบกับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ดังนั้นการศึกษานี้มุ่งที่จะศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดในคนไทย ซึ่งอาจจะต่างกับที่พบในผู้ป่วยมะเร็งปอดจากประเทศต่างๆ และผลจากการศึกษานี้จะนำไปสู่การพัฒนายาและผลิตยาโดยคนไทยเพื่อคนไทย ซึ่งจากผลการศึกษาวิจัยทั้งหมดโดยการทำ Next generation sequencing ทั้งใน FFPE และใน Fresh frozen tumor tissue โดยทางทีมผู้วิจัยได้ศึกษาเฉพาะยีนกลายพันธุ์ที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยมะเร็งปอด 159 ราย (178 samples) พบ EGFR mutation 54.7%, BRAF mutation 10.1%, KRAS mutation 28.3%, MET exon14 slice site 8.8%, AKT mutation 4.4%, ROS1 mutation 1.9%, PIK3CA mutation 0.63% และได้พบผู้ป่วยที่มียีนกลายพันธุ์มากกว่า 1 ยีน อีก 37 ราย (23%) ซึ่งเป็นจำนวนที่ค่อนข้างมาก และจากผลเบื้องต้นนี้จะเห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนกับที่พบในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศที่เป็น Caucasian โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่น่าสนใจคือ พบ BRAF mutation และ MET exon14 slice site ที่มากกว่าประเทศอื่นมาก ซึ่งที่อื่นพบไม่เกิน 4% และยีนทั้งสองชนิดนี้ขณะนี้เริ่มมีการคิดค้นยาเพื่อทำการยับยั้งยีนทั้งสองชนิดนี้แล้ว ซึ่งอยู่ในระหว่างการทดลองทางคลินิกอยู่หลายๆ ชนิด นอกจากนี้ทางทีมผู้วิจัยยังศึกษาในผู้ป่วย 14 ราย พบว่าในเซลล์มะเร็งปอดนั้นมีความแตกต่างและหลากหลายสำหรับยีนกลายพันธุ์ที่ค้นพบ กล่าวคือ ผู้ป่วย 1/3 รายนั้น ในเหตุการณ์เดียวกัน เวลาเดียวกัน แต่ตรวจพบยีนต่างกันในอวัยวะต่างกัน และ 2/3 รายพบยีนแบบเดียวกัน ในอวัยวะต่างกัน รวมถึงผู้ป่วย 8/11 ราย ทางทีมผู้วิจัยพบว่ามีลักษณะยีนต่างกันเวลาที่ตัวโรคมีการกำเริบ ในอวัยวะต่างกัน ซึ่งสิ่งที่พบเหล่านี้มีประโยชน์ในการศึกษาต่อไปเกี่ยวกับการดื้อยาต่างๆ รวมถึงการพัฒนายาต้านเฉพาะจุดในอนาคตอีกด้วย นอกจากจากนี้ทางทีมผู้วิจัยได้ศึกษาเพิ่มเติมถึงการสลับที่ของยีนในผู้ป่วยกลุ่มนี้ทำให้พบว่าในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดในคนไทยมีการสลับที่ของยีน EML4-ALK 3.7% และพบการสลับที่ของยีน CD74-ROS1 1.3% ซึ่งในขณะนี้มียาต้านเฉพาะจุดสำหรับยีนผิดปกติทั้งสองชนิดนี้ใช้ในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ นอกจากนี้ทางผู้วิจัยยังได้ทำการศึกษาถึง PDL1 expression ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในการใช้ยากระตุ้นภูมิต้านทาน ทางผู้วิจัยพบว่า มีผู้ป่วย 83.5% ที่มี PDL1 expression น้อยกว่า 1% และ อีก 16.5% มี PDL1 expression ≥ 1% ซึ่งทีมวิจัยพบว่า PDL1 expression เป็น prognostic factor ที่สำคัญมากในโรคมะเร็งปอด ส่งผลให้คนไข้ที่มีระยะที่เป็นมากคือระยะที่ 3 หรือ 4 มี PDL1 expression ที่สูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ PDL1 expression ยังเป็น predictive biomarker ที่สำคัญกับการรักษาด้วยยาต้าน EGFR โดยทีมผู้วิจัยพบว่าในผู้ป่วยที่มียีนกลายพันธุ์ EGFR และมี PDL1 expression ที่สูงนั้นจะตอบสนองต่อยาต้าน EGFR ได้น้อยกว่าและระยะการรอดชีพสั้นกว่าผู้ป่วยที่มี PDL1 expression ต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ [16.3 เดือน และ 25.0 เดือน, HR = 3.0 (1.17-7.73), P = 0.023] ซึ่งสิ่งที่พบเหล่านี้มีประโยชน์ในการศึกษาต่อไปเกี่ยวกับการดื้อยาต่างๆ ต่อยาต้าน EGFR รวมถึงการพัฒนายาต้านเฉพาะจุดและยากระตุ้นภูมิต้านทาน หรือการใช้ยาทั้งสองกลุ่มนี้ร่วมกันในอนาคตอีกด้วย นอกจากการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรคมะเร็งปอดที่ได้กล่าวไปแล้ว การศึกษาวิจัยนี้ยังมุ่งเน้นถึงการศึกษาถึงกลไกการป้องกันโรคมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลไกการป้องกันโรคมะเร็งจากยารักษาเบาหวานคือ ยา Metformin, ยาป้องกันการแข็งตัวของเกล็ดเลือด คือ ยา Aspirin , และยาลดระดับไขมันในเลือด คือ กลุ่มยา Statins ซึ่งจากผลการศึกษาวิจัยเบื้องต้นที่ได้รายงานสู่สาธารณชนไปก่อนหน้านี้ในฐานข้อมูลต่างๆ พบว่า ยาทั้งสามกลุ่มนี้ อาจจะมีฤทธิ์ป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งได้ ซึ่งยาทั้งสามกลุ่มนี้เกี่ยวเนื่องกับ metabolism ในร่างกาย ดังนั้น cancer metabolism น่าจะเป็นแขนงหนึ่งที่น่าสนใจศึกษาและอาจจะนำมาสู่การป้องกันโรคมะเร็งในอนาคตได้ ดังนั้นการศึกษานี้ทางทีมผู้วิจัยมีความสนใจมุ่งเน้นที่จะศึกษาเรื่องนี้ โดยได้ทำการศึกษาใน population based study ที่มีการติดตามที่ยาวนานที่สุดในประเทศ และมีปริมาณผู้ที่อยู่ในโครงการนี้จำนวนมาก ซึ่งก็คือ ฐานข้อมูล EGAT (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) โดยผลการศึกษาวิเคราะห์ทั้งหมดสรุปว่า ยาทั้ง 3 กลุ่ม คือ ASA, Metformin และ Statins นั้น ไม่ได้ช่วยลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ทางทีมผู้วิจัยพบว่าการดื่มแอลกอฮอล์และอายุที่มากขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการเกิดโรคมะเร็งทางเดินอาหาร และการมีพาหะโรคไวรัสตับอักเสบบีเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งตับในคนไทย อย่างไรก็ตามเนื่องจากผลการศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังทำให้มีข้อจำกัดหลายอย่างด้วยเช่นกัน แต่เป็นเรื่องวิจัยที่น่าสนใจมาก และสามารถที่จะนำไปพัฒนาวิธีการป้องกันโรคมะเร็งได้ต่อไปในอนาคต คงต้องศึกษาวิจัยต่อให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะดีมากหากศึกษาวิจัยแบบติดตามไปข้างหน้า (prospective study) การศึกษานี้ยังได้ศึกษาถึง Serum metabolomic profile ในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดก่อนและหลังผ่าตัด ทั้งหมด 70 ราย พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของสารสำคัญหลายชนิดก่อนและหลังผ่าตัด ได้แก่ สารในกลุ่มกรดอะมิโน (amino acid), biogenic amines, sphingolipids, และ glycophospholipids เป็นที่น่าสนใจว่าปริมาณกรดอะมิโน tryptophan เพิ่มขึ้นหลังผ่าตัด ในขณะที่กรดอะมิโน glutamate ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และพบว่าสาร biogenic amine ที่ใช้ tryptophan เป็นสารตั้งต้น เช่น kynurenine มีระดับเพิ่มขึ้นในกลุ่มหลังผ่าตัด ซึ่งจากผลการศึกษานี้เป็นที่น่าสนใจและมีประโยชน์อย่างมากในการพัฒนายากลุ่มกระตุ้นภูมิต้านทาน รวมถึงการหา predictive biomarker ที่สำคัญในการเลือกใช้ยากลุ่มกระตุ้นภูมิต้านทาน รวมถึงจะมีประโยชน์อย่างมากต่อการศึกษาเรื่องการป้องกันโรคมะเร็งในอนาคตอีกด้วย กล่าวโดยสรุปคือ การพัฒนาการรักษาโรคมะเร็งปอดแบบมุ่งเป้า มีความสำคัญและความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในโรคมะเร็งปอดในคนไทยว่าเป็นอย่างไร จะได้นำไปสู่การพัฒนายาและพัฒนาวิธีการรักษาโรคมะเร็ง และที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันคือการศึกษาถึงการป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ซึ่งปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญมากของประเทศไทย ทางทีมผู้วิจัยเชื่อว่า cancer metabolism จะเป็นส่วนที่มีบทบาทในการศึกษาในเชิงการป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ซึ่งขณะนี้โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายลำดับที่หนึ่งของประชากรไทยอีกด้วย ดังนั้นจึงต้องพัฒนาการวิจัยเพื่อที่จะแก้ปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยและของโลกth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectปอด--มะเร็งth_TH
dc.subjectLung--Cancerth_TH
dc.subjectพันธุกรรมth_TH
dc.subjectCancer Metabolismth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม และการค้นหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพเชิงเมตาบอลอมิคส์ของโรคมะเร็งปอดในคนไทย (ปีที่ 3)th_TH
dc.title.alternativeMolecular Alterations Profile and Metabolomic Biomarkers Discovery of Lung Cancer in Thai Population (3rd Year)th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeCurrently, lung cancer treatment has been developing in several approaches such as; conservative chemotherapy or novel targeted therapies which increase the overall response rate, survival rate with good quality of life for the patients. Thus, this research project’s goal is to explore the molecular alterations in Thai lung cancer patients which could be different from the other ethnicities. The result of this research will lead to targeted drug development in Thailand for Thai lung cancer patients. The final result of molecular alterations in 159 Thai lung cancer patients (178 tissue samples) from this research project by NGS method from both FFPE and fresh frozen tumor tissue (initial analyzed only the common mutations in lung cancer) showed EGFR mutation 54.7%, BRAF mutation 10.1%, KRAS mutation 28.3%, and MET exon14 splice site 8.8%. We also found 37 patients (23%) whom had more than one gene mutation. These results were very interesting and different from the other countries’ results, especially BRAF and MET exon14 splice site mutation which occurring only < 4% incidence in other populations. BRAF and MET inhibitors are in the clinical development. Furthermore, we confirmed the tumor heterogeneity of lung cancer from our study in 14 patients. One out of 3 patients had different gene profile in different organ at the same time. The other 2 patients had same gene profile even in different organ. Eight out of 11 patients had the different gene profile when they developed disease progression in different organ. These results are very interesting and very useful for exploration of resistant mechanism in lung cancer and developing targeted therapy drug for lung cancer patients. In addition, our research team also found 3.7% of EML4-ALK translocation and 1.3% of CD74-ROS1 translocation which currently we already have the targeted drugs for these two types of fusion genes. PDL1 expression is one of our interesting predictive and prognostic biomarker. We demonstrated that high PDL1 expression (≥ 1%) significantly correlated to higher stage of lung cancer disease (stage 3 and 4) which also had the worse prognosis compared to the early stage lung cancer. EGFR-positive lung cancer patient with high PDL1 expression (≥ 1%) also had significantly poor responded to EGFR-TKI and shorter survival compared to those with low PDL1 expression (< 1%) [16.3 vs. 25.0 months HR = 3.0 (1.17-7.73), P = 0.023]. These findings are very useful for the further drug resistant research together with targeted and immunotherapy drug development in the future. Even though we explore the diagnostic technique and the approach for lung cancer treatment as mentioned above, but the cancer prevention is also very important for the oncology world right now. The previous literatures reported the role of Metformin (anti-diabetic drug), Aspirin (anti-platelet drug), and Statins (lipid lowering agents) in decreasing cancer incidence rate, but the results were not homogenous and most of studies were small population-based studies only. These 3 groups of drugs involve in the metabolism of human body, thus cancer metabolism is the important and interesting field which could lead to cancer prevention in the future. This research project also focuses in cancer metabolism and cancer prevention by studying the largest and longest follow-up of population-based study in Thailand (EGAT database: Electricity Generating Authority of Thailand). Our final results showed ASA, Statins, and Metformin did not significantly decrease the cancer incidence rate. Alcohol drinking and increased aging significantly increased risk of gastrointestinal cancer. Hepatitis virus B carrier also significantly increased risk of liver cancer. However, this report had several of limitation due to nature of retrospective study, but it is very interesting and fascinating to explore more in term of cancer prevention with these group of drugs in prospective study. In this study, we also explored about serum metabolomics profile in 38 early stage lung cancer patients whom underwent surgery. We will report the final result in 75 patients next year. We found the significant changing in amino acid, biogenic amines, sphingolipids, and glycophospholipids in patients’ serum before and after surgery. It is very interesting that tryptophan was significantly increased while glutamate was significantly decreased after surgery. Kynurenine, a biogenic amine which use tryptophan as the initial compound, was also significantly increased after surgery. These finding are very useful to develop immunotherapy and predictive biomarker for immunotherapy. It is also useful to further explore in cancer prevention. In conclusion, the study of molecular alterations in Thai lung cancer patients is very important for targeted drug development in order to drive the innovative lung cancer treatment. However, the other important issue and concern is cancer prevention. Nowadays cancer is the most leading cause of death in Thailand and cancer also causes a lot of burdens in Thailand and Global public health. We believe that cancer metabolism is one of the key factors for cancer prevention in the future which could probably help to prevent and decrease the cancer incidence rate and solve the cancer burden in Thailand.th_TH
dc.identifier.callnoWF658 ธ468ก 2563
dc.identifier.contactno62-042
.custom.citationธัญนันท์ เรืองเวทย์วัฒนา and Thanyanan Reungwetwattana. "การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม และการค้นหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพเชิงเมตาบอลอมิคส์ของโรคมะเร็งปอดในคนไทย (ปีที่ 3)." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5256">http://hdl.handle.net/11228/5256</a>.
.custom.total_download68
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year4

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2590.pdf
ขนาด: 4.792Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย