Show simple item record

Integrated child health, development, and protection team for well-being promotion among children in low income and multiple deprived families

dc.contributor.authorอดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์th_TH
dc.contributor.authorAdisak Plitponkarnpimth_TH
dc.contributor.authorจิราวรรณ กล่อมเมฆth_TH
dc.contributor.authorJirawan Klommekth_TH
dc.contributor.authorชญาภรณ์ ตีวารีth_TH
dc.contributor.authorChayabhorn Tiwareeth_TH
dc.contributor.authorสาวิตรี ไกรขจรกิตติth_TH
dc.contributor.authorSawitree Krikajornkittith_TH
dc.contributor.authorสุวะรีย์ ดำเนินวุฒิth_TH
dc.contributor.authorSuwaree Damnernvutth_TH
dc.contributor.authorงามตา รอดสนใจth_TH
dc.contributor.authorNgamta Rodsonjaith_TH
dc.contributor.authorนุจนา กันแก้วth_TH
dc.contributor.authorNujana Kankaewth_TH
dc.contributor.authorบุศราพร จงเจริญถาวรกุลth_TH
dc.contributor.authorBusaraporn Chongcharoenthawonkulth_TH
dc.contributor.authorมาริสา นิ่มกุลth_TH
dc.contributor.authorMarisa Nimkulth_TH
dc.date.accessioned2020-10-06T05:24:15Z
dc.date.available2020-10-06T05:24:15Z
dc.date.issued2563-05
dc.identifier.otherhs2588
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5260
dc.description.abstractการศึกษานี้ได้ศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะสุขภาพและความยากจนขาดแคลน โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการชี้เป้าโดยชุมชนเองตามความรับรู้สภาพความยากจนขาดแคลนของชุมชน จากพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรปราการและนครปฐม รวม 458 คน ผลการศึกษาพบความสัมพันธ์ของความยากจนรายได้ที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 3,000 บาท ต่อคนต่อเดือน ความขาดแคลนพหุปัจจัย 4 มิติหรือมากกว่าในทั้งหมด 9 มิติ ภาวะวิกฤตครอบครัว 2 ข้อหรือมากกว่าใน 5 ข้อ มีความสัมพันธ์กับการเลี้ยงดูที่ไม่บรรลุผลสุขภาวะ 2 ข้อหรือมากกว่า โดยความยากจนรายได้ที่น้อยกว่า 3,000 บาท เพิ่มความเสี่ยง 2.4 เท่า ความขาดแคลนพหุปัจจัย 4 หรือมากกว่า เพิ่มความเสี่ยง 1.8 เท่าและภาวะวิกฤตครอบครัว 2 หรือมากกว่าเพิ่มความเสี่ยง 2.6 เท่า เมื่อจัดกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงเข้าด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มที่มีปัจจัยภาวะวิกฤตครอบครัวหรือไม่มีภาวะวิกฤตครอบครัวแต่ต้องมีปัจจัยความยากจนสองด้านร่วมกัน ได้แก่ ยากจนรายได้และขาดแคลนพหุปัจจัยเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง จะพบว่ากลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูงกว่ากลุ่มที่มีปัจจัยความเสี่ยงต่ำถึงสามเท่า ได้แก่ กลุ่มที่ไม่มีภาวะวิกฤตครอบครัว ไม่มีทั้งความยากจนรายได้และความขาดแคลนพหุปัจจัยหรือมีความยากจนรายได้หรือความขาดแคลนพหุปัจจัยเพียงด้านใดด้านหนึ่ง ในการศึกษานี้ได้จัดตั้งทีมบูรณาการสุขภาพ การเรียนรู้พัฒนาและการคุ้มครองเด็ก เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะกลุ่มเด็กยากจนและมีความขาดแคลนแบบพหุปัจจัย โดยผู้นำชุมชน อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และครูในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยในพื้นที่ ทีมบูรณาการถูกพัฒนารวม 39 ทีม ใน 4 จังหวัด ทีมบูรณาการได้รับการอบรมในหลักสูตรเสริมสร้างทักษะการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด การสร้างเสริมสุขภาพและส่งเสริมการเรียนรู้เด็กปฐมวัยสำหรับชุมชน การดูแลเด็กที่ได้รับประสบการณ์เลวร้าย สิทธิเด็กและการคุ้มครอง และการส่งต่อ เพื่อเสริมสมรรถนะแห่งตนให้สูงขึ้นทำให้บุคลากรในทีมมีความมั่นใจในการประเมินและสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มเด็กยากจนก่อนลงเยี่ยมในพื้นที่ที่ตนเองรับผิดชอบ รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาวะกลุ่มเด็กยากจนและขาดแคลนแบบพหุปัจจัยโดยทีมบูรณาการสุขภาพ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การวินิจฉัยปัญหาความต้องการทางสุขภาพและพัฒนาการโดยการเยี่ยมบ้านโดยทีมบูรณาการสุขภาพร่วมกับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในการดูแลเด็กที่ครอบครัวยากจน 2) การวางแผนปฏิบัติการโดยทีมบูรณาการสุขภาพที่มีสมาชิกในหลายรูปแบบ 3) การปฏิบัติการช่วยเหลือโดยสมาชิกทีมบูรณาการแต่ละด้าน เชื่อมต่อหน่วยงานพื้นที่และส่วนกลางที่เกี่ยวข้องในแต่ละด้าน รวมทั้งการให้ความรู้ คำแนะนำ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดูแลตนเองของครอบครัว 4) การประเมินผลโดยทีมพัฒนารูปแบบลงพื้นที่ร่วมกับทีมบูรณาการสุขภาพได้ติดตามกลุ่มเสี่ยงสูงดังกล่าว จำนวน 101 ราย จาก 183 ราย โดยทีมบูรณาการสุขภาพ การเรียนรู้พัฒนาและการคุ้มครองเด็ก พบว่าเพียงร้อยละ 38 ของเด็กในกลุ่มเสี่ยงสูงนี้เท่านั้นที่ได้รับการลงทะเบียนเข้าสู่โครงการเงินอุดหนุนทารกแรกเกิดของรัฐบาลและได้เงิน 600 บาทต่อเดือน จนถึงอายุ 6 ปี ร้อยละ 69 ของกลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการดูแลที่ไม่บรรลุผลสุขภาวะมากกว่า 2 ใน 6 ด้าน ร้อยละ 73 ไม่ได้รับการดูแลทางอารมณ์ที่เหมาะสมโดยมีทั้งการดูแลแบบละเลยหรือทำร้ายทางอารมณ์และร่างกาย ร้อยละ 65 ต้องอยู่ในครอบครัวที่มีการแตกแยก หย่าร้างหรือตายจาก ร้อยละ 55 อยู่ในครอบครัวที่มีความรุนแรง ร้อยละ 26 อยู่ในครอบครัวที่มีการเสพหรือค้ายาเสพติด ร้อยละ 31 อยู่ในครอบครัวที่มีการติดคุก ผลการประเมินพัฒนาการพบว่า ร้อยละ 24 มีพัฒนาการล่าช้า ร้อยละ 9 มีพัฒนาการล่าช้ามาก แม้เด็กจะต้องอยู่ในครอบครัวที่มีความไม่พร้อมมากเพียงใด แต่ร้อยละ 64 ของเด็กกลุ่มนี้ก็ยังถูกเลี้ยงดูโดยครอบครัว ไม่ได้ใช้บริการศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยหรือบริการอื่นใดที่ให้การดูแลเด็กปฐมวัยทดแทนครอบครัวในการประเมินผลหลังการสร้างเสริมสุขภาวะกลุ่มเด็กยากจนและขาดแคลนแบบพหุปัจจัยโดยทีมบูรณาการสุขภาพ การเรียนรู้พัฒนาและการคุ้มครองเด็ก พบว่าปัจจัยส่งเสริมการทำงานของทีม ได้แก่ การเตรียมทีมด้วยโปรแกรมการสร้างเสริมความรู้ความสามารถของงานแต่ละด้านและสร้างความรับรู้ความสามารถที่แตกต่างกันของคนในทีมจะส่งผลต่อการปฏิบัติงานของทีมบุคคลากรในทีมบูรณาการสุขภาพฯ มีจุดแข็งแตกต่างกัน ได้แก่ ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีจุดเด่นในการค้นหาเด็กกลุ่มเสี่ยงและส่งเสริมสติปัญญา การเรียนรู้และจิตใจของเด็กได้ดี บุคลากรทางสาธารณสุข เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีจุดเด่นคือความเชี่ยวชาญในการเยี่ยมบ้านทำให้เด็กได้รับการติดตามที่ต่อเนื่องส่งผลดีต่อการแก้ปัญหาทางสุขภาพได้ สำหรับอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) หรือผู้นำชุมชน จุดเด่นคือทำให้เด็กได้เข้าถึงสิทธิ์สวัสดิการนั้นๆ โดยง่าย การลงพื้นที่ปฏิบัติการเยี่ยมบ้านมากกว่าหรือเท่ากับ 2 ครั้ง จะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนขึ้นและยิ่งมีทีมวิชาชีพ เช่น บุคลากรสุขภาพ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักกิจกรรมบำบัด นักคุ้มครองเด็ก ด้วยการเสริมทีมเป็นบางครั้งของการเยี่ยมยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลกลุ่มเสี่ยงสูงดียิ่งขึ้น การส่งเสริมผู้ดูแลเด็กให้มีความสนใจในการดูแลเด็กให้ใกล้ชิดอย่างสนุกสนาน กระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กโดยแนะนำการประดิษฐ์ของเล่น ฝึกการเล่นกับเด็ก การเล่านิทานโดยสนับสนุนอุปกรณ์ ของเล่น หนังสือบางส่วนเป็นจุดเริ่มต้นจะทำให้การสอนผู้ดูแลเด็กโดยทีมบูรณาการและการสอนเด็กโดยผู้ดูแลเด็กน่าสนใจขึ้น การสนับสนุนให้กระบวนการทำงานของทีมบูรณาการสุขภาพเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบ (PDCA cycle) จะทำให้กลุ่มเด็กยากจนและครอบครัวได้รับการช่วยเหลืออย่างแท้จริงและยั่งยืน การแก้ปัญหาเด็กในครอบครัวยากจนโดยเฉพาะครอบครัวมีภาวะวิกฤตร่วมด้วย ต้องเสริมด้วยนโยบายการสนับสนุนของภาครัฐและภาคท้องถิ่นที่มีความเข้าใจและปฏิบัติอย่างจริงจัง พลังการดูแลในชุมชนโดยอาสาสมัครต่างๆ ร่วมกับศูนย์สุขภาพรูปแบบต่างๆ และศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยในชุมชนเป็นพลังเสริมที่นับได้ว่าเป็นทุนที่สำคัญของชุมชนในการดูแลเด็กกลุ่มเปราะบางนี้ แนวคิดในการขยายผล ได้แก่ 1. ผลักดันนโยบายการสนับสนุนของภาครัฐและภาคท้องถิ่นในการจัดตั้งทีมบูรณาการเพื่อการพัฒนาและคุ้มครองเด็กปฐมวัยและใช้กลไกการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงสูง การเยี่ยมบ้านต่อเนื่องในกลุ่มเสี่ยงเป็นกลยุทธ์สำคัญ 2. ผลักดันโครงสร้างเพื่อเสริมพลังการดูแลในชุมชนให้มีศูนย์สุขภาพรูปแบบต่างๆ และศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยรูปแบบต่างๆ ในชุมชนเพื่อครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกกลุ่มอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 6-8 ปี 3. ผลักดันการสร้างนวัตกรรมการดูแลเด็กปฐมวัยรูปแบบต่างๆ เช่น เครื่องมือ คู่มือกระบวนการ การฝึกอบรมเพื่อสร้างความรู้ ความตระหนัก ทักษะการดูแลและป้องกันเด็กยากจนขาดแคลน เด็กได้รับประสบการณ์เลวร้ายในชีวิต แก่ผู้ดูแลเด็ก ผู้บริหารชุมชน อาสาสมัครชุมชน ครู พี่เลี้ยงในศูนย์พัฒนาเด็กและชุมชน ศูนย์สุขภาพหรือศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาอื่นๆ ที่ถูกจัดตั้งสำหรับเด็กปฐมวัยและครอบครัวในชุมชน 4. สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยที่เป็นโครงสร้างที่ถูกจัดตั้งอย่างเป็นระบบในชุมชน ต้องเป็นจุดเชื่อมโยงทีมบูรณาการในพื้นที่เพื่อทำงานกับเด็กปฐมวัยยากจนขาดแคลนโดยได้รับการสนับสนุนเชิงนโยบายและการลงทุนทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectเด็กth_TH
dc.subjectเด็ก--สุขภาพและอนามัยth_TH
dc.subjectเด็ก--การคุ้มครองth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleทีมบูรณาการสุขภาพ การเรียนรู้พัฒนา และการคุ้มครองเด็ก เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะ กลุ่มเด็กยากจน และมีความขาดแคลนแบบพหุปัจจัยth_TH
dc.title.alternativeIntegrated child health, development, and protection team for well-being promotion among children in low income and multiple deprived familiesth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study examined the relationship between health conditions and poverty. The study groups were selected by the community team according to their own perception of the poverty condition. Totally 458 children from 4 provinces, namely Bangkok, Samut Sakron, Samut Prakan and Nakhon Pathom, were enrolled. The study revealed that children living in low income families (< 3000 baht per person per month), in severe deprived families (deprivation index ≥4 in 9 factors), and in dysfunctional families (family dysfunction index ≥2 in 5) were associated with poor parenting leading to unmet health needs (poor grade care profiles ≥2 in 6 categories). Low income families (< 3000 baht per person per month) increased risk 2.4 times. Severe deprived families (deprivation index ≥4 in 9 factors) increased risk 1.8 times and dysfunctional families (family dysfunction index ≥2 in 5) increased risk 2.6 times. We grouped all children with family dysfunction index ≥2 and those with the combination of low income index and multiple deprivation index together as a high risk group. It was found that this group had three times more risk than those with a low risk group (the group of children with family dysfunction index <2, without or only one index of low income and deprivation family). This study developed the Integrated Health – Learning – Protection team (H-L-P team) to promote the well-being of poor children. This community based team composed of the community leaders, child care providers, health care volunteers and community development volunteer. Totally the 39 H-L-P teams were developed in 4 provinces. The integrated team has been trained in programs for building newborn childcare skills and enhancing health and promoting early childhood learning for the community, caring for a child who has had an adverse childhood experiences, children's rights and how to protect them, and how to refer for help. This training give staff members confidence in assessing and promoting poor children's health before visiting areas of their responsibility. A health promotion model for poor and needy children was developed by the H-L-P team, which consisted of 4 steps: 1) Identify the complex health and development problems by the home visit program 2) Action planning by the various members of the H-L-P team 3) Assisted operations by members of the integration team each side and connect relevant local or state departments in each area, including education and advice to empower the families. 4) Evaluation by the model development team in cooperation with the integrated health team. A total of 101 cases in the high-risk groups were followed up by the H-L-P team. It was found that only 38% of children in this high-risk group were enrolled in the government's cash transfer program for children in poor families (600 baht per month until the age of 6 years). 69 % of the high-risk groups experienced the poor parenting leading to unmet health needs (poor grade care profiles ≥2 in 6 categories). 73% were not receiving adequate emotional care, with either neglect or emotional and physical abuse. 65% had to live in the single, divorced, or separated families. 55 % experienced the domestic violence. 26 % were in families with drug abuse or drug trafficked. 31 % were in the incarcerated families. 24% had developmental delays and 9% had a severe development Even though the children were in an extremely poor, deprived, and low potential family, 64% of them were still raised by their own family without using the community early childhood learning and care services in any way. The assessment of the H-L-P team by the model development team found that the factors that promote the team's work were the specific knowledge and skill training program for the different work of the member in the team and getting them to know each other. Each member in the H-L-P team had different strengths. The child care provider had a strong role in finding vulnerable children and promoting cognitive development, learning and mental well-being of children. Public Health Volunteers strength was the expertise in home visits. This allowed children to be continuously monitored for health problems. The social development and human security volunteers (NGOs) or the community leaders had a strength to make it easy for children to have access to those welfare system. At least 2 home visitation sessions will see a positive change in results. The professional teams such as health workers, psychologists, social workers, occupational therapist, child protector, supplementing the H-L-P team in some home visits was a great addition, and might get the better results for the high-risk groups. Encouraging caregivers to enjoy giving closed supervision for children, being interest in stimulating the learning skill for children was easily starting by introducing them for the program of making-toy-yourself, practicing playing with children, practicing storytelling, supporting toys and some books as a starting point. Supporting the ongoing work processes of the the H-L-P team with the systematic quality improvement process (PDCA cycle) will enable the poor children and their families to receive real and sustainable assistance. Tackling the child in poverty and family dysfunction must be supported by a public and local policy that had an extensive understanding and practice. The power of community volunteer, in conjunction with various community based health centers and early childhood development centers, was a complementary force that was an important community capital. In caring for these vulnerable children, we need to expand our results to policy by: 1. Promote public and local support policies in establishing the H-L-P integrated team for early childhood development and protection and implementing screening mechanisms for high-risk groups with an intensive home visit for this group as a key of success. 2. Promote the investment for more physical structures related to early childhood learning and care for children in poor families and dysfunctional family to cover all early childhood age groups from birth to 6-8 years. 3. Driving innovation of early childhood education and care such as tools, process manuals, training courses to create knowledge, awareness, care and protection skills for poor children and children in adversity. Those innovations were needed for the child care-takers, community administrators, community volunteers, child care providers in nursery-daycare center kindergarten school, or other community based health centers or development learning centers established for early childhood or families. 4. Currently, early childhood development centers are systematically established in most communities. It must be the central network of the H-L-P integrated teams to work with poor children in the communities. This should be supported and invested by both local and national policy.th_TH
dc.identifier.callnoWS100 อ129ท 2563
dc.identifier.contactno62-046
.custom.citationอดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์, Adisak Plitponkarnpim, จิราวรรณ กล่อมเมฆ, Jirawan Klommek, ชญาภรณ์ ตีวารี, Chayabhorn Tiwaree, สาวิตรี ไกรขจรกิตติ, Sawitree Krikajornkitti, สุวะรีย์ ดำเนินวุฒิ, Suwaree Damnernvut, งามตา รอดสนใจ, Ngamta Rodsonjai, นุจนา กันแก้ว, Nujana Kankaew, บุศราพร จงเจริญถาวรกุล, Busaraporn Chongcharoenthawonkul, มาริสา นิ่มกุล and Marisa Nimkul. "ทีมบูรณาการสุขภาพ การเรียนรู้พัฒนา และการคุ้มครองเด็ก เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะ กลุ่มเด็กยากจน และมีความขาดแคลนแบบพหุปัจจัย." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5260">http://hdl.handle.net/11228/5260</a>.
.custom.total_download77
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year5
.custom.downloaded_fiscal_year7

Fulltext
Icon
Name: hs2588.pdf
Size: 1.244Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record