แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาบทบาทของวิทยาลัยภายใต้พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนกในการสร้างความเข้มแข็งของบุคลากรสาธารณสุขสำหรับการสนับสนุนทีมหมอครอบครัว

dc.contributor.authorอติญาณ์ ศรเกษตรินth_TH
dc.contributor.authorAtiya Sarakshetrinth_TH
dc.contributor.authorอัจฉราวดี ศรียะศักดิ์th_TH
dc.contributor.authorAtcharawadee Sriyasakth_TH
dc.contributor.authorจินตนา ทองเพชรth_TH
dc.contributor.authorJintana Tongpethth_TH
dc.contributor.authorวารุณี เกตุอินทร์th_TH
dc.contributor.authorVarunee Ketinth_TH
dc.contributor.authorดาราวรรณ รองเมืองth_TH
dc.contributor.authorDaravan Rongmuangth_TH
dc.contributor.authorรุ่งนภา จันทราth_TH
dc.contributor.authorRungnapa Chantrath_TH
dc.contributor.authorเบญจพร รัชตารมย์th_TH
dc.contributor.authorBenjaporn Rajataramth_TH
dc.contributor.authorบุญเรือง ขาวนวลth_TH
dc.contributor.authorBunrean Kaonuanth_TH
dc.date.accessioned2020-10-15T05:38:56Z
dc.date.available2020-10-15T05:38:56Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.otherhs2597
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5261
dc.description.abstractกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดนโยบายคลินิกหมอครอบครัวเพื่อการพัฒนาบริการปฐมภูมิ และผลักดันให้มีพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 ทำให้มีการพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการเข้าถึงบริการและความเหลื่อมล้ำในการรักษาพยาบาล การสนับสนุนให้คณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิสามารถทำงานร่วมกันกับแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิได้อย่างมีคุณภาพเป็นบทบาทหนึ่งของวิทยาลัยภายใต้พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก การวิจัยแบบผสมผสานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุขสำหรับการสนับสนุนทีมหมอครอบครัว 2) ศึกษาสมรรถนะบุคลากรด้านสาธารณสุขสำหรับการสนับสนุนทีมหมอครอบครัว 3) ศึกษาสมรรถนะของอาจารย์สังกัดสถาบันพระบรมราชชนกในการพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุขสำหรับการสนับสนุนทีมหมอครอบครัว 4) วิเคราะห์พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนกในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของบุคลากรด้านสาธารณสุขสำหรับการสนับสนุนทีมหมอครอบครัว และ 5) สังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาบทบาทของวิทยาลัยภายใต้พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนกในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของบุคลาการสาธารณสุขสำหรับการสนับสนุนทีมหมอครอบครัว การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (mixed method) เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ (quantitative data) และเชิงคุณภาพ (qualitative data) ใช้เวลาดำเนินการ จำนวน 12 เดือน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2562 – กรกฎาคม 2563 เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย บุคลากรสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ผู้ทรงคุณวุฒิกระทรวงสาธารณสุขด้านกำลังคน ด้านบริการปฐมภูมิ และอาจารย์ที่รับผิดชอบงานด้านบริการวิชาการและงานพัฒนาบุคลากรของวิทยาลัยพยาบาล และวิทยาลัยการสาธารณสุข บุคลากรด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล สาธารณสุขอำเภอ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและประชาชนผู้รับบริการ เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการเจาะจง กลุ่มละ 10 - 15 คน และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อศึกษาสถานการณ์การพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุขสำหรับการสนับสนุนทีมหมอครอบครัวโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ อาจารย์ที่รับผิดชอบงานด้านบริการวิชาการหรืองานพัฒนาบุคลากรของวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุข สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการเจาะจง จำนวน 39 คน โดยเลือกจากวิทยาลัยละ 1 คน และสำรวจสมรรถนะอาจารย์ในการพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุขสำหรับการสนับสนุนทีมหมอครอบครัวโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุข จำนวน 336 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนและสำรวจสมรรถนะบุคลากรด้านสาธารณสุขสำหรับการสนับสนุนทีมหมอครอบครัวเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ จำนวน 321 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบสามเส้าผลการวิจัยพบว่า 1. ทุกวิทยาลัยมีความพร้อมในการดำเนินงานตามบทบาทและภารกิจของวิทยาลัยและสภาวิชาชีพที่ต้องมีการบริการวิชาการตามมาตรฐานอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และมีการดำเนินงานพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุขตามนโยบายของสถาบันพระบรมราชชนกหรือตามความต้องการของพื้นที่หรือความต้องการของเขตสุขภาพ เพื่อรองรับแผนพัฒนาระบบสุขภาพ (service plan) เช่น หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางเวชปฏิบัติฉุกเฉิน หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางผู้ป่วยวิกฤต และหลักสูตร palliatives care และจัดอบรมตามทิศทางความต้องการของประเทศ เช่น การที่ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น จึงจัดหลักสูตรอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุหรือจัดอบรมตามความเชี่ยวชาญของอาจารย์ในวิทยาลัย เช่น หลักสูตรอบรมเวชปฏิบัติครอบครัวและหลักสูตรการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง นอกจากนี้ยังมีการวางแผนการดำเนินการจัดอบรมเพื่อตอบสนองการดูแลประชาชนในระบบสุขภาพปฐมภูมิ วิทยาลัยมีการพัฒนาความเชี่ยวชาญของอาจารย์ในแต่ละสาขาวิชาให้สอดคล้องกับการจัดทำหลักสูตรต่างๆ ที่เขตสุขภาพต้องการ และเป็นปัญหาสุขภาพของพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ในการจัดการอบรมที่เกิดจากการที่วิทยาลัยต้องการสร้างความเชี่ยวชาญของอาจารย์อย่างต่อเนื่อง 2. ความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานในทีมหมอครอบครัวเกี่ยวกับสมรรถนะบุคลากรด้านสาธารณสุขสำหรับการสนับสนุนทีมหมอครอบครัวในภาพรวมอยู่ระดับสูงทุกด้าน โดยด้านบริการที่ดีมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด (Mean=4.18, S.D.=.79) ส่วนด้านความสั่งสมเชี่ยวชาญในงานมีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด (Mean=3.83, S.D.=.97) 3. สมรรถนะอาจารย์สังกัดสถาบันพระบรมราชชนกในการพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุขเพื่อสำหรับการสนับสนุนนโยบายทีมหมอครอบครัวในภาพรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาสมรรถนะรายข้อ พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง ยกเว้นความรู้ ความเข้าใจหลักการทีมหมอครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง (Mean=3.58, S.D.=.93) 4. วิทยาลัยภายใต้พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนกที่ทำหน้าที่ในการผลิตและพัฒนาบุคลากรสุขภาพด้านระบบสุขภาพปฐมภูมิ ควรมีการสร้างความเข้าใจ เสริมสร้างสมรรถนะอาจารย์ เพื่อร่วมผลิตหลักสูตรพยาบาลให้กับหน่วยงานอื่น และมีการประสานความร่วมมือกับหน่วยบริการสุขภาพหรือคณะพยาบาลศาสตร์ในต่างประเทศ และการพัฒนาบุคลากรสุขภาพด้านบริการสุขภาพปฐมภูมิ เช่น การเปิดหลักสูตรเฉพาะทางที่มีเพิ่มเติมจากหลักสูตรพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป พยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว รวมทั้งการสร้างการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน 5. แนวทางในการพัฒนาบทบาทของวิทยาลัยภายใต้พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนกสำหรับการสนับสนุนทีมหมอครอบครัวสามารถทำได้โดย 1) การปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาพยาบาลหรือปรับรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนเสริมหลักสูตรให้มีการบูรณาการกับระบบสุขภาพปฐมภูมิเพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถปฏิบัติงานได้ทันทีภายหลังสำเร็จการศึกษา 2) สำรวจความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิในการดำเนินการร่วมกับทีมหมอครอบครัว และระบบบริการปฐมภูมิทั้งระดับประเทศและระดับเขตสุขภาพ 3) จัดหลักสูตรอบรมที่เกี่ยวข้องกับระบบบริการปฐมภูมิที่ครอบคลุมทุกสหสาขาวิชาชีพตามองค์ประกอบของคณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิตามความต้องการของพื้นที่ 4) กำหนดแผนการบริการวิชาการระยะยาวและแนวทางที่ชัดเจนแก่วิทยาลัยในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ 5) จัดทำแผนพัฒนากำลังคนสายอาจารย์อย่างชัดเจน ทั้งนี้เพื่อพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ผู้สอนเรื่องระบบสุขภาพปฐมภูมิเพื่อให้อาจารย์มีสมรรถนะในการพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานในระบบสุขภาพปฐมภูมิได้อย่างมีคุณภาพและรองรับการดำเนินงานพัฒนาศักยภาพบุคลากรผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิในการปฏิบัติงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของทีมหมอครอบครัว 6) สร้างความร่วมมือเชิงเครือข่ายในการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศหรือเชี่ยวชาญที่ได้มาตรฐานในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของทีมหมอครอบครัว และ 7) พัฒนาระบบการจัดการข้อมูลกำลังคนโดยเฉพาะอาจารย์ผู้ปฏิบัติงานในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกแบบเบ็ดเสร็จเพื่อการตัดสินใจ ทั้งจำนวน คุณวุฒิ ความเชี่ยวชาญและการกระจายตามเขตสุขภาพth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบุคลากรสาธารณสุขth_TH
dc.subjectหมอครอบครัวth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce)th_TH
dc.titleการสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาบทบาทของวิทยาลัยภายใต้พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนกในการสร้างความเข้มแข็งของบุคลากรสาธารณสุขสำหรับการสนับสนุนทีมหมอครอบครัวth_TH
dc.title.alternativePolicy Recommendation Synthesis for Improvement the role of the colleges under Praboromarajchanok Institute of Health Manpower Development Act to strengthen health personnel for Primary Care Clusterth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe Ministry of Public Health’s constant formulation of primary health care policy and carry forward to Primary Care Act 2019 in order to develop Primary Care Cluster (PCC) system and primary care network in addressing healthcare access problem and medical care gap, supporting the primary health care workers are able to collaborate with Family Medicine in order to improve the services quality. Primary colleges under Praboromarajchanok Institute Act play an important role in strengthening personnel to support primary care cluster team and perform quality works. This mixed-method research aims to 1) examine the situation of public health personnel development to support Primary Care Cluster (PCC) team; 2) study public health personnel’s competencies in supporting Primary Care Cluster (PCC) team; 3) explore competencies of lecturers under Praboromarajchanok Institute in public health personnel development to support Primary Care Cluster (PCC) team; 4) analyze Praboromarajchanok Institute Act in light of strengthening of public health personnel to support Primary Care Cluster (PCC) team; and 5) synthesize policy proposals to develop the role of colleges under Praboromarajchanok Institute Act in strengthening health personnel to support primary care cluster team. The research method was used a mixed method design. Both qualitative and quantitative data are gathered in this study. The data were collected within 12 months between August 2010 and July 2020. The in-depth interviews and focus group were used to collect qualitative data. The key informant includes the Ministry of Public Health’s senior experts in charge of manpower and primary care service and network, primary care system division directors, provincial public health officers and heads of related sections in provincial public health offices, directors and deputy directors of colleges under Praboromarajchanok Institute, Ministry of Public Health, lecturers in charge of academic services or personnel development of Colleges of Nursing and College of Public Health under Praboromarajchanok Institute, Ministry of Public Health, primary operation personnel for supporting the policy on Primary Care Cluster (PCC) team and general residents and public as well as services recipient. The sample The quantitative and qualitative data are analyzed using descriptive statistics and content analysis, respectively. The following research resultsare found: 1. All colleges are prepared for operations according to the roles and missions of respective colleges and Professionals Council in the fulfillment of higher education standards of the Office of Higher Education Commission. Meanwhile, public health personnel development is executed according to Praboromarajchanok Institute’s policy or to the needs of local area or Area Health to support the service plan such as emergency practitioner nurse curriculum, critical care nursing curriculum and palliatives care curriculum. Also, the training program is arranged in response to the country’s demand such as “Thailand’s increasing number of elderly leads to the introduction of elderly-related curriculum” or to the expertise of lecturers in respective colleges e.g. family practice training program and cancer nursing curriculum. The training plans are in line with future needs of healthcare, while the colleges develop the lecturers’ expertise in each discipline in accordance with curriculum formulation as required by Area Health or with problems in local areas. Moreover, training programs that derive from university’s needs in uninterruptedly promoting expertise are also performed in collaboration with other agencies. 2. Staffs in Primary Care Cluster (PCC) team have a high level of overall picture of opinions towards all aspects of competency of public health personnel to support Primary Care Cluster (PCC) team. In particular, the ones with the highest and lowest mean scores are ‘good service’ (Mean=4.18, SD=.79) and ‘accumulated work expertise’, respectively.( Mean=3.83, SD=.97) 3. There is a high level of overall picture of competency of lecturers under Praboromarajchanok Institute in developing public health personnel to support the policy on Primary Care Cluster (PCC) team. When each competency is examined, most competencies are found at a high level, except the knowledge and understanding of Primary Care Cluster (PCC) principle, which is at a moderate level. (Mean=3.58, SD=.93) 4. Regarding the production and development of primary health care personnel by Colleges of Nursing under Praboromarajchanok Institute Act, the understandings and competencies of lecturers should be promoted in order to jointly introduce nursing curriculum for other agencies, which collaborate with health services or the Faculty of Nursing overseas. Besides, the primary health personnel development includes the introduction of specialized curriculum, extended from the curriculums of nursing practice and of family practice. The participation and learning in collaboration with the relevant communities is also created. 5. The research results indicate that the guidelines for development of roles of colleges under Praboromarajchanok Institute to support the primary care cluster team’s operations can be done as follows: 1) improvement of nursing curriculum or adjustment of instructional activities integrated with primary care systems to enhance the graduates’ post-graduation work ability; 2) survey of needs for development of public health personnel’s competencies in operating primary care cluster team and primary care system at both national and health canter level; 3) arrangement of training programs related to primary care covering all multidiscipline of Primary Care Cluster (PCC) team according to the local area’s needs; 4) formulation of long-term academic service plans and of colleges’ clear administration guidelines for public health personnel competency development; 5) development of an apparent plan for lecturer-related manpower development and of lecturers’ competencies in promoting knowledge and ability of nursing students to perform quality primary care services. This is to facilitate public health personnel competency development to support primary care cluster team’s operations; 6) building of network collaboration in developing a center of expertise or excellence that meets standards to support primary care cluster team’s operations; and 7) development of inclusive manpower information management system, especially lecturers under Praboromarajchanok Institute, for decision-making purpose in light of number, qualification, expertise and distribution according to Area Health.th_TH
dc.identifier.callnoW76 อ137ก 2563
dc.identifier.contactno62-058
dc.subject.keywordPrimary Care Clusterth_TH
dc.subject.keywordทีมหมอครอบครัวth_TH
.custom.citationอติญาณ์ ศรเกษตริน, Atiya Sarakshetrin, อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, Atcharawadee Sriyasak, จินตนา ทองเพชร, Jintana Tongpeth, วารุณี เกตุอินทร์, Varunee Ketin, ดาราวรรณ รองเมือง, Daravan Rongmuang, รุ่งนภา จันทรา, Rungnapa Chantra, เบญจพร รัชตารมย์, Benjaporn Rajataram, บุญเรือง ขาวนวล and Bunrean Kaonuan. "การสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาบทบาทของวิทยาลัยภายใต้พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนกในการสร้างความเข้มแข็งของบุคลากรสาธารณสุขสำหรับการสนับสนุนทีมหมอครอบครัว." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5261">http://hdl.handle.net/11228/5261</a>.
.custom.total_download110
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year14
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2597.pdf
ขนาด: 2.397Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย