dc.contributor.author | ชุติมา คำดี | th_TH |
dc.contributor.author | Chutima Kumdee | th_TH |
dc.contributor.author | พัทธรา ลีฬหวรงค์ | th_TH |
dc.contributor.author | Pattara Leelahavarong | th_TH |
dc.contributor.author | วิทธวัช พันธุมงคล | th_TH |
dc.contributor.author | Witthawat Pantumongkol | th_TH |
dc.contributor.author | นิธิเจน กิตติรัชกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Nitichen Kittirachakool | th_TH |
dc.contributor.author | พรธิดา หัดโนนตุ่น | th_TH |
dc.contributor.author | Phorntida Hadnorntun | th_TH |
dc.contributor.author | จิรวิชญ์ ยาดี | th_TH |
dc.contributor.author | Jirawit Yadee | th_TH |
dc.contributor.author | วรรณฤดี อิสรานุวัฒน์ชัย | th_TH |
dc.contributor.author | Wanrudee Isaranuwatchai | th_TH |
dc.contributor.author | เนตรนภิส สุชนวนิช | th_TH |
dc.contributor.author | Netnapis Suchonwanich | th_TH |
dc.date.accessioned | 2020-11-23T06:05:11Z | |
dc.date.available | 2020-11-23T06:05:11Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.other | hs2604 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5270 | |
dc.description.abstract | การเข้าถึงยา (access to medicine) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่บ่งบอกความสำเร็จของระบบสาธารณสุขในประเทศนั้นๆ จากรายงานของ World Health Organization (WHO) ในปี 2004 ชี้ให้เห็นตัวเลข 1 ใน 3 ของประชากรของโลกยังไม่สามารถเข้าถึงยาที่มีความจำเป็นรวมถึงการรักษาที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติเห็นถึงความสำคัญของการเข้าถึงยาของประชนไทย โดยเฉพาะยาจำเป็นที่มีราคาแพง ซึ่งราคาเป็นอุปสรรคสำคัญต่อทั้งภาระค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลในการจัดซื้อยาและครัวเรือนของผู้ป่วยในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ดังนั้นจึงได้มีการเพิ่มบัญชียา จ(2) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบัญชียาหลักแห่งชาติ (National List of Essential Medicines: NLEM) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาสามารถเข้าถึงยาที่มีราคาแพงได้อย่างเสมอภาค (equity) และเท่าเทียม (equality) การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (mixed methods research) โดยใช้วิธีวิจัยทั้งเชิงปริมาณ (quantitative research) และเชิงคุณภาพ (qualitative research) เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของงานวิจัย ระเบียบวิธีวิจัยถูกออกแบบให้เหมาะสมกับคำถามงานวิจัย โดยพิจารณาตามกรอบแนวคิดการเข้าถึงยาที่ประยุกต์จาก Bigdeli และคณะ ผลการศึกษาสถานการณ์การมียาบัญชี จ(2) ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 มี 10 รายการ 22 ข้อบ่งใช้ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2560 มีรายการยาบัญชี จ(2) เพิ่มขึ้นเป็น 32 รายการ 40 ข้อบ่งใช้ โดยระหว่างปี พ.ศ. 2551 – 2560 กระบวนการ นิยาม และเกณฑ์ที่ใช้คัดเลือกยาเปลี่ยนแปลงไปตามรอบการบริหารของคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่า นิยามที่ใช้ในการจัดประเภทบัญชียา จ(2) มีความจำเป็นต้องปรับปรุงให้ชัดเจนเพื่อลดการตีความที่แตกต่างกันของตัวบุคคลหรือกลุ่มคน รวมถึงปรับปรุงกระบวนการทำงานของคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญแห่งชาติด้านการคัดเลือกยา คณะทำงานเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข และคณะทำงานกำกับดูแลการสั่งใช้ยาบัญชี จ(2) และยาที่มีเงื่อนไขการสั่งใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการพิจารณายาบัญชี จ(2) นอกจากนี้ ในอนาคตคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติควรมีการประเมินผลการดำเนินงานโดยหน่วยงานภายในและภายนอก การมียาบัญชี จ(2) ไว้ใช้ในระบบบริการสุขภาพ สำหรับระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ โรงพยาบาลต้องคัดเลือกยาใหม่ที่ไม่เคยมีการใช้เข้าบัญชีโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์สามารถสั่งใช้ยา ซึ่งในกระบวนการนี้ไม่มีอุปสรรคต่อการเข้าถึงยาของผู้ป่วย เนื่องจากกรณียาบัญชี จ(2) มักมีการคัดเลือกและใช้ยาราคาแพงมาก่อนในฐานะยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อให้บริการแก่ผู้ป่วยที่ชำระเงินเองและผู้ป่วยที่ใช้สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ซึ่งสามารถเบิกจ่ายยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติได้ รวมทั้งขั้นตอนการจัดซื้อจัดหายาบัญชี จ(2) ไว้สำหรับรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลก็ไม่พบปัญหายาขาดคราว แต่สำหรับระบบประกันสุขภาพแห่งชาติและระบบประกันสังคม กระบวนการที่จัดว่าเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงยามากที่สุดคือ กระบวนการจัดซื้อและจัดหายาบัญชี จ(2) มีความล่าช้า ทำให้มีปัญหายาขาดคราวบ่อยครั้ง จากการศึกษาพบว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาที่สำคัญ ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ควรติดตามสถานการณ์ยาในตลาดโลกอย่างใกล้ชิด อาทิ รายการยาและข้อบ่งใช้ใหม่ ปัญหายาหรือสารออกฤทธิ์ในยาขาดตลาด เพื่อให้ประเทศไทยสามารถเข้าถึงยาได้ในยามปกติและภาวะฉุกเฉิน ควรมีการปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อจัดหายาโดยหน่วยงานส่วนกลางเพื่อให้มียาบัญชี จ(2) สำหรับระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ และควรมีการปรับปรุงกระบวนการสำรองและกระจายยาบัญชี จ(2) อย่างเหมาะสม ผลจากการวิเคราะห์ฐานข้อมูลระบบสารสนเทศการเบิกจ่ายชดเชยยาบัญชี จ(2) โดยได้เลือกศึกษารายการยาตามประกาศบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2560 จำนวน 17 รายการ 31 ข้อบ่งใช้ ของผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสิทธิประกันสังคม ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2554-2561 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ได้รับยาบัญชี จ(2) 113,594 ราย หากพิจารณาภาพรวมจะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มการใช้ยาบัญชี จ(2) เพิ่มขึ้นทุกปี ในแง่ของการรายงานสัดส่วนการเข้าถึงยาบัญชี จ (2) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากฐานข้อมูล 3 กองทุนหลักประกันสุขภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อการขออนุมัติใช้ยาและการเบิกจ่ายชดเชยแก่โรงพยาบาล ซึ่งสามารถติดตามได้เพียงจำนวนการใช้ยาและข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยที่ได้รับยา เช่น เพศ อายุ สิทธิการรักษา แต่ไม่เหมาะสำหรับติดตามผลการเข้าถึงยา ผลลัพธ์ด้านสุขภาพและต้นทุนจากการใช้ยา ประกอบกับข้อจำกัดของระบบฐานข้อมูลของ 3 กองทุนหลักประกันสุขภาพที่แตกต่างกันจึงไม่สามารถรวมข้อมูลเป็นชุดเดียวได้ ด้วยเหตุนี้ จึงควรมีการพัฒนาระบบสำหรับประเมินและติดตามการใช้ยาบัญชี จ(2) ที่เชื่อมโยงกับระบบข้อมูลของโรงพยาบาลหรือระบบข้อมูลการให้บริการ โดยเฉพาะระบบสำหรับการขออนุมัติการใช้ยาที่สอดคล้องกับแนวทางกำกับการใช้ยาและมีกลไกกำกับการบันทึกข้อมูลของโรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมอและครบทุกรายการยาเพื่อประโยชน์ต่อการวิเคราะห์การเข้าถึงยาในอนาคต เช่นเดียวกันกับการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ฐานข้อมูลโรงพยาบาล การศึกษานี้ยังไม่สามารถสรุปผลการเข้าถึงยาและผลลัพธ์ด้านสุขภาพของยาบัญชีบัญชียา จ(2) ได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดของการใช้ข้อมูลที่มีในฐานข้อมูลของโรงพยาบาล ซึ่งขาดข้อมูลบางส่วนที่สำคัญต่อการอนุมัติใช้ยาตามแนวทางกำกับการใช้ยาของบัญชียาหลักแห่งชาติ เช่น ข้อมูลการรักษาก่อนหน้า ข้อมูลโรคร่วม ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญ ดังนั้น การวิเคราะห์การเข้าถึงยาบัญชี จ(2) ในอนาคตควรใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลโรงพยาบาลร่วมกับการทบทวนเวชระเบียนผ่านการปรึกษาทีมสหวิชาชีพที่มีส่วนในการดูแลผู้ป่วย และควรมีการพัฒนารูปแบบการบันทึกข้อมูลในฐานข้อมูลของโรงพยาบาลให้ครอบคลุมข้อมูลที่สำคัญอย่างครบถ้วน ในแง่ของความสามารถในการเข้าถึงบริการสุขภาพโดยพิจารณาจากจำนวนและสถานที่ตั้งของโรงพยาบาลที่ให้บริการยาบัญชี จ(2) พบว่ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จาก 143 เป็น 171 แห่ง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2556 ถึง 2561 ในปีงบประมาณ 2561 รายการยาที่มีจำนวนโรงพยาบาลให้บริการมากที่สุดในประเทศไทย คือ IVIG รองลงมาคือ docetaxel ในทางตรงกันข้าม รายการยาที่มีจำนวนโรงพยาบาลให้บริการน้อยที่สุด คือ linezolid รองลงมาคือ imiglucerase จำนวนของโรงพยาบาลที่ให้บริการยามีความสอดคล้องกับความต้องการรักษาดี นอกจากนี้ ไม่พบปัญหาเกี่ยวกับจำนวนและสถานที่ตั้งของสถานที่สำรองยาและเวชภัณฑ์ที่อาจส่งผลต่อการจัดส่งล่าช้าและทำให้ไม่มียาในโรงพยาบาลชั่วขณะ แม้ว่าจะมีสถานที่สำรองยาและเวชภัณฑ์จำนวนน้อยและตั้งอยู่ในบางพื้นที่ของประเทศ แต่จากผลการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2561 พบว่าสามารถขนส่งและกระจายสินค้าให้ลูกค้าได้ทันตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ในอนาคต ด้านความเหมาะสมในการสั่งใช้ยาตามแนวทางกำกับการใช้ยาพบว่าทั้ง 3 กองทุนหลักประกันสุขภาพมีระบบขออนุมัติการใช้ยาที่มีความจำเป็น กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและกองทุนประกันสังคมมีระบบขออนุมัติใช้ยาบัญชี จ (2) ในขณะที่กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการมีระบบขออนุมัติการใช้ยารักษาโรคมะเร็งและโลหิตวิทยา ซึ่งมีบางรายการยาตรงกับบัญชียา จ(2) แต่มีแนวทางในการกำกับการใช้ยาที่แตกต่างกัน โดยมีเกณฑ์การสั่งใช้ยาที่คล้ายคลึงกัน เช่น การพิจารณาถึงคุณสมบัติของแพทย์ เกณฑ์การวินิจฉัย ขนาดยาและระยะเวลาในการรักษา เป็นต้น เช่นเดียวกัน ทั้ง 3 กองทุนหลักประกันสุขภาพมีการตรวจสอบการใช้ยาตามแนวทางกำกับ (สำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและกองทุนประกันสังคม) หรือมาตรฐานการรักษาโรคมะเร็ง (กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ) อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้สามารถเข้าถึงผลการตรวจสอบการใช้เฉพาะกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งผลการตรวจสอบพบว่าทั้ง 3 รายการยาพบว่ามีการใช้ยาไม่เป็นไปตามแนวทางกำกับการใช้ โดยส่วนใหญ่เกี่ยวข้องการการตรวจวินิจฉัยทางคลินิก ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการที่โรงพยาบาลไม่มีเครื่องมือตรวจวินิจฉัย หรือจำเป็นต้องใช้เครื่องตรวจเทคโนโลยีขั้นสูงที่มาจากการกระจายตัวของเครื่องมือน้อยแต่อย่างใด แต่มักเกิดจากแพทย์ประเมินเองจากอาการ เช่น การตรวจประเมินการแพร่กระจายของมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นเพื่อใช้ยาบัญชี จ(2) ดังนั้น ในอนาคตกองทุนหลักประกันสุขภาพควรพัฒนาระบบการตรวจสอบการใช้ยาบัญชี จ(2) ให้ครอบคลุมยาทุกรายการ และควรมีการบูรณาการแนวทางการตรวจสอบการใช้ยาบัญชี จ(2) ร่วมกันทั้ง 3 กองทุนหลักประกันสุขภาพเพื่อให้การตรวจสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผลจากการศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรในโรงพยาบาลต่อยาในบัญชี จ(2) ต่อระบบบริหารเวชภัณฑ์ยาพบว่า บุคลากรในโรงพยาบาลมีความเชื่อมั่นต่อระบบคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ การกระจาย รวมถึงการขออนุมัติใช้ยาว่าสามารถทำให้ได้มาซึ่งยาที่มีประสิทธิผล คุณภาพ และความปลอดภัย โดยพิจารณาในแง่ของการธรรมาภิบาลระบบ การบริหารจัดการ กำลังคนและงบประมาณ ยกเว้นระบบการจัดซื้อจัดหาที่บุคลากรในโรงพยาบาลยังขาดความเชื่อมั่นว่ากระบวนการดังกล่าวจะนำมาซึ่งยาที่มีคุณภาพ ดังนั้นเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของการใช้ยาในกลุ่มบุคลากรในโรงพยาบาล กองทุนหลักประกันสุขภาพควรมีช่องทางในการร้องเรียนปัญหาเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยของยา พร้อมทั้งควรมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว พร้อมทั้งพัฒนาช่องทางสำหรับการเบิกชดเชยยาในกรณีที่ผู้ป่วยแพ้ยาหรือมีผลข้างเคียงจากยาที่ได้จากการจัดซื้อจัดหารวมระดับประเทศ และควรชี้แจงข้อจำกัดของระเบียบการจัดซื้อยา เพื่อให้บุคลากรในโรงพยาบาลเข้าใจเหตุผลและยอมรับใช้ยาที่จัดซื้อได้ทั้งจากส่วนกลาง ประกอบกับ อย. ควรสร้างความเข้มแข็งในการตรวจสอบเฝ้าระวังประสิทธิผล คุณภาพและความปลอดภัยของยา รวมถึงเก็บข้อมูลเพื่อศึกษาวิจัยทางคลินิกในกลุ่มยาที่แพทย์ผู้สั่งใช้มีทัศนคติหรือความเชื่อในด้านลบ ประเทศไทยคำนึงถึงความสามารถในการจ่ายค่ายาบัญชี จ(2) ตามมุมมองคุณค่าผลิตภัณฑ์ตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ โดยใช้เกณฑ์ความคุ้มค่าอยู่ที่ 160,000 บาท/ปีสุขภาวะ และคำนึงถึงภาระงบประมาณค่ายา แม้ว่ายาจะไม่คุ้มค่าที่เพดานความคุ้มค่าของประเทศไทย แต่หากมีภาระงบประมาณไม่เกิน 200 ล้านบาท/ปี รายการยาดังกล่าวก็มีแนวโน้มที่จะถูกบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ อย่างไรก็ตาม ประเด็นอื่นๆ เช่น จำนวนผู้ป่วยที่ใช้ยาน้อยราย (rare case) จริยธรรมทางการแพทย์เป็นการช่วยให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงยา จะถูกใช้เป็นเกณฑ์ในพิจารณาคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติด้วย ไม่เฉพาะประเด็นความสามารถในการจ่าย โดยในกระบวนการสุดท้ายของการคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ คณะอนุกรรมการพัฒนายาหลักแห่งชาติจะมีการปรึกษากับทั้ง 3 กองทุนหลักประกันสุขภาพถึงความสามารถในการจ่ายค่ายาก่อนประกาศรายการยาใหม่ลงในราชกิจจานุเบกษา จากการศึกษาพบว่าค่าใช้จ่ายยาบัญชี จ(2) เทียบกับงบประมาณบริการกรณีเฉพาะสำหรับผู้ป่วยสิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2556 จนถึง พ.ศ. 2561 มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 10 ส่วนกองทุนประกันสังคมในช่วงเวลาเดียวกัน พบว่าร้อยละค่าใช้จ่ายยาบัญชี จ(2) เทียบกับค่าประโยชน์ชดเชยมีสัดส่วนสูงขึ้นจากร้อยละ 0.45 เป็นร้อยละ 1 แต่เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายยาบัญชี จ(2) ต่อหัวประชากรกับสัดส่วนการเพิ่มขึ้นรายได้ประชาชาติต่อหัวประชากร จะพบได้ว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนถึง 2560 ทั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและกองทุนประกันสังคมมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายยาบัญชี จ(2) สูงกว่าสัดส่วนการเพิ่มขึ้นรายได้ประชาชาติต่อหัวประชากร หรือแปลผลได้ว่าทั้ง 2 กองทุนมีค่าใช้จ่ายยาบัญชี จ(2) สูงกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้นของคนไทย ทำให้กองทุนหลักประกันสุขภาพจำเป็นต้องคำนึงถึงความสามารถในการจ่ายยาเหล่านี้ในอนาคต รวมถึงควรมีการศึกษาความสามารถในการจ่ายยาบัญชี จ(2) ด้วยวิธีที่เปรียบเทียบกับต่างประเทศได้ โดยอาจเปรียบเทียบกับประเทศในอาเซียน หรือประเทศที่มีลักษณะการเติบโตของเศรษฐกิจใกล้เคียงกัน และควรศึกษาให้ครอบคลุมกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ผลจากวิเคราะห์ข้อมูลจากสถานการณ์จริงเพื่อศึกษารูปแบบการรักษายา trastuzumab และยากลุ่ม TKIs พบว่าในสถานการณ์จริงมีการใช้ยาผิดเงื่อนไขมากกว่าครึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับแนวทางกำกับการใช้ยา อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ดังกล่าวใช้ข้อมูลที่ถูกบันทึกในฐานข้อมูลการขออนุมัติใช้ยาและการจ่ายเงินชดเชยของกองทุนหลักประกันสุขภาพ ซึ่งขาดข้อมูลสำคัญในการวิเคราะห์สาเหตุหรือความเป็นมาของการใช้ที่ไม่ตรงตามแนวทางกำกับการใช้ยา ดังนั้นในอนาคตควรมีการศึกษาถึงสาเหตุของการมีรูปแบบการรักษาดังกล่าวเพื่อใช้ปรับปรุงแนวทางกำกับการใช้ให้สอดคล้องกับการปฏิบัติจริงหรือใช้พัฒนารูปแบบการให้บริการของโรงพยาบาลในอนาคต ในขณะที่ผลการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขของยา trastuzumab และยากลุ่ม TKIs ยังมีข้อจำกัดของข้อมูลจากสถานการณ์จริง จึงไม่ควรนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจทางด้านนโยบาย แต่ควรพัฒนาแนวทางการทบทวนผลการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (Health Technology Reassessment: HTR) โดยการใช้ข้อมูลในสถานการณ์จริงให้เป็นมาตรฐานก่อนเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การเข้าถึงยา | th_TH |
dc.subject | บัญชียาหลักแห่งชาติ | th_TH |
dc.subject | ระบบยา | th_TH |
dc.subject | ยา--การใช้ยา | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การวิเคราะห์การเข้าถึงยาบัญชียาหลักแห่งชาติ บัญชียา จ(2) | th_TH |
dc.title.alternative | An analysis on access to National List of Essential Medicines category E(2) | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.publication | ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์สถานการณ์การเข้าถึงยาจำเป็นในประเทศไทย | th_TH |
dc.identifier.callno | QV55 ช617ก 2563 | |
dc.identifier.contactno | 61-077 | |
.custom.citation | ชุติมา คำดี, Chutima Kumdee, พัทธรา ลีฬหวรงค์, Pattara Leelahavarong, วิทธวัช พันธุมงคล, Witthawat Pantumongkol, นิธิเจน กิตติรัชกุล, Nitichen Kittirachakool, พรธิดา หัดโนนตุ่น, Phorntida Hadnorntun, จิรวิชญ์ ยาดี, Jirawit Yadee, วรรณฤดี อิสรานุวัฒน์ชัย, Wanrudee Isaranuwatchai, เนตรนภิส สุชนวนิช and Netnapis Suchonwanich. "การวิเคราะห์การเข้าถึงยาบัญชียาหลักแห่งชาติ บัญชียา จ(2)." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5270">http://hdl.handle.net/11228/5270</a>. | |
.custom.total_download | 181 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 35 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 4 | |