แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาร้านยาคุณภาพที่เป็นหน่วยร่วมบริการกับคลินิกหมอครอบครัว

dc.contributor.authorสุณี เลิศสินอุดมth_TH
dc.contributor.authorSunee Lertsinudomth_TH
dc.contributor.authorวัชรพงษ์ รินทระth_TH
dc.contributor.authorWatcharapong Rintarath_TH
dc.contributor.authorอุษณีย์ วนรรฆมณีth_TH
dc.contributor.authorUsanee Wanakamaneeth_TH
dc.contributor.authorชวนชม ธนานิธิศักดิ์th_TH
dc.contributor.authorChuanchom Thananithisakth_TH
dc.contributor.authorพจนาลัย อนุสรณ์พาณิชกุลth_TH
dc.contributor.authorPodjanalai Anusornpanichakulth_TH
dc.contributor.authorเพ็ญทิพา แก้วเกตุทองth_TH
dc.contributor.authorPentipa Kaewketthongth_TH
dc.date.accessioned2021-01-05T07:28:12Z
dc.date.available2021-01-05T07:28:12Z
dc.date.issued2563-12
dc.identifier.otherhs2621
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5298
dc.description.abstractบทนำ: การทำงานของคลินิกหมอครอบครัวมีข้อจำกัดคือเภสัชกรไม่เพียงพอ ร้านยาที่เป็นหน่วยร่วมบริการสามารถช่วยเติมเต็มระบบการทำงานด้านเภสัชกรรมให้สมบูรณ์ขึ้น วิธีการวิจัย: วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น เพชรบูรณ์ พิษณุโลกและสงขลา ภายใต้โครงการรับยาใกล้บ้าน เภสัชกรใกล้ใจ ระยะเวลาศึกษา 1 ปี ประกอบด้วย 3 Phase การวิจัยใน Phase 1 เพื่อพัฒนาโมเดลการให้บริการงานปฐมภูมิของร้านยาคุณภาพที่เป็นหน่วยร่วมบริการกับคลินิกหมอครอบครัว และสร้างแนวทางการทำงานของคลินิกหมอครอบครัวกับร้านยา การวิจัยใน Phase 2 การนำลงปฏิบัติจริงในพื้นที่ และการวิจัยใน Phase 3 เป็นการประเมินผลลัพธ์ทั้งด้านการจัดการปัญหาการใช้ยา ความพึงพอใจและความคิดเห็นของเภสัชกรผู้ให้บริการของร้านยา ผู้รับบริการและบุคลากรในคลินิกหมอครอบครัว และผลลัพธ์ทางเศรษฐศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์คือพัฒนาโมเดลการให้บริการของร้านยาที่เป็นหน่วยร่วมบริการกับคลินิกหมอครอบครัว ประเมินผลการจัดการปัญหาเรื่องยาของประชาชนที่มารับบริการที่ร้านยา ประเมินความพึงพอใจของประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ต่อโมเดลที่พัฒนาขึ้นและประเมินผลลัพธ์ทางเศรษฐศาสตร์ของโมเดลที่พัฒนาขึ้น ผลการวิจัย: ได้มีการพัฒนาโมเดลการให้บริการของร้านยาคุณภาพและร้านยา (Good Pharmacy Practice; GPP) ที่เป็นหน่วยร่วมบริการกับคลินิกหมอครอบครัวโดยใช้รูปแบบการจ่ายยาในโครงการรับยาใกล้บ้าน เภสัชกรใกล้ใจ โมเดล 1 และโมเดล 2 สิ่งที่ได้พัฒนาในงานวิจัยนี้คือ การให้บริการของร้านยาที่เพิ่มเติมคือการจัดการการใช้ยา (Medication therapy management; MTM) รวมถึงการจัดการยาเหลือใช้และการสร้างเสริมสุขภาพแก่ผู้ป่วยที่มารับบริการในโครงการรับยาใกล้บ้าน เภสัชกรใกล้ใจ ผลของการพัฒนาทำให้มีผลลัพธ์ในด้านการจัดการปัญหาการใช้ยา ปัญหาด้านพฤติกรรมสุขภาพและยาเหลือใช้โดยพบยาเหลือใช้มูลค่าทั้งสิ้น 14,211.22 บาท ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากผู้ป่วยไม่ร่วมมือในการใช้ยา 55.03% รองลงมาคือ แพทย์สั่งจ่ายยาเกินจากนัด 38.48% สำหรับปัญหาเรื่องยาที่พบมากที่สุดคือ ความไม่ร่วมมือในการใช้ยาและปัญหาพฤติกรรมสุขภาพที่พบส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องอาหาร สำหรับผลการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการในพื้นที่ต่างๆ คะแนนเต็ม 5 พบว่าผู้รับบริการมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดในทุกด้าน ทั้งด้านขั้นตอนการให้บริการซึ่งประกอบด้วยความเหมาะสมของขั้นตอนในการให้บริการโดยเภสัชกรชุมชน (4.77±0.46) และความเหมาะสมของระยะเวลาในการให้บริการจากเภสัชกรชุมชน (4.77±0.47) ด้านการให้บริการของเภสัชกรร้านยาซึ่งประกอบด้วยมารยาทในการให้บริการของเภสัชกร (4.88±0.33) และเภสัชกรสามารถช่วยแก้ไขปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วย (4.81±0.44) ด้านประโยชน์ที่ผู้รับบริการได้รับซึ่งประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับโรคและยาที่ตนเองได้รับ (4.72±0.51) การนำความรู้ที่ได้จากเภสัชกรชุมชนมาปรับใช้ในการดูแลตนเอง (4.75±0.48) และลดระยะเวลาในการรอรับบริการจากห้องยาหลังพบแพทย์ได้มากกว่าที่โรงพยาบาล (4.86±0.37) ตลอดจนด้านความพึงพอใจในภาพรวม (4.87±0.36) ผลการประเมินความพึงพอใจของเภสัชกรร้านยามีความพึงพอใจในภาพรวมระดับมากที่สุด (4.27±0.69) ยกเว้นเรื่องความเหมาะสมของค่าตอบแทนที่ได้รับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (3.84±0.86) พบว่าต้นทุนรวมต่อครั้งของการให้บริการจ่ายยาในโมเดล 1 ในภาพรวมเท่ากับ 104.24 บาทต่อครั้งของการให้บริการ จะเห็นว่าต้นทุนของร้านยาในโมเดล 1 มีค่ามากกว่าค่าตอบแทนที่ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จ่ายให้กับร้านยาซึ่งเท่ากับ 70 บาทต่อครั้งของการให้บริการ นอกจากนี้เมื่อคิดต้นทุนต่อรายการยาเท่ากับ 31.03 บาทต่อ 1 รายการยาที่เภสัชกรจ่ายยาและให้คำแนะนำการใช้ยา สำหรับโมเดล 2 พบว่าต้นทุนต่อครั้งของการให้บริการเท่ากับ 176.73 บาทต่อครั้ง จะเห็นว่าต้นทุนของโมเดล 2 มีค่าสูงกว่าค่าตอบแทนที่ทางสปสช. จ่ายให้กับร้านยาถึง 106.73 บาท บทสรุป: ร้านยาที่เป็นหน่วยร่วมบริการกับคลินิกหมอครอบครัวในโครงการรับยาใกล้บ้าน เภสัชกรใกล้ใจ ควรให้บริการจัดการปัญหาการใช้ยา (Medication therapy management; MTM) และงานสร้างเสริมสุขภาพแก่ผู้ป่วยร่วมด้วยนอกเหนือจากการจ่ายยาและให้คำแนะนำการใช้ยาเพราะประชาชนได้ประโยชน์และมีความพึงพอใจ สปสช. ควรเพิ่มค่าตอบแทนให้เภสัชกรร้านยาในโมเดล 1 เป็นอย่างน้อย 100 บาทต่อครั้งของการให้บริการ และโมเดล 2 เป็นอย่างน้อย 170 บาทต่อครั้งของการให้บริการ และพัฒนาศักยภาพร้านยาทั้งหมดในโครงการให้สามารถให้บริการจัดการปัญหาการใช้ยาและงานสร้างเสริมสุขภาพแก่ผู้ป่วยth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectร้านขายยาth_TH
dc.subjectการเข้าถึงยาth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.titleการสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาร้านยาคุณภาพที่เป็นหน่วยร่วมบริการกับคลินิกหมอครอบครัวth_TH
dc.title.alternativeThe synthesis of political suggestion for the development of Accredited Drugstore Co-working with Family Medicine Clinicth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeIntroduction: The work of the Family Medicine Clinic (Primary care cluster) is limited, that is, the pharmacist is not enough. Pharmacies as a co-service unit should therefore complement a complete pharmaceutical system. Method: Participatory action research in the area of Khon Kaen, Phetchabun Phitsanulok and Songkhla under the project to reduce hospital congestion by the drug store mechanism. The study period consisted of 3 research phases in Phase 1 to develop a model for the pharmacy that is a unit in conjunction with a family medicine clinic and establishing guidelines. In phase 2, putting them into practice in the area. And the research in phase 3 is to evaluate the outcome of drug use problem management. Satisfaction and opinions of pharmacists, patient and health care provider in the family medicine clinic and economic results. The objective is to develop a service model of a pharmacy that is a joint unit with a family medicine clinic. Evaluating the management of drug problems of the people who come to the pharmacy. Evaluate the satisfaction of patients and healthcare workers with the developed models and assess the economic results of the developed models. Results: The service model of quality pharmacies and GPP pharmacies as a joint service was developed. Additional pharmacy services which developed in this study are Medication therapy management (MTM) as well as waste drug management and health promotion for patients who come to receive services in the project to reduce hospital congestion by the drug store mechanism. The results of the development have resulted in the management of drug use problems. Behavioral problems, and residual medicine, found a total of 14,211.22 baht, most of which cause 55.03% of patients who did not comply in drug use, followed by 38.48% of over prescription. Most common drug related problem is noncompliance and the most common health behavior problem is diet problem. For the results of assessing the satisfaction of the clients in various areas, a full score of 5 found that the clients were satisfied at the highest level in all aspects. Both the service procedures, which consisted of the appropriateness of the service procedures by community pharmacists (4.77 ± 0.46) and the appropriateness of the duration of service from community pharmacists (4.77 ± 0.47). Pharmacists, which consisted of service etiquette of pharmacists (4.88 ± 0.33) and pharmacists, can help resolve drug use problems of patients (4.81 ± 0.44). Knowledge of disease and self-received drugs (4.72 ± 0.51) applied knowledge gained from community pharmacists to apply for self-care (4.75 ± 0.48) and reduce the time to wait for service compare with hospital (4.86±0.37) and overall satisfaction (4.87±0.36). The results of the satisfaction assessment of pharmacists were the highest (4.27 ± 0.69). Except for the appropriateness of compensation which was satisfied at a high level (3.84 ± 0.86). It was found that the total cost per time of service in the model 1 was 104.24 baht per time of service. It can be seen that the cost of drugstores in Model 1 is greater than the remuneration paid by the NHSO to the pharmacy, which is 70 baht per time of service. In addition, when the cost per item of drug is 31.03 baht per one item of medicine dispensed by the pharmacist and giving advice on drug use. For model 2, it was found that the cost per time of service was 176.73 baht per time, it can be seen that the cost of Model 2 is 106.73 baht higher than the remuneration paid by the NHSO to the pharmacy. Conclusion: The drugstore in the project to reduce hospital congestion by the drug store mechanism should be provide Medication therapy management (MTM) and health promotion services to patients, in addition to prescribing and giving medication advice because people are benefiting and satisfied. The National Health Security Office should increase the remuneration for pharmacists in Model 1 to at least 100 baht per visit and Model 2 to at least 170 baht per visit and to develop the potential of all pharmacies in the project to be able to provide services to manage drug use problems and health promotion to the patients.th_TH
dc.identifier.callnoQV737 ส819ก 2563
dc.identifier.contactno63-010
dc.subject.keywordคลินิกหมอครอบครัวth_TH
dc.subject.keywordรับยาใกล้บ้าน เภสัชกรใกล้ใจth_TH
.custom.citationสุณี เลิศสินอุดม, Sunee Lertsinudom, วัชรพงษ์ รินทระ, Watcharapong Rintara, อุษณีย์ วนรรฆมณี, Usanee Wanakamanee, ชวนชม ธนานิธิศักดิ์, Chuanchom Thananithisak, พจนาลัย อนุสรณ์พาณิชกุล, Podjanalai Anusornpanichakul, เพ็ญทิพา แก้วเกตุทอง and Pentipa Kaewketthong. "การสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาร้านยาคุณภาพที่เป็นหน่วยร่วมบริการกับคลินิกหมอครอบครัว." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5298">http://hdl.handle.net/11228/5298</a>.
.custom.total_download103
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year17
.custom.downloaded_fiscal_year22

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2621.pdf
ขนาด: 7.207Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย