dc.contributor.author | ศิริพร ด่านคชาธาร | th_TH |
dc.contributor.author | Siriporn Darnkachatarn | th_TH |
dc.contributor.author | จันจิรา มหาบุญ | th_TH |
dc.contributor.author | Junjira Mahaboon | th_TH |
dc.date.accessioned | 2021-02-09T03:28:07Z | |
dc.date.available | 2021-02-09T03:28:07Z | |
dc.date.issued | 2564 | |
dc.identifier.other | hs2633 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5305 | |
dc.description.abstract | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้ความเสี่ยงและพฤติกรรมการป้องกัน ควบคุมความเสี่ยงจากการทำงานของคนงานแปรรูปหมอนยางพารา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ความเสี่ยงและพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงจากการทำงานของคนงานแปรรูปหมอนยางพารา และ 3) เพื่อการกำหนดแนวทาง หรือมาตรการ และจัดทำคู่มือในการพัฒนารูปแบบการป้องกันอันตรายจากการทำงานในการแก้ปัญหาด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของคนงานแปรรูปหมอนยางพารา จ.นครศรีธรรมราช ทำการศึกษาในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 10 กลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 74 คน รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยอาศัยวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ และเทคนิคกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2562 – ธันวาคม 2563 ทำการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบอาชีพและอันตรายจากการแปรรูปหมอนยางพารา โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการปรับปรุงสภาพการทำงานในสถานประกอบการขนาดเล็ก และการวิเคราะห์ความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งมีการชี้บ่งอันตรายลงไปในทุกๆ ขั้นตอนของการทำงาน จากนั้นร่วมกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยงและพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงจากการทำงานของคนงานแปรรูปหมอนยางพารา จ.นครศรีธรรมราช ผลการศึกษาพบว่า 5 อันดับแรกที่ผู้ปฏิบัติงานแปรรูปหมอนยางพาราได้รับสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ท่าทางในการทำงานที่มีลักษณะการก้ม/เงยศีรษะ การบิดเอี้ยวตัว ท่าทางที่ซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน สัมผัสกับสารเคมี และความชื้น โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.29, 3.10, 2.94, 2.78 และค่าเฉลี่ย 2.70 ตามลำดับ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการรับรู้โอกาสเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงานแปรรูปหมอนยางพารา โดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่า เพศหญิง มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.006 ; 95%CI : 3.75 – 21.55) ระยะเวลาประกอบอาชีพ แปรรูปหมอนยางพารามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.001 ; 95%CI: (-1.05) – 7.36) และเคยได้รับการอบรมวิธีการแปรรูปหมอนยางพาราอย่างถูกต้องและปลอดภัย มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.0001 ; 95%CI: (-29.72) – (-12.96)) และเมื่อปรับอิทธิพลจากตัวแปรร่วมอื่น พบว่า เพศหญิง (p-value = 0.006 ; 95%CI: 3.75 – 21.55) ระยะเวลาประกอบอาชีพ แปรรูปหมอนยางพารา ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมง/วัน (p-value = 0.014 ; 95%CI: (-19.35) – (-2.31)) มีประวัติโรคภูมิแพ้ (p-value = 0.003 ; 95%CI: (-38.61) – (-8.47)) และเคยได้รับการอบรมวิธีการแปรรูปหมอนยางพาราอย่างถูกต้องและปลอดภัย (p-value = 0.0001 ; 95%CI: (-33.91) – (-2.31)) มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลของการพัฒนาจากการประยุกต์ใช้เทคนิค Work Improvement in Small Enterprises (WISE) และ Job Safety Analysis (JSA) เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน พบว่า ภายหลังการดำเนินการวิสาหกิจชุมชนมีสภาพแวดล้อมในการทำงานดีขึ้นในหลายๆ ด้านตามองค์ประกอบของ WISE Technique เช่น การปรับปรุงท่าทางการทำงานของพนักงาน ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี อีกทั้งสามารถเลือกใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยอย่างถูกต้อง เป็นต้น ซึ่งผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการดำเนินการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ประสบความสำเร็จขั้นตอนที่ผู้วิจัยได้ดำเนินการในคนงาน คือ 1) การสร้างความเข้าใจในปัญหา 2) การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพการทำงานที่ปลอดภัย 3) การร่วมกันค้นหาแนวทางในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน 4) การร่วมกันดำเนินการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน และ 5) การติดตามและสนับสนุนการดำเนินการ ซึ่งรูปแบบการป้องกันอันตรายจากการทำงานดังกล่าวถือเป็นกลยุทธ์การป้องกันระดับปฐมภูมิที่ดีที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือจากคนงานแปรรูปหมอนยางพาราและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาป้องกันผลกระทบของสุขภาพ และสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม ยั่งยืน และมีคุณภาพต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การทำงาน--อุบัติเหตุ | th_TH |
dc.subject | การทำงาน--ความเสี่ยง | th_TH |
dc.subject | ความปลอดภัยในการทำงาน | th_TH |
dc.subject | อุบัติเหตุในการทำงาน | th_TH |
dc.subject | สินค้ายางพารา | th_TH |
dc.subject | สินค้ายางพารา--การผลิต | th_TH |
dc.subject | แรงงานนอกระบบ | th_TH |
dc.subject | แรงงานนอกระบบ--สุขภาพและอนามัย | th_TH |
dc.subject | ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) | th_TH |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการป้องกันอันตรายจากการทำงานของคนงานแปรรูปหมอนยางพารา จังหวัดนครศรีธรรมราช | th_TH |
dc.title.alternative | Model Development to Prevent the Hazards of Natural Latex Pillow Process among Workers, Nakhon Si Thammarat | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research aim to 1) investigate risk perceptions and preventive behaviors as well as the control of work-related risks among latex pillow processing workers, 2) study the factors affecting risk perceptions and preventive behaviors as well as control of work-related risks among latex pillow processing workers, and 3) establish the guidelines or measures and prepare manuals on the development of hazard prevention to address the occupational health and safety problems among latex pillow processing workers in Nakhon Si Thammarat. The sample size for the survey on risk perception and hazard prevention from working with latex pillow processing were a total of 10 community enterprises and SME groups for latex pillow processing in Nakhon Si Thammarat, with a number of 74 workers. The research adopted the Participatory Action Research (PAR) through the qualitative study and participatory learning technique during November 2019 to December 2020. The research was conducted by studying the baseline data of occupational health hazards, survey the working condition, and monitoring the physical working environment. Researchers apply work improvement in small enterprises (WISE) and job safety analysis (JSA) techniques that points out hazards in every working process. It is also required for their participation in determining the procedures and methods in each procedure to ensure collaborations between researchers and latex pillow processing workers. Data analysis were analyzed using descriptive statistics and Inferential statistics by multiple regression analysis to analyze the correlation of factors influencing risk perceptions and preventive behaviors as well as work-related risk control among latex pillow processing workers in Nakhon Si Thammarat. The study found that top five rankings of risk factors exposed to latex pillow processing workers were working positions with lowering/raising their heads, positions with body bending, repetitive working positions for a long time, chemical exposure, and moisture exposure, accounted for 3.29, 3.10, 2.94, 2.78 and 2.70 mean, respectively. The correlation between personal factors and risk perceptions among latex pillow processing workers through an analysis of correlation between variables found that females had statistical significance (p-value = 0.006; 95%CI: 3.75 – 21.55), working periods of latex pillow processing with statistical significance (p-value = 0.001; 95%CI: (-1.05) – 7.36), and receiving the trainings of safe and proper latex pillow processing with statistical significance (p-value = 0.0001; 95%CI: (-29.72) – (-12.96)). An adjustment of possible influences from other covariate variables found that females (p-value = 0.006; 95%CI: 3.75 – 21.55) with working periods for latex pillow processing approximately 8 hours/day (p-value = 0.014; 95%CI: (-19.35) – (-2.31)), having the records of allergies (p-value = 0.003; 95%CI: (-38.61) – (-8.47)), and receiving the training of safe and proper latex pillow processing (p-value = 0.0001; 95%CI: (-33.91) – (-2.31)) showed statistical significance. The results of the development from the application of Work Improvement in Small Enterprises (WISE) and Job Safety Analysis (JSA) techniques to improve the working environment were found that after the implementation, community enterprises had a better working environment in several areas based on the WISE Technique elements, such as improving work posture, chemical safety, and personal safety equipment, etc. The steps for successful work improvements among workers used by the researchers include 1) understanding the problems, 2) providing knowledge of safe working conditions, 3) collaboratively finding the guidelines for improving the work environment, 4) jointly improving the work environment, and 5) doing follow-up and supporting the operations. The hazard-prevention models are regarded as the primary prevention strategies developed by collaborations of latex pillow processing workers and relevant agencies in the local area, which will result in the prevention for health impacts and improve the quality of working life in a concrete and sustainable way. | th_TH |
dc.identifier.callno | HB8700.55 ศ463ก 2564 | |
dc.identifier.contactno | 63-001 | |
.custom.citation | ศิริพร ด่านคชาธาร, Siriporn Darnkachatarn, จันจิรา มหาบุญ and Junjira Mahaboon. "การพัฒนารูปแบบการป้องกันอันตรายจากการทำงานของคนงานแปรรูปหมอนยางพารา จังหวัดนครศรีธรรมราช." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5305">http://hdl.handle.net/11228/5305</a>. | |
.custom.total_download | 58 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 14 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 | |