dc.contributor.author | นภดล สุดสม | th_TH |
dc.contributor.author | Napadol Sudsom | en_US |
dc.contributor.author | ถนัด ใบยา | th_TH |
dc.contributor.author | Thanat Baiya | en_US |
dc.contributor.author | วิชัย นิลคง | th_TH |
dc.contributor.author | Wichai Nikong | en_US |
dc.contributor.author | ชัยวุฒิ วันควร | th_TH |
dc.contributor.author | Chaiwut Wankhuan | en_US |
dc.contributor.author | ธนเสฏฐ์ สายยาโน | th_TH |
dc.contributor.author | Tanasate Saiyano | en_US |
dc.contributor.author | พิษณุ อินปา | th_TH |
dc.contributor.author | Phitsanu Inpa | en_US |
dc.contributor.author | กรภัทร ขันไชย | th_TH |
dc.contributor.author | Khooraphat Kanchai | en_US |
dc.contributor.author | เพ็ญพักตร์ ภิรัญคำ | th_TH |
dc.contributor.author | Penpuk Pirunkum | en_US |
dc.contributor.author | วิภาพร ทิพย์อำมาตย์ | th_TH |
dc.contributor.author | Wipaporn Thiparmart | en_US |
dc.contributor.author | กมลฉัตร จันทร์ดี | th_TH |
dc.contributor.author | Kamonchat Chandee | en_US |
dc.date.accessioned | 2021-02-15T05:37:46Z | |
dc.date.available | 2021-02-15T05:37:46Z | |
dc.date.issued | 2563-12 | |
dc.identifier.other | hs2636 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5308 | |
dc.description.abstract | ในปีพุทธศักราช 2549 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งสุขศาลาพระราชทานในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) และพื้นที่ห่างไกลขึ้น ทรงมุ่งหวังว่านอกจากการเป็นที่พึ่งด้านสุขภาพของนักเรียนและประชาชนในยามปกติและยามฉุกเฉินแล้ว ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านอื่นๆ ของประชาชนในพื้นที่ห่างไกล โดยในปีพุทธศักราช 2560 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้จัดตั้ง “สุขศาลาพระราชทาน” ในพื้นที่อำเภอบ่อเกลือ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน จำนวน 3 แห่ง คือ 1. บ้านห้วยปูด ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ 2. บ้านป่าก๋า ตำบลดงพญา อำเภอบ่อเกลือ และ 3. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีฯ บ้านสะไล ตำบลบ่อเกลือเหนือ อำเภอบ่อเกลือ โดยมีภารกิจหลัก 3 ด้าน ได้แก่ 1) ภารกิจด้านการรักษาพยาบาล การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการส่งต่อผู้ป่วย 2) ภารกิจด้านการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค และ 3) ภารกิจด้านการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในการจัดการสุขภาพ การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาสุขศาลาพระราชทาน จังหวัดน่าน ในด้านบริบทภูมิสังคมของพื้นที่ แนวคิดการพัฒนา การบริหารจัดการ กระบวนการพัฒนา ผลผลิตและผลลัพธ์ของการพัฒนา เพื่อศึกษาปัจจัยเงื่อนไขความสำเร็จและความล้มเหลวในการพัฒนาสุขศาลาพระราชทาน จังหวัดน่าน ทั้ง 3 แห่ง โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) เริ่มดำเนินการวิจัยตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2562 ถึง 15 ธันวาคม 2563 รวมระยะเวลา 15 เดือน ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการพัฒนาสุขศาลาพระราชทาน จังหวัดน่าน ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบ ปัจจัยเงื่อนไขความสำเร็จในการพัฒนาสุขศาลาพระราชทาน จังหวัดน่าน ได้แก่ การพัฒนาบนหลักคิดการพึ่งตนเอง การกำหนดเป้าหมายร่วมและบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม การเข้าถึงบริการ การยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน และโครงการพระราชดำริและนโยบายที่เกี่ยวข้อง ส่วนปัญหาอุปสรรคที่ท้าทายต่อการพัฒนา ได้แก่ การพัฒนาอัตรากำลังคน การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสาร และความครอบคลุมการเข้าถึงบริการของกลุ่มบ้านบริวาร จากผลและข้อสรุปของการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ระบบสุขภาพชุมชนพื้นที่ห่างไกล เป็นผลลัพธ์สำคัญที่เกิดจากกระบวนการพัฒนาสุขศาลาพระราชทาน จังหวัดน่าน ที่สามารถใช้เป็นรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนและนำไปขยายผลในพื้นที่อื่นๆ ของจังหวัดน่านต่อไปได้ โดยผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การใช้กลไกขับเคลื่อนด้วยคณะกรรมการที่ประกอบด้วยภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกระดับและมีหน่วยงานประสานงานที่ชัดเจน มีแผนงานที่บูรณาการการทำงานร่วมกัน เป็นขั้นตอนสำคัญที่ทำให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนตั้งแต่แรกเริ่ม โดยในกระบวนการสรรหาเจ้าหน้าที่ประจำสุขศาลาพระราชทาน จังหวัดน่าน ได้ให้ความสำคัญบริบทพื้นที่กลุ่มชาติพันธุ์เป็นหลัก เป็นลักษณะของการผลิตร่วม ให้บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท. และชุมชนมาร่วมสรรหาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในชุมชนของตนเอง นอกจากนี้การนำหลักคิดคนเป็นแกนกลางของการพัฒนามาใช้ ทำให้บุคลากรสุขศาลาพระราชทาน จังหวัดน่าน ได้รับการพัฒนาศักยภาพสู่นักจัดการสุขภาพชุมชน ส่วนการยกปัญหาคุณภาพชีวิตชุมชนเป็นเป้าหมายร่วมกันของพื้นที่ชุมชนสุขศาลาพระราชทาน จังหวัดน่าน ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เกิดกิจกรรมที่สร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาจากทุกภาคส่วนได้เป็นอย่างดี งานวิจัยนี้ทำให้ทราบถึงความสำคัญของทุนทางสังคมต่อการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน ซึ่งพบว่าการส่งเสริมศักยภาพของทุนเดิมให้กับชุมชนพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร อันประกอบด้วย ทุนมนุษย์ ทุนสังคมและทุนปัญญา ให้เกิดการพัฒนาอย่างเต็มประสิทธิภาพและต่อเนื่องเป็นกลวิธีที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสุขศาลาพระราชทาน จังหวัดน่านให้ยั่งยืน ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ 1. ควรมีการศึกษาร่วมกันถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาระบบการส่งต่อผู้ป่วยในสถานการณ์ฉุกเฉินที่ยังมีข้อจำกัดด้านความยากลำบากของเส้นทางการคมนาคม โดยใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคส่วนชุมชน เอกชน หรือหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่ เป็นเครือข่ายที่คอยสนับสนุนเสริมการปฏิบัติงานของเครือข่ายหลักที่ดำเนินงานโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2. ควรมีการศึกษาร่วมกันถึงการพัฒนาระบบบริการให้เข้าถึงประชาชนกลุ่มบ้านบริวารพื้นที่สุขศาลาพระราชทานที่อยู่กันกระจัดกระจาย โดยเบื้องต้นสามารถพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขในกลุ่มบ้านบริวารโดยใช้สุขศาลาพระราชทานเป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นพี่เลี้ยงในการให้บริการในชุมชนกลุ่มบ้านบริวาร และ 3. ควรมีการศึกษาร่วมกันถึงการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพหรือการแพทย์พื้นบ้าน ที่เป็นทุนสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ มาใช้ในการดูแลสุขภาพแบบผสมผสานของประชาชนพื้นที่สุขศาลาพระราชทานให้มากขึ้น จะทำให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้นและเกิดความยั่งยืนของระบบสุขภาพ ข้อเสนอแนะการวิจัยในการศึกษาครั้งต่อไป ควรนำกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพมาสังเคราะห์องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นทั้งในด้านของบริบทพื้นที่และบริบทของหน่วยงานด้านสาธารณสุข ส่วนการขยายผลต่อยอดผลของการศึกษานี้ในพื้นที่อื่นๆ ควรใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเป็นวิธีการศึกษา ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1. เทคโนโลยีการสื่อสารโดยเฉพาะระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพ หรือ Telehealth ความสำคัญต่อระบบบริการสุขภาพพื้นที่ห่างไกลหรือทุรกันดารมาก ช่วยให้เกิดความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงระบบบริการ ปัจจุบันเป็นปัญหาที่หน่วยงานในพื้นที่ยังขาดศักยภาพในการจัดการ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากส่วนกลางที่มีความพร้อมทั้งด้านองค์ความรู้ เทคโนโลยีและงบประมาณ โดยควรได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบครอบคลุมทั้งในส่วนแม่ข่ายและลูกข่าย ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบลและสถานบริการในชุมชน และ 2. รูปแบบจัดบริการแบบสุขศาลาพระราชทานหรือระบบสุขภาพชุมชนพื้นที่ห่างไกล เป็นลักษณะของการบูรณาการความร่วมมือเป็นกรณีพิเศษ งบประมาณสนับสนุนส่วนใหญ่เป็นลักษณะของโครงการพัฒนา ดังนั้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ (Health Equity) การจัดระบบบริการสุขภาพของประชาชนกลุ่มเปราะบางด้านสุขภาพหรือชุมชนพื้นที่ห่างไกล ในรูปแบบชุมชนจัดการสุขภาพของตนเอง ควรได้รับการศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้าถึงระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | บริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | บริการปฐมภูมิ (การแพทย์) | th_TH |
dc.subject | การส่งเสริมสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | การพัฒนาสุขศาลาพระราชทานแบบมีส่วนร่วมบนฐานของชุมชนในพื้นที่กลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ จังหวัดน่าน | th_TH |
dc.title.alternative | Community-based participatory development of Suksala in the area of Lua ethnic group in Nan province | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.identifier.callno | W84.6 น287ก 2563 | |
dc.identifier.contactno | 62-107 | |
dc.subject.keyword | สุขศาลาพระราชทาน | th_TH |
.custom.citation | นภดล สุดสม, Napadol Sudsom, ถนัด ใบยา, Thanat Baiya, วิชัย นิลคง, Wichai Nikong, ชัยวุฒิ วันควร, Chaiwut Wankhuan, ธนเสฏฐ์ สายยาโน, Tanasate Saiyano, พิษณุ อินปา, Phitsanu Inpa, กรภัทร ขันไชย, Khooraphat Kanchai, เพ็ญพักตร์ ภิรัญคำ, Penpuk Pirunkum, วิภาพร ทิพย์อำมาตย์, Wipaporn Thiparmart, กมลฉัตร จันทร์ดี and Kamonchat Chandee. "การพัฒนาสุขศาลาพระราชทานแบบมีส่วนร่วมบนฐานของชุมชนในพื้นที่กลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ จังหวัดน่าน." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5308">http://hdl.handle.net/11228/5308</a>. | |
.custom.total_download | 76 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 13 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 5 | |