dc.contributor.author | นนทสรวง กลีบผึ้ง | th_TH |
dc.contributor.author | อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Adisak Plitponkarnpim | th_TH |
dc.contributor.author | ธีรตา ขำนอง | th_TH |
dc.contributor.author | Thirata Khamnong | th_TH |
dc.contributor.author | อรพินท์ เลิศอวัสดาตระกูล | th_TH |
dc.contributor.author | Orapin Lertawasadatrakul | th_TH |
dc.contributor.author | นุชนาฏ รักษี | th_TH |
dc.contributor.author | Nootchanart Ruksee | th_TH |
dc.contributor.author | กันนิกา เพิ่มพูนพัฒนา | th_TH |
dc.contributor.author | Kannika Permpoonputtana | th_TH |
dc.contributor.author | วสุนันท์ ชุ่มเชื้อ | th_TH |
dc.contributor.author | Vasunun Chumchua | th_TH |
dc.contributor.author | Nonthasruang Kleebpung | th_TH |
dc.date.accessioned | 2021-02-25T08:32:32Z | |
dc.date.available | 2021-02-25T08:32:32Z | |
dc.date.issued | 2564 | |
dc.identifier.other | hs2640 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5312 | |
dc.description.abstract | ปัจจุบันเด็ก เยาวชน และครอบครัวสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ดิจิทัล ได้แก่ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์พกพาส่วนตัว และเลือกใช้สื่อเพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้งานและเปิดรับข้อมูลข่าวสารได้อย่างไม่มีขีดจำกัดและยากต่อการควบคุม ซึ่งอาจนำไปสู่สถานการณ์ปัญหาพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลที่ไม่เหมาะสมและความเสี่ยงต่อพัฒนาการตามช่วงวัย โครงการผลกระทบของสื่อดิจิทัลที่มีผลต่อพัฒนาการมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 จึงมุ่งศึกษาระดับพัฒนาการ ทักษะการคิดเชิงบริหาร (Executive Functions : EF) ของเด็กปฐมวัย ระดับพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้สื่อออนไลน์ของเด็กอายุระหว่าง 0-13 ปี ความรู้ความสามารถของผู้ปกครองในการกำกับดูแลการใช้สื่อของเด็กและรูปแบบการเลี้ยงดูและความผูกพันในครอบครัวในกลุ่มผู้ปกครองและเด็กอายุ 0-2 ปี อายุ 3-5 ปี และอายุ 6-13 ปี ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครปฐม อำเภอพุทธมณฑล ตำบลศาลายา รวมทั้งสิ้น 201 คน งานวิจัยชิ้นนี้สุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling) เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota Sampling) เพื่อเก็บข้อมูลความรู้ความสามารถของผู้ปกครองในการกำกับดูแลการใช้สื่อของเด็ก พฤติกรรมเสี่ยงในการใช้สื่อออนไลน์ของเด็ก รูปแบบการเลี้ยงดูและความผูกพันระหว่างมารดาและบุตร ทักษะการรู้คิด พัฒนาการเด็ก ภาวะสมาธิสั้นบกพร่องทางการเรียนรู้และออทิสซึ่ม ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเด็กในช่วงอายุ 0-13 ปี เป็นเพศหญิง ร้อยละ 43.80 เป็นเพศชายร้อยละ 56.20 มีอายุ 6–13 ปี ร้อยละ 57.70 อายุระหว่าง 3–5 ปี 11 เดือน ร้อยละ 27.90 และอายุ 0–2 ปี 11 เดือน ร้อยละ 19.40 คน เด็กส่วนใหญ่เข้าเรียนแล้ว ร้อยละ 89.10 โดยจำแนกเป็นระดับชั้นเตรียมอนุบาล ร้อยละ 25.10 ชั้นอนุบาล ร้อยละ 15.60 และชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 59.20 ในขณะที่ ร้อยละ 10.19 ยังไม่ได้เข้าเรียน กลุ่มตัวอย่างเด็กอายุ 0-13 ปี ยังไม่มีสื่อดิจิทัลเป็นของตนเอง ร้อยละ 64.00 แต่มีการเข้าถึงและใช้สื่อดิจิทัลมาแล้วเป็นเวลา 1-2 ปี ร้อยละ 52.30 ส่วนใหญ่เริ่มใช้สื่อดิจิทัลเมื่ออายุระหว่าง 6-13 ปี ร้อยละ 38.45 รองลงมาคือ เริ่มใช้ระหว่างอายุ 0-2 ปี ร้อยละ 32.85 เมื่ออายุ 3-5 ปี ร้อยละ 28.70 เด็กส่วนใหญ่ใช้สื่อดิจิทัลครั้งแรกในขณะอยู่กับบิดาหรือมารดา ร้อยละ 77.80 รองลงมาคือใช้ขณะอยู่กับญาติ ร้อยละ 9.60 และใช้ในขณะอยู่กับพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ร้อยละ 9.60 กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองของเด็กอายุ 0-13 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 78.60 เป็นเพศชาย ร้อยละ 21.40 มีอายุระหว่าง 35-44 ปี ร้อยละ 45.80 อายุระหว่าง 25-34 ปี ร้อยละ 23.20 ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสและอยู่ด้วยกัน ร้อยละ 77.00 สถานภาพโสด ร้อยละ 8.00 และหย่าร้าง ร้อยละ 5.00 มีการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 64.15 ระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 19.40 และระดับปริญญาโท ร้อยละ 9.95 ผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 37.80 ประกอบธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 20.40 และมีอาชีพอื่นๆ ร้อยละ 17.40 โดยมีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 27.85 รายได้ระหว่าง 10,000-15,000 บาท ร้อยละ 27.40 และรายได้ระหว่าง 15,001-30,000 บาท ร้อยละ 18.85 ผู้ปกครองส่วนใหญ่นิยมใช้แอปพลิเคชันเฟสบุ๊ค (Facebook) ร้อยละ 40.90 รองลงมา คือ แอปพลิเคชันไลน์ (Line) ร้อยละ 39.70 และแอปพลิเคชันอินสตาแกรม (Instagram) ร้อยละ 7.90 กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองของเด็กในช่วงอายุ 0-13 ปี ส่วนใหญ่เคยให้บุตรหลานใช้สื่อดิจิทัล เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตหรือไอแพดของตนเอง ร้อยละ 89.60 ส่วนใหญ่ใช้สื่อดิจิทัลในขณะที่อยู่กับบุตรหลาน เฉลี่ยวันละ 1-3 ชั่วโมง ร้อยละ 44.75 รองลงมาคือ ใช้สื่อดิจิทัลในขณะที่อยู่กับบุตรหลาน น้อยกว่า 1 ชั่วโมง ร้อยละ 42.25 ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 6.00 ที่ไม่ใช้สื่อดิจิทัลในขณะที่อยู่กับบุตรหลาน เด็กส่วนใหญ่ไม่เคยประสบอุบัติเหตุ เช่น ตกเตียง ตกบันได หกล้ม ระหว่างการใช้สื่อดิจิทัลของผู้ปกครอง ร้อยละ 89.10 และมีเพียงร้อยละ 10.90 ของเด็กที่เคยประสบอุบัติเหตุ กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองส่วนใหญ่ระบุว่าตนมีส่วนร่วมทุกครั้งในขณะที่บุตรหลานใช้สื่อดิจิทัล ร้อยละ 31.30 มีส่วนร่วมบ่อยครั้ง ร้อยละ 29.35 และเมื่อมีโอกาส ร้อยละ 28.35 ส่วนใหญ่ใช้สื่อดิจิทัลเพื่อทำกิจกรรมดูการ์ตูนร่วมกันกับบุตรหลาน ร้อยละ 15.40 รองลงมาคือใช้เพื่อฟังเพลงหรือมิวสิควิดีโอ ร้อยละ 11.90 และใช้เพื่อวิดีโอคอล ร้อยละ 10.20 กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองของเด็กในช่วงอายุ 0-13 ปี ส่วนใหญ่มีการกำหนดกติกาในการใช้สื่อดิจิทัลของบุตรหลานภายในครอบครัว ร้อยละ 69.80 ในขณะที่ ร้อยละ 23.70 ของผู้ปกครองไม่มีการกำหนดกติกาในการใช้สื่อดิจิทัล ผู้ปกครองส่วนใหญ่ระบุว่ามีติดตามหรือสังเกตการณ์ใช้สื่อดิจิทัลของบุตรหลาน ร้อยละ 71.30 ผู้ปกครองส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการใช้สื่อดิจิทัลช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านการเรียนให้เด็ก ค่าเฉลี่ย 3.70 และมีบทบาทในการให้คำแนะนำบุตรหลานเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลในระดับบ่อยครั้ง โดยเฉพาะการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการกำหนดเวลาในการใช้สื่อดิจิทัลในแต่ละวัน ค่าเฉลี่ย 4.08 การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการฝึกวินัยในการใช้สื่อดิจิทัล ค่าเฉลี่ย 3.96 และการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกเนื้อหาและรายการที่เหมาะสม ค่าเฉลี่ย 3.93 ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มเด็กอายุ 0-13 ปี ความสัมพันธ์ทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ระหว่างรูปแบบการเลี้ยงดูกับการให้บุตรหลานใช้สื่อดิจิทัล ระยะเวลาเฉลี่ยต่อวันในการใช้สื่อดิจิทัลขณะที่อยู่กับบุตรหลานต่อวัน และอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเด็กในขณะที่ผู้ปกครองกำลังใช้สื่อดิจิทัล, การกำกับดูแลการใช้สื่อของผู้ปกครองกับพฤติกรรมการเล่นเกมออนไลน์ของเด็ก ส่วนเด็กกลุ่มอายุ 0-2 ปี 11 เดือน พบความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุมมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนของบุตรหลาน และความผูกพันระหว่างแม่ลูก และความรู้เกี่ยวกับการใช้สื่อดิจิทัลของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการให้คำแนะนำการใช้สื่อดิจิทัล ส่วนเด็กกลุ่มอายุ 3-5 ปี 11 เดือน พบความผูกผันระหว่างแม่กับลูกแบบ Attachment Anxiety และ Attachment Avoidance มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้สมาร์ทโฟนของบุตรหลาน และกลุ่มเด็กอายุ 6-13 ปี พบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับการใช้สื่อดิจิทัลของผู้ปกครองกับการให้คำแนะนำในการใช้สื่อดิจิทัลของผู้ปกครอง งานวิจัยชิ้นนี้สามารถใช้เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการกำหนดกฎหมายและนโยบายเกี่ยวกับป้องกันและคุ้มครองเด็กจากผลกระทบของสื่อดิจิทัล ตลอดจนการกำกับควบคุมธุรกิจและบริการด้านสื่อและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน เช่น การกำหนดชั่วโมงที่เหมาะสมในการใช้สื่อแต่ละช่วงวัย การจัดระดับความเหมาะสมของการใช้สื่อดิจิทัลที่จะมีผลต่อพัฒนาการ ทักษะการรู้คิด และทักษะการตัดสินใจของเด็ก การกำหนดชั่วโมงการใช้สื่อดิจิทัลสำหรับเด็กที่จะรักษาสัมพันธภาพในครอบครัวอย่างเหมาะสม อีกทั้งยังสามารถใช้ข้อมูลวิจัยในวงกว้างเพื่อเผยแพร่ความรู้สำหรับครอบครัว ให้สามารถเลือกและตัดสินใจการใช้สื่อดิจิทัลที่เหมาะสมกับพัฒนาการ ทักษะการรู้คิด ทักษะการตัดสินใจ และสัมพันธภาพในครอบครัวที่เหมาะสมตามช่วงวัย รวมทั้งเป็นแนวทางในการป้องกันและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบต่อการพัฒนาเด็ก | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | เด็กปฐมวัย | th_TH |
dc.subject | พัฒนาการของเด็ก | th_TH |
dc.subject | สมอง--พัฒนาการ | th_TH |
dc.subject | Executive Function | th_TH |
dc.subject | สื่อดิจิทัล | th_TH |
dc.subject | ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) | th_TH |
dc.title | ผลกระทบของสื่อดิจิทัลที่มีผลต่อพัฒนาการมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 | th_TH |
dc.title.alternative | The Effects of Digital Device on Human Development in 21st Century | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.identifier.callno | WS105 น154ผ 2564 | |
dc.identifier.contactno | 62-048 | |
dc.subject.keyword | การคิดเชิงบริหาร | th_TH |
.custom.citation | นนทสรวง กลีบผึ้ง, อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์, Adisak Plitponkarnpim, ธีรตา ขำนอง, Thirata Khamnong, อรพินท์ เลิศอวัสดาตระกูล, Orapin Lertawasadatrakul, นุชนาฏ รักษี, Nootchanart Ruksee, กันนิกา เพิ่มพูนพัฒนา, Kannika Permpoonputtana, วสุนันท์ ชุ่มเชื้อ, Vasunun Chumchua and Nonthasruang Kleebpung. "ผลกระทบของสื่อดิจิทัลที่มีผลต่อพัฒนาการมนุษย์ในศตวรรษที่ 21." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5312">http://hdl.handle.net/11228/5312</a>. | |
.custom.total_download | 399 | |
.custom.downloaded_today | 1 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 42 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 3 | |