Show simple item record

Health Insurance for People with Citizenship Problems, Including Non-Thai People in Thailand

dc.contributor.authorวีระ หวังสัจจะโชคth_TH
dc.contributor.authorWeera Wongsatjachockth_TH
dc.contributor.authorนพพล ผลอำนวยth_TH
dc.contributor.authorNoppon Phon-amnuaith_TH
dc.contributor.authorรัตนสิทธิ์ ทิพย์วงศ์th_TH
dc.contributor.authorRustanasit Tipwongth_TH
dc.date.accessioned2021-03-24T08:30:56Z
dc.date.available2021-03-24T08:30:56Z
dc.date.issued2564-02
dc.identifier.otherhs2652
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5328
dc.description.abstractรายงานวิจัยฉบับนี้มีเป้าหมายในการศึกษาอยู่สามประการหลัก ประการแรก เพื่อทบทวนประสบการณ์การจัดหลักประกันสุขภาพสำหรับผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ รวมถึงผู้ที่ไม่ใช่ประชาชนที่อยู่บนแผ่นดิน ประการที่สอง สำรวจการจัดระบบหลักประกันสุขภาพและชุดสิทธิประโยชน์สำหรับผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ รวมถึงผู้ที่ไม่ใช่ประชาชนไทยที่อยู่บนแผ่นดินไทย ปัญหาอุปสรรคและทิศทางการพัฒนาในอนาคต ทั้งกรณีทั่วไปและกรณี C188 (Ratifications of C188 - Work in Fishing Convention, 2007) ประการที่สาม การสังเคราะห์รูปแบบที่เป็นทางเลือกในการปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพให้คุ้มครองผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ รวมถึงผู้ที่ไม่ใช่ประชาชนไทยที่อยู่บนแผ่นดินไทยในอนาคต โดยอาศัยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การสำรวจเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยคำถามกึ่งโครงสร้างและการเสวนากลุ่มระดมความคิดเห็นเพื่อรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ทั้งนี้ ปัญหาหลักในการจัดหลักประกันสุขภาพแก่บุคคลที่ไม่ใช่คนไทย มีปัญหาทั้งในเชิง “โครงสร้าง” และปัญหาเรื่อง “การเมืองและทัศนคติ” ในด้านปัญหาโครงสร้างอันเกิดจากความไม่เท่าเทียมในการแบ่ง “สถานะ” บุคคลที่ไม่ใช่คนไทย รวมไปถึงปัญหาการขาด “กฎหมายระดับชาติ” (National regulations) ในการเชื่อมโยงสถานะของบุคคลที่ไม่ใช่คนไทยกับการมีระบบประกันสุขภาพบังคับ ส่งผลให้ปัญหาในเชิงการบริหารจัดการเกิดสภาวะของการทำงานที่แยกส่วน (Fragmented) ไม่มีหน่วยประสานงานกลางที่มี “อำนาจ” ในการสั่งการหรือกำกับดูแลการทำงาน ในส่วนปัญหาด้าน “การเมืองและทัศนคติ” ในการมองมิติของสถานะในสัญญาชาติมากกว่าการเป็น “บุคคล” และการขาดสมดุลระหว่างประเด็นเรื่องความมั่นคงและประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนและข้อตกลงระหว่างประเทศ จากปัญหาข้างต้น การวิจัยนี้จึงได้ข้อเสนอแนะทางนโยบายเป็นทางเลือกเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพที่ยั่งยืนให้กับบุคคลที่ไม่ใช่คนไทยใน 4 ทางเลือกหลัก ดังต่อไปนี้ 1) ยกเลิกบัตรประกันสุขภาพและให้บุคคลที่ไม่ใช่คนไทยทั้งหมดเข้าสู่ “ระบบประกันสังคม” 2) หลักประกันสุขภาพ “คู่ขนาน” ระหว่างประกันสังคมและบัตรประกันสุขภาพที่ผ่านการยกร่างเป็นกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ 3) เสนอ “ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพสำหรับแรงงานข้ามชาติ/คนต่างด้าว/ผู้มีปัญหาทางสถานะ” ในรูปแบบของ “กองทุนใหม่” ที่บูรณาการทุกส่วนเข้ามาในนี้ และ 4) แก้ไขกฎหมายหรือการตีความพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2545 ในมาตรา 5 ให้ครอบคลุมถึงคนไทยและบุคคลที่ไม่ใช่คนไทยth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectหลักประกันสุขภาพแห่งชาติth_TH
dc.subjectUniversal Health Coverageth_TH
dc.subjectประกันสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Insuranceth_TH
dc.subjectแรงงานข้ามชาติth_TH
dc.subjectMigrant Workersth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการจัดหลักประกันสุขภาพสำหรับผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ รวมถึงผู้ที่ไม่ใช่ประชาชนไทยที่อยู่บนแผ่นดินไทยth_TH
dc.title.alternativeHealth Insurance for People with Citizenship Problems, Including Non-Thai People in Thailandth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe aims of this study were: First, to review the experience of health insurance management for non-Thai including migrant workers, refugees, stateless and people with citizenship problems. Second, to explore the organization of health insurance and benefit sets for non-Thai living in Thailand. Giving highlights on problems, obstacles, and the direction of future development in both general cases and C188 Case. Third, a synthesis of alternative forms and reforming the public and health insurance systems to cover to those people. Qualitative research has been applied along with documentary survey, in-depth interviews with semi-structured, and focus group to collect and analysis the data. The results indicated that the major problems for health insurance management for non-Thai derived from structural problem, politics and attitude. The structural problem caused by the identifying status inequitably of non-Thai. And the lack of national regulations to unite the status of non-Thai and health insurance legally, leading to the work fragmentation with no “authority” from central coordination to supervise. Besides, the status of non-Thai has been considering at the dimensions of nation state rather than an “individual”. Consequently, there is imbalance between security issues and human rights. This research has suggested 4 alternative policies to create sustainable health coverage for non-Thai citizen as follows: 1) Discontinuing health insurance system provided by Ministry of Public Health. All non-Thai must register to the social security system. 2) Applying both health insurance card and social security system as the parallel system. 3) Proposing inclusively health care law for non-Thai in the form of new public funding. 4) Amending or reinterpreting National Health Security Act B.E.2545 article 5 in order to cover Thai and non-Thai.th_TH
dc.identifier.callnoW160 ว841ก 2564
dc.identifier.contactno63-027
.custom.citationวีระ หวังสัจจะโชค, Weera Wongsatjachock, นพพล ผลอำนวย, Noppon Phon-amnuai, รัตนสิทธิ์ ทิพย์วงศ์ and Rustanasit Tipwong. "การจัดหลักประกันสุขภาพสำหรับผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ รวมถึงผู้ที่ไม่ใช่ประชาชนไทยที่อยู่บนแผ่นดินไทย." 2564. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5328">http://hdl.handle.net/11228/5328</a>.
.custom.total_download61
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year10
.custom.downloaded_fiscal_year7

Fulltext
Icon
Name: hs2652.pdf
Size: 4.655Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record